svasdssvasds

สรุป 10 ข่าวสิ่งแวดล้อม Keep The World แห่งปี 2022 : เทรนด์รักษ์โลกต้องไม่พลาด

สรุป 10 ข่าวสิ่งแวดล้อม Keep The World แห่งปี 2022 : เทรนด์รักษ์โลกต้องไม่พลาด

รวม 10 ข่าวสิ่งแวดล้อม เรื่องราวแห่งปี 2022 ทุกความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลก เทรนด์รักษ์โลกต้องไม่พลาด! ทั้ง ข้อสรุปสำคัญจากประชุม COP27 ที่แสนวุ่น , หรือ น้ำท่วมปากีสถาน ผลพวง Climate Change กระจกสะท้อนรุนแรงของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ในโลก เป็นต้น

1. • ข้อสรุปสำคัญจากประชุม COP27 ที่แสนวุ่น

การคงอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส , การรับมือและการปรับตัวต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และ ประเด็นกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย เป็นสาระสำคัญจากการประชุม COP27 ในชาร์ม เอล-เชค สาธารณรัฐอียิปต์ ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา แต่กว่าจะมีการประกาศร่วมกันออกมา ก็ต้องผ่านเหตุการณ์ที่เกือบทำให้การประชุมล่ม เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ ฟรานซ์ ทิมเมอร์แมนส์ หัวหน้านโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของ EU ขู่ว่า จะเดินออกจากการประชุม ถ้าหาก COP27 ตกลงข้อสรุปต่างๆกันไม่ได้

2. • ไบเดนผลักดันงบสู้วิกฤตสิ่งแวดล้อมเกือบ 3.7 แสนล้านสหรัฐฯ 

ใครไม่สน แต่ไบเดนสน! เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่อง Climate Change เป็นเรื่องที่ผู้นำระดับโลกให้ความสำคัญ โดย  โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐอเมริกาผลักดันงบสู้วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากสหรัฐฯ เผชิญวิกฤตต่อเนื่อง โดยมีการเซ็นลงสนามประวัติศาสตร์ไปเมื่อ 16 สิงหาคม 2022 และมีงบประมาณสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมมหาศาลถึง 3.69 แสนล้านสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการลงทุนระยะยาว ต่อสู้กับเรื่อง Climate Change ไปในอีก 10 ปีข้างหน้าเลยทีเดียว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

3 • ชัยชนะเล็กๆ ทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อม

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้คนทั้งโลกต่างตระหนักกันดีถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศหรือ Climate Change แต่ในปี 2022 กลับมีข่าวดี มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เล็กๆ สำหรับข่าวด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การผลักดันการแก้ปัญหาในละตินอเมริกาดีขึ้น, ตะหนักถึงปัญหาพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังจะลดน้อยลงเรื่อยๆ , หรือ เทรนด์ของรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าก็มีมากขึ้น รถที่การเผาไหม้ไม่ดี และสร้างมลพิษก็จะน้อยลงเรื่อยๆ , นอกจากนี้ ยังมี กองทุน Loss & Damage ช่วยประเทศกำลังพัฒนาจากภาวะโลกรวน เป็นต้น

4 • น้ำท่วมปากีสถาน ผลพวง Climate Change กระจกสะท้อนรุนแรงของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ในโลก 

ยอดผู้เสียชีวิตอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2022 ในปากีสถาน มีมากมายเตะระดับ  1,100 คน และน้ำท่วมปากีสถาน มีผลกระทบต่อผู้คนกว่า 33 ล้านคน คาดมูลค่าความเสียหายมากกว่า 3 แสน 5 หมื่นล้านบาท โดยมีคนปากีสถาน 15% ของประชากรทั้งประเทศต้องทนทุกข์ทรมาน ซึ่ง
องค์การสหประชาชาติรายงานว่าขณะนี้มีชาวปากีสถานไม่ต่ำกว่า 184,000 คน ต้องไร้ที่อยู่เพราะบ้านเรือนถูกน้ำซัดพังทลายหรือเสียหาย ทั้งหมดนี้ เป็นเสมือนกระจกสะท้อนปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรง

น้ำท่วมปากีสถาน ผลพวง Climate Change กระจกสะท้อนรุนแรงของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ในโลก Credit ภาพ Xinhua

5• แคลิฟอร์เนียพุ่งชนกับความแห้งแล้งที่สุดในรอบ 1,200 ปี

พื้นที่ แคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐ ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา ต้องเจอกับความเลวร้ายจากการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เพราะพื้นที่นี้ต้อง  เผชิญภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 1,200 ปี พื้นที่สีเขียวแห้งแล้ง น้ำในทะเลสาบแห้งเหือด ผู้คนนับร้อยล้มตาย  มีคำอธิบายว่านี่คือผลกระทบโดยตรงของภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยหลายพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ ทำลายสถิติตลอดกาลที่ไม่เคยสูงเกิน 45 องศาเซลเซียส มาสู่ 49 องศาเซลเซียสหลายวันติดต่อกัน

6 • โอโซนอาจฟื้นตัวในปี 2060 แต่กระบวนการจะช้าลง เพราะไฟป่าทั่วโลกลุกลาม

เป็นที่ทราบกันดีว่า ก๊าซ CFCs มีส่วนทำให้ ชั้นโอโซน มีรูโหว่มากขึ้น แต่จากการรณรงค์กันมาหลายปีอย่างต่อเนื่อง จึงมีสัญญาณที่ดี เพราะมี สัญญาณของการฟื้นตัวของโอโซน  แต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ และต้องใช้เวลาถึงช่วงปี 2060-2070 เพื่อให้สารเคมีค่อยๆ ลดลงจนหมดไปอย่างสมบูรณ์  แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ชี้ว่า การฟื้นตัวของโอโซน จะ "ช้าลง" จากปัญหาไฟป่า ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ก็เป็นได้

โอโซนอาจฟื้นตัวในปี 2060 แต่กระบวนการจะช้าลง เพราะไฟป่าทั่วโลกลุกลาม Credit ภาพ Xinhua

7 • เมืองแจ็กสัน รัฐมิสซิสซิปปี ขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด

เมืองแจ็กสัน รัฐมิสซิสซิปปี สหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2021 ต้องเจอกับวิกฤตน้ำดื่ม ปัญหาน้ำไม่สะอาด  เพราะเจอเหตุการณ์ ปั๊มสูบน้ำหลายตัวที่โรงงานบำบัดน้ำหลักทำงานล้มเหลว จนนำไปสู่การแจกจ่ายน้ำขวดและรถบรรทุกน้ำหลายคันแบบฉุกเฉิน 
 โดย เทต รีฟส์ ผู้ว่าการรัฐมิสซิสซิปปี ถึงขั้นประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่องความเลวร้ายครั้งนี้ กระทบ ประชาชนมากกว่า 160,000 คนในเมือง ที่ต้องขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด

8 • สหรัฐฯ บอบช้ำเพราะเฮอริเคน เกินแสนล้าน 2 ปี ติดต่อกัน

ในช่วงปลายกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม 2022 เฮอริเคนเอียนที่เข้าพัดถล่มรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริก และสร้างความเสียหายอย่างหนัก และปี 2022 ถือเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแล้วที่ สหรัฐฯ พุ่งชนกับความเจ็บช้ำ และต้องเจอกับค่าเสียหายเพราะภัยพิบัติ พายุเฮอริเคน แตะหลัก 1 แสนล้านดอลาร์สหรัฐฯ 

สหรัฐฯ บอบช้ำเพราะเฮอริเคน เกินแสนล้าน 2 ปี ติดต่อกัน : สภาพความเสียหายหลัง ‘เฮอริเคนเอียน’ ถล่มฟลอริดา Credit ภาพ Xinhua

9  • สหรัฐจ่าย 75 ล้าน ช่วย 3 ชุมชน ย้ายถิ่นฐาน เพราะเจอ ผลกระทบจาก Climate Change

เชื่อหรือไม่ว่า ประเมินว่า หากไม่มีการดำเนินการเพื่อรับมือและแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน อาจผลักดันให้ผู้คนทั่วโลกถึง 216 ล้านคน ภายในปี 2050 ที่ต้องโยกย้ายถิ่นฐานภายในประเทศเพื่อหลีกหนีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

และทางสหรัฐ ภายใต้การนำของโจ ไบเดน ก็ต้องอนุมัติงบ 75 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับ 3 ชุมชนที่ต้อง ย้ายถิ่นฐาน เพราะเจอปัญหา Climate Change เนื่องจากชุมชนเหล่านี้ ที่อยู่ใน อลาสก้า และวอชิงตัน อยู่ติดแม่น้ำ และโดนธรรมชาติบั่นทอนการอยู่อาศัยแล้ว ปัญหาที่เจอก็คือ น้ำจากแม่น้ำเริ่มกัดเซาะตลิ่งมากขึ้น จนอยู่ไม่ได้แล้ว 

10 • เลือกตั้งสหรัฐฯ 2022 : พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งกลางเทอม นโยบาย Climate ระดับรากหญ้าจะดีขึ้น

แม้ว่า พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมาก ในการเลือกตั้งมิดเทอม แต่ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ​ ที่มาจาก  พรรคเดโมแครต ก็โล่งใจ หลังพรรคเดโมแครตทำผลงานได้ดีกว่าที่เขาคาดการณ์ไว้ และป้องกันที่นั่งสำคัญจากพรรครีพับลิกันได้ ในการเลือกตั้งกลางเทอม

เรื่องนี้ มีนัยยะทางการเมือง และเกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อม และ Keep The World แน่นอน เพราะนักวิเคราะห์มองว่า การที่ รีพับลิกัน ครองที่นั่งได้เยอะขึ้น มันมีผลต่อนโยบายเรื่อง  climate  โดยเฉพาะในเรื่องในระดับรัฐและในระดับท้องถิ่น ซึ่งมันจะมีส่วนช่วยให้สหรัฐฯ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ก๊าซเรือนกระจกและ มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้พลังงานจากถ่านหินไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ที่มา bloomberg , scientificamerican  , atmos.earth , newyorker , npr , businessinsider , gizmodo , CNN

related