svasdssvasds

กรุงเทพฯ และปริมณฑลเฝ้าระวังวันที่ 8 - 10 มกราคม ค่าฝุ่น PM2.5 น่ากลัว

กรุงเทพฯ และปริมณฑลเฝ้าระวังวันที่ 8 - 10  มกราคม ค่าฝุ่น PM2.5 น่ากลัว

เฝ้าระวังค่าฝุ่นน่ากลัว! จากการตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ของศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพ พบว่าในช่วงวันที่ 8 - 10 มกราคม 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งมีจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้

กรุงเทพฯ และปริมณฑลเฝ้าระวังวันที่ 8 - 10  มกราคม ค่าฝุ่น PM2.5 น่ากลัว กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่และตรวจสอบรวมถึงคาดการณ์ค่าฝุ่นละอองล่วงหน้าข้อมูลตั้งแต่วันที่ 6 -12 มกราคม 2566 พบว่า 

ช่วงที่ควรเฝ้าระวังมากที่สุด คือ วันที่ 8 - 10 มกราคม 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่งและปิด โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้

ในช่วงวันที่ 2 - 8 ม.ค. 2566 เกิดภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการระบายอากาศอ่อน/ไม่ดีในช่วงเวลาดังกล่าว (ยกเว้นวันที่ 5 และ 6 ม.ค.2566 ที่อัตราการระบายอากาศดี/ดีมาก) ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่น PM2.5 ค่อนข้างทรงตัว วันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า

ส่วนวันที่  5 - 7 มกราคม 2566 จะมีแนวโน้มสถานการณ์ที่ดีในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากอากาศที่เปิดมากขึ้นประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่มีกำลังแรงเข้าช่วย

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

กรุงเทพฯ และปริมณฑลเฝ้าระวังวันที่ 8 - 10  มกราคม ค่าฝุ่น PM2.5 น่ากลัว กรุงเทพฯ และปริมณฑลเฝ้าระวังวันที่ 8 - 10  มกราคม ค่าฝุ่น PM2.5 น่ากลัว

กรุงเทพฯ และปริมณฑลเฝ้าระวังวันที่ 8 - 10  มกราคม ค่าฝุ่น PM2.5 น่ากลัว
ในส่วนของผลการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ในวันที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 05.00-07.00 น. 

  • ตรวจวัดได้ 18-38 มคก./ลบ.ม.
  • ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 26.5 มคก./ลบ.ม.
  • ค่าฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด
  • PM2.5 ค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชม. ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ค่าฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด ตรวจวัดได้ 18-38 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) และจากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ในวันนี้ พบว่า ไม่พบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกในบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร ขอให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศเพื่อให้วางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง

กรณีพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร