svasdssvasds

รวบยอด ปัญหา "การหลอกลวงยุคดิจิทัล" ปี 2564 คนไทยโดนโทรหลอกกว่า 6.4 ล้านครั้ง

รวบยอด ปัญหา "การหลอกลวงยุคดิจิทัล" ปี 2564 คนไทยโดนโทรหลอกกว่า 6.4 ล้านครั้ง

ปัญหา การหลอกลวงยุคดิจิทัล ทวีความรุนแรงและถี่มากขึ้นทั่วโลกและคนไทยโดน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 270% พบว่า ถูกใช้ Facebook เป็นช่องทางโกง หลอกลวงออนไลน์ มากที่สุด ประชาชนจี้ ภาครัฐต้องเร่งตามกลโกงรับมือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปภาพรวมจาก สศช. ร่วมกับบริษัทศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ จากัด จึงได้ศึกษาและสารวจเกี่ยวกับการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2565 ในประชากรอายุ ระหว่าง 17-77 ปี จานวน 5,798 ตัวอย่าง 20 จังหวัด ทั่วประเทศ และสัมภาษณ์เชิงลึก 3 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์ถูกหลอกลวง 31 คน
  • กลุ่มภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2 คน 
  • กลุ่มภาควิชาการ 4 คน รวมจานวน 37 คน

พบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 97.8 ใช้โทรศัพท์มือถือ และร้อยละ 81.5 ใช้งานอินเทอร์เน็ต สะท้อนว่าคนไทยเกือบทั้งประเทศสามารถเข้าถึงโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง ทุกเพศ ทุกวัย 

รวบยอด ปัญหา "การหลอกลวงยุคดิจิทัล" ปี 2564 คนไทยโดนโทรหลอกกว่า 6.4 ล้านครั้ง

อ้างอิงจากรายงาน สภาพปัญหา การหลอกลวงยุคดิจิทัล และแนวทางแก้ไขรายงานของ Whoscall แอปพลิเคชันป้องกันการฉ้อโกงเปิดเผยว่าในปี 2564 พบว่า การหลอกลวงผ่านการสื่อสารสมัยใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีรูปแบบที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้ด้วย โดยพบว่า พฤติกรรม ทักษะการใช้เทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เป็นปัจจัยสาคัญต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและการตกเป็นเหยื่อ จึงจำเป็นต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตยุคดิจิทัลให้กับประชาชน ตลอดจน การเพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐในการรับมือกับปัญหาการ หลอกลวงออนไลน์ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถานการณ์การหลอกลวง ทางโทรศัพท์และ SMS 

  • ทั่วโลกพบการหลอกลวงยุคดิจิทัล 460 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2563 58% 
  • ประเทศไทย มีการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง 
  • โทรศัพท์ หลอกลวงเพิ่มขึ้นจากปี 2563 270% 
  • ใช้ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นจากปี 2563 57% 

Generation ที่โดนหลอกลวงมากที่สุด ได้แก่ 

  • Gen Y และ Gen Z เนื่องจากใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า Gen อื่นๆ ร้อยละ 57.6 และ 57.5 ตามลำดับ
  • Baby boomer มูลค่าความเสียหายต่อครั้งสูงที่สุด 


แบบสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างพบว่า

  • 48.1% เคยโดนหลอกลวง
  • คิดเป็น 2 ใน 5 ที่เคยตกเป็นเหยื่อที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวง
  • รวมมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยต่อคน 2,400 บาท 
  • พบว่า 58% ไม่ได้ทำอะไรเลยต่อจากหลังที่ได้รับการหลอกลวงยุคดิจิทัล

ข้อจำกัดในการรับมือ 

  • การหลอกลวงมีความซับซ้อนและแนบเนียนมากขึ้น
  • การจัดการของหน่วยงานภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  • การรวบรวม จัดเก็บข้อมูลยังมีความกระจัดกระจาย
  • การหลอกลวงในหลายกรณีดำเนินการโดยองก์กรข้ามชาติ 

 Facebook และมือถือเป็น 2 ช่องทางสาคัญของการหลอกลวงยุคดิจิทัล โดย Facebook เป็นช่องทางการก่อเหตุหลอกลวงมากที่สุด โดยอยู่ใน 4 กลุ่มใหญ่ 

  • การหลอกลวงผ่านการซื้อขาย อาทิ หลอกลวงสินค้าออนไลน์ แต่ไม่ได้รับของ/ไม่ตรงคุณสมบัติ 
  • การหลอกลวงข้อมูลส่วนตัว อาทิ หลอกขอบัญชีโซเชียลมีเดีย 
  • การหลอกลวงโดยอ้างว่าจะให้ผลประโยชน์ อาทิ หลอกลวงให้ลงทุน/ให้เล่นพนัน 
  • การหลอกลวงโดยอาศัยความสัมพันธ์ ความสงสาร อาทิ คนรู้จักกาลังเดือดร้อนให้บริจาคเงิน

ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ปัญหา

  • สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชน โดยการรณรงค์และให้ความรู้
  • สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ช่วยหยุดหรือควบคุมปัญหา 
  • ตั้งหน่วยงานเฉพาะ ในการกำกับ ดูแล ป้องกัน และป้องปราม 
  • สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ข้ามชาติ

ปัจจุบันสำนักงาน กสทช. มีการดำเนินการแก้ปัญหาการหลอกลวงยุคดิจิทัลทั้งหมด 4 ข้อ คือ

  1. ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบการโทรเข้ามาเป็นเบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์โทรศัพท์ 3 หลัก และ 4 หลัก 
  2. ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบของเบอร์โทรเข้ามาเป็นรหัสโทรศัพท์ประจาประเทศ (Country Code ที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU ยังไม่ได้จัดสรร 
  3. ดาเนินการตรวจสอบสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่ผิดกฎหมายด้วยระบบ Test Call Generator TCG และ 
  4. กรณีสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่ไม่ได้มีการกาหนดเลขหมายต้นทาง (Non Calling Line Identification ให้ดาเนินการเพิ่มเครื่องหมาย 66 นาหน้าเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ประชาชนทราบว่าเป็นการโทรเข้ามาจากต่างประเทศ

ที่มา
กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม (กขส.)

related