กรมสุขภาพจิต เผยฟุตบอลโลกยิ่งเข้มข้น สถานการณ์พนันยิ่งเคร่งเครียด แจงสัญญาณเสี่ยงติดพนัน พร้อมแนะหลักคิดดูแลตนเอง ช่วยไม่ให้เผลอใจหลงไปกับการพนัน ช่วงฟุตบอลโลก 2022
วันนี้ กรมสุขภาพจิต เผยการสังเกตอาการที่มักจะเป็นสัญญาณเตือนว่ามีความเสี่ยงติดพนัน พร้อมชี้ หากไม่รีบสอดส่อง ป้องกัน อาจทําให้สมาชิกในครอบครัวต้องเดินเข้าสู่ด้านมืดของสังคม เช่น ก่อหนี้สิน ตามด้วยการโกหก การลักขโมย พฤติกรรมก้าวร้าวและสูญเสียความสัมพันธ์ในครอบครัว พร้อมแนะนําแนวทางหลักคิดในการดําเนินชีวิตที่จะทําให้ห่างไกลการพนัน
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ไม่เพียงแต่ในช่วงเทศกาลบอลโลก ในปัจจุบันช่องทางในการ การพนันมีหลากหลายรูปแบบ สามารถเข้าถึงแหล่งพนันได้ง่ายดาย ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ในทุกช่วงอายุ ไม่เว้นแม้ในกลุ่มเด็ก และเยาวชน ส่วนใหญ่เด็กและเยาวชนที่เล่นการพนันมักมีสภาพแวดล้อมที่ทําให้สุ่มเสี่ยง เช่น มีโต๊ะสนุกเกอร์อยู่ใกล้บ้าน เล่นบอล ฯลฯ ยิ่งปัจจุบันเข้าสู่โลกดิจิทัล รูปแบบการพนันออนไลน์ยิ่งเข้ามาปะทะตัวเด็กและเยาวชนได้ง่าย โดยเฉพาะเกมพนันที่ตอบสนองพฤติกรรม ของวัยรุ่น คือ รู้ผลเร็ว, เล่นได้ทุกที่ทุกเวลา
ข่าวที่น่าสนใจ
เตือน! พริตตี้-เน็ตไอดอล-ดารา รับงานช่วงฟุตบอลโลก ระวังเข้าข่ายชวนพนันบอล
สำนักงานตำรวจฯ เปิด 3 มาตรการเข้ม ป้องกันปราบปรามการพนันฟุตบอลโลก
ทั้งนี้ ตนเอง ครอบครัวและคนใกล้ชิดสามารถสังเกตพฤติกรรมโรคติดพนันได้จากอาการ 3 ข้อ ได้แก่
1. เมื่อพยายามหยุดหรือลดการเล่นพนัน จะกระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย ถึงพยายามหยุดหรือลดการเล่นพนัน ก็ทําไม่สําเร็จ ครุ่นคิดถึงแต่การพนันอย่างมาก
2. หลังจากเสียเงินพนัน จะกลับไปเล่นเพื่อเอาเงินคืน โกหกเรื่องการใช้เงิน เสี่ยงต่อการหาเงินอย่างผิด กฎหมาย
3. เพิ่มปริมาณเงินพนันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้คงความรู้สึกตื่นเต้นเท่าเดิม
หากพบว่าบุคคลในครอบครัวหรือตนเองมี พฤติกรรม 1 ใน 3 ข้อที่กล่าวมา แสดงว่าเสี่ยงต่อการติดพนัน ทั้งนี้สําหรับผู้ที่อยากเลิกเล่นพนันให้สําเร็จด้วยตนเอง ขอให้ยึดหลักแนวคิด 3 ข้อ ดังนี้
1. สร้างแรงจูงใจในการเลิกเล่น พิจารณาทบทวนผลกระทบของการเล่นพนันเช่น นึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหรือผลลัพธ์ที่ตามมาใน การเล่นพนัน
2. สํารวจวิเคราะห์สาเหตุตัวกระตุ้นภายในหรือความความคิด อารมณ์ ที่ทําให้เล่นพนันเช่นความรู้สึกเบื่อ เครียด กังวล แล้ว วางแผนจัดการหลีกเลี่ยงจัดการความเสี่ยงที่จะกลับไปเล่นพนัน เช่น ไม่เปิดดู ไม่คุยกับกลุ่มที่เล่นพนัน ควรกําหนดวันเลิกเล่น ซึ่งเลิกเล่นเลยจะปลอดภัยที่สุด จนบางครั้งต้องจํากัดการเข้าถึงแหล่งพนัน เช่น ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตชั่วคราว เป็นต้น
3. หาทางเลือกกิจกรรมอื่นๆ ที่ ดีกว่าไปทํา ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและผลลัพธ์ที่จะตามมาหากยังไปเล่น และหมั่นคิดถึงเป้าหมายในชีวิตที่มีความสุขเป็นสําคัญ
แพทย์หญิงบุญศิริ จันศิริมงคล ผู้อํานวยการสํานกั ความรอบรู้สุขภาพจิต กล่าวว่า การพนันถูกออกแบบมาให้คนติดง่าย เมื่อเราตกไปในวังวนนี้ บางคนก็ไม่สามารถออกมาจากการเสพติดนี้ได้ การติดพนันทําให้หลายคนติดกับดักวงจรชีวิตด้านมืด ยากแก่การหา ทางออก เช่น เป็นหนี้ โกหก ลักขโมย ไม่มีสมาธิเรียน เสียงาน ติดสิ่งเสพติดอื่น มักหงุดหงิดก้าวร้าว นําไปสู่ความแตกร้าวของสัมพันธภาพ ระหว่างกันในครอบครัว
ดังนั้นเมื่อทราบว่าสมาชิกในครอบครัวกําลังประสบปัญหาการติดพนัน ควรรับฟังและช่วยเหลืออย่างตั้งใจ เข้าใจ ให้ความรัก ไม่กล่าวโทษ หรือใช้ถ้อยคําอารมณ์รุนแรง และควรเพิ่มพลังใจให้กัน เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้มีปัญหาพนัน เพื่อช่วยกันหาทาง จัดการปัญหาที่วิกฤตได้ทันท่วงทีและส่งต่อบําบัดได้อย่างเหมาะสม นับว่าช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาติดพนัน ให้เลิกพนันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้อยากเลิกพนันนั้น สามารถรักษาให้หายได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่รักษา หรือปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม จะทําให้เกิดปัญหาชีวิตตามมาอีกมาก เช่น ปล้นชิงทรัพย์ ล่อลวงเงิน ขายบริการทางเพศ ค้ายาเสพติด มีโอกาสติดเหล้า เกิดภาวะซึมเศร้า และพยายามฆ่าตัวตาย เป็นต้น
กรมสุขภาพจิต จึงขอเน้นย้ำว่า ครอบครัวควรสังเกตอาการสัญญาณเตือนและให้คําแนะนําปรึกษา เพื่อให้โอกาสผู้ที่มีปัญหาติดพนันมีกําลังใจ เกิดแรงจูงใจเพื่อเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ทั้งนี้ยังสามารถรับบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ให้คําปรึกษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อลดภาวะเครียดและรับคําแนะนําสถานที่บําบัดรักษาได้ หรือ ติดต่อหน่วยบริการสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ