svasdssvasds

สรุปแนวทางปฏิบัติสำหรับคัดกรองผู้ป่วยฝีดาษลิงจากกรมการแพทย์

สรุปแนวทางปฏิบัติสำหรับคัดกรองผู้ป่วยฝีดาษลิงจากกรมการแพทย์

กรมการแพทย์ อยู่ระหว่างเตรียมออกแนวทางคัดกรองผู้ป่วยฝีดาษลิง โดยอาการเด่นที่จะช่วยคัดกรอง คือ ประวัติการเดินทาง และต่อมน้ำเหลืองโต โดยวันพรุ่งนี้ จะมีการประชุมหารือทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลรัฐและเอกชน รวมถึงคลินิกเอกชน

พญ. นฤมล  สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์  เปิดเผยถึงลักษณะของโรคฝีดาษลิง และการติดโรค ว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรคใหม่สำหรับประเทศไทยแต่เป็นโรคเก่าของประเทศในทวีปแอฟริกา โดยเกิดจาก  DNAไวรัส  สัมผัส จากสารคัดหลั่ง สามารถติดได้จากการสัมผัสตุ่มหนอง สารคัดหลั่งจากตุ่มแผล หรือสารคัดหลั่งน้ำที่ออกจากร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำมูก  

 

ส่วนข้อมูล จาก CDC สหรัฐอเมริกาที่ออกมาระบุถึงการติดต่อของโรค ทางละอองฝอย แพทย์หญิง นฤมล ระบุว่า จากรายงานที่ผ่านมาจะพบในละอองฝอยที่เกิดจากการหายใกล้ชิดกันที่ออกจากผู้ป่วย  ส่วนการติดเชื้อในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ จากข้อมูล จะติดจากแม่สู่ลูก ตอนคลอดธรรมชาติ ก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้ออยู่ทุกที่ของร่างกายโดยเฉพาะเยื่อบุอ่อน
สรุปแนวทางปฏิบัติสำหรับคัดกรองผู้ป่วยฝีดาษลิงจากกรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 7 - 21 วัน   ซึ่งโรคฝีดาษลิง เป็นกลุ่มเดียวกับโรคไข้ทรพิษ และ อีสุกอีใสที่มีอาการน้อยสุด   ส่วนความรุนแรงของโรค หากเทียบกับไข้ทรพิษ พบว่า ฝีดาษลิง มีอาการน้อยกว่า แต่หากเกิดในกลุ่มผู้ป่วย ติดเชื้อฝีดาษลิงและจะมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มทั่วไป เช่น กลุ่มผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ กินยากดภูมิ  ผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี หากติดเชื้ออาการก็จะรุนแรงได้ และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์  

ขณะที่อาการเกิดตุ่มผื่น หนอง ของโรคฝีดาษลิงสามารถที่จะขึ้นได้ทุกที่ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณเยื่อบุอ่อนตามร่างกายทั้งจุดซ่อนเร้นและจุดที่ไม่ซ่อนเร้น เนื่องจากตัวเชื้อสามารถที่จะกระจายได้ทุกที่ของร่างกาย

 

ทั้งนี้ ลักษณะตุ่มโรคฝีดาษลิง มี 4 ระยะ ระยะแรก คือจะมีตุ่มผื่นแดง / ระยะต่อไปไม่นาน ก็จะเริ่มเป็นตุ่มหนองปูดขึ้นมาตามร่างกาย ซึ่งระยะนี้จะแพร่โรคได้ คือมาจากตุ่มหนองที่แตก / และระยะที่เป็นสะเก็ดแห้งซึ่งความเสี่ยงการติดต่อของโรคก็จะน้อยลง 

 

ส่วนแนวทางการรักษา เบื้องต้นเป็นการรักษาตามอาการที่พบของผู้ป่วย และยารักษาเฉพาะหากมีอาการติดเชื้อ 

 

ขณะเดียวกันขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการจัดหากลุ่มยาต้านไวรัส ที่ใช้ในการรักษาไข้ทรพิษเนื่องจากประเทศไทยไม่มีไข้ทรพิษ จึงต้องดูในกลุ่มยาดังกล่าวจากต่างประเทศ  

 

นอกจากนี้ เตรียมออกแนวทางเบื้องต้น ให้กับสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ในการสังเกตอาการผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยโรค 
เช่น หากพบผู้ป่วยมีไข้ มีตุ่มผื่น ขึ้นตามร่างกาย มีต่อมน้ำเหลืองโต และมีประวัติเดินทางต่างประเทศ ให้กักกันโรคทันที และรับรักษาสังเกตอาการ

 

ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วย ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยเข้าข่าย คือ มีอาการเข้าได้กับโรคฝีดาษลิง และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน   ผู้ป่วยสงสัยคือผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรอผลตรวจโรค  และผู้ป่วยยืนยัน

 

ทั้งนี้  จะมีการติดตามเฝ้าระวังผู้ป่วยในกลุ่มอีสุกอีใส เริม งูสวัสดิ์ โดยเริม งูสวัสดิ์ จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนตามร่างกาย และปลายประสาท   ส่วนฝีดาษลิง ผู้ป่วยจะมีไข้และมีตุ่มหนองเช่นกัน  แต่หากจะยืนยันว่าเป็นฝีดาษลิงหรือไม่ จะต้องยืนยันผลจากห้องตรวจปฎิบัติการเท่านั้น 

 

สำหรับตัวไวรัสฝีดาษลิง ลักษณะพิเศษ คือ มีเปลือกหุ้ม  ถ้าถูกแอลกอฮอล์หรือน้ำสบู่ล้าง ก็จะตายลงในที่สุด รวมถึงหากพบเชื้ออยู่ในจุดสัมผัสต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม สามารถที่จะทำความสะอาดเช็ดด้วยแอลดอฮอล์ หรือซักทำความสะอาดด้วยผงซักฟอกได้ 

 

อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ 27 กรกฎาคม 2565 จะมีการประชุมถึงแนวทางการรักษาของสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน และคลินิกต่างๆ

related