svasdssvasds

วราวุธ ดัน พ.ร.บ.ลดโลกร้อน ปลุกเศรษฐกิจสีเขียว ด้วยนโยบายปฏิรูปครบวงจร

วราวุธ ดัน พ.ร.บ.ลดโลกร้อน ปลุกเศรษฐกิจสีเขียว ด้วยนโยบายปฏิรูปครบวงจร

วราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผย เตรียมดัน พ.ร.บ.ลดโลกร้อน เข้า ครม. ต้นปี 2566 เปิดยุทธศาสตร์สังคมคาร์บอนฯ ต่ำ ปลุกเศรษฐกิจสีเขียว

ในเวทีสัมมนา : NEW ENERGY แผนพลังงานชาติ สู่ ความยั่งยืน ซึ่งจัดโดยฐานเศรษฐกิจ วราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยถึง ยุทธศาสตร์การผลักดันสังคมคาร์บอนฯ ต่ำของประเทศไทย ว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีการยกระดับเป้าหมาย ด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างสูงสุด หลังจากทั่วโลกต่างเห็นพ้องตรงกัน และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีส

ผ่านกรณี นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม World Leaders Summit ว่า "ประเทศไทยจะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนฯ ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2065”

วราวุธ กล่าวว่า ถ้อยแถลงดังกล่างนั้น ถือเป็นภาพเร่งของประเทศไทย หลังจากเดิม วางเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2030 ไทยจะลดการปล่อยก๊าซให้ได้ 30% เปลี่ยนเป็น การเพิ่มศักยภาพการลดขึ้นสู่ระดับ 40% ภายในปี 2030 จาก 338 ล้านตันในแต่ละปี 

ซึ่งแม้คิดเป็นสัดส่วนต่อภาพรวมของโลก ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนระดับต่ำแค่ราว 0.8% เท่านั้น แต่กลับจะเป็น 1 ใน 10 ประเทศแรกของโลก ที่จะได้รับผลกระทบจาก Climate Change สูงสุดในอนาคต

วราวุธ ดัน พ.ร.บ.แก้โลกร้อน เปิดยุทธศาสตร์สังคมคาร์บอนฯ ต่ำ ปลุกเศรษฐกิจสีเขียว

บทความที่น่าสนใจ

" เป็นความจำเป็น ที่ประเทศไทยจะนิ่งเฉยไม่ได้ เนื่องจากวันนี้ระบบนิเวศทั่วโลก มีความอ่อนไหวและเปราะบาง ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะมีความเสี่ยงมหาศาล สะท้อนจากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกขณะนี้ เช่น  จีนเกิดภาวะแล้งอย่างน่ากังวล , ปากีสถานเผชิญน้ำท่วมครั้งใหญ่

"ส่วนสหรัฐ เจอทั้งน้ำท่วม และ น้ำแล้ง ขณะประเทศไทย ภาพฉายที่ชัดเจน คือ ภาวะน้ำท่วมขังยืดเยื้อใน กทม. ที่ไม่ได้มาจากปริมาณน้ำเหนืออย่างที่เคยเป็น แต่เป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกถี่และมีปริมาณมากขึ้นกว่าในอดีต ล้วนมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ด้วยน้ำมือมนุษย์ทั้งสิ้น"

วราวุธ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ นอกจากกระทรวงพลังงาน จะเป็นหลักในการดำเนินนโยบายสำคัญ เพื่อปลุกการตื่นตัวของคนในชาติแล้ว กระทรวงทรัพยากรฯ ก็ถือว่า มีบทบาทสำคัญต่อเป้าหมายดังกล่าวเช่นกัน ประเมิน การจะสร้างประเทศไทย ให้ไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนในทุกๆ มิติ จำเป็นต้องกลับมาทบทวนแผนนโยบาย ยืนด้วยลำขาของตัวเองให้ โดยมุ่งหวังให้ประเทศไทย พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ผ่านเศรษฐกิจสีเขียว ลดการพึ่งพาการนำเข้าหลายอย่าง เช่น ปุ๋ย พลังงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากวิกฤติต่างๆของโลก ไม่ว่าจะจากโรคระบาด , ภัยธรรมชาติ และ ภัยสงคราม ก็ตาม ผ่านการขับเคลื่อน 6 ด้านหลักๆ ดังนี้

วราวุธ ดัน พ.ร.บ.แก้โลกร้อน เปิดยุทธศาสตร์สังคมคาร์บอนฯ ต่ำ ปลุกเศรษฐกิจสีเขียว

1. ด้านนโยบาย

- การบูรณาการเป้าหมาย net zero เข้าสู่ยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนระดับประเทศ + รายสาขา

- ขับเคลื่อนนโยบาย BCG Model สร้าง new S-Curve ทางเศรษฐกิจ

- การส่งเสริมภาคเกษตรในการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การประยุกต์ใช้แนวคิด “Agri-tech with root”  ,  โครงการ Thai Rice NAMA – ปรับระดับพื้นที่ด้วยระบบเลเซอร์ /เปียกสลับแห้ง /ปรับค่าปุ๋ย และ ไม่เผาตอซัง

 2. ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

เร่งขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ผ่านกลไกคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (รมว.พน. เป็นประธาน) ซึ่งมีกำหนดประชุมครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคมนี้ มีส่วนสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการบรรลุเป้าหมายของประเทศ หากนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี ค.ศ. 2040  โดย ต้องเร่งดำเนินการใน 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่

- การปรับปรุงระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- การคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมและการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

- รูปแบบการลงทุน

- มูลค่าเพิ่มของคาร์บอนเครดิตและสิทธิประโยชน์ทางภาษี

 3. ด้านการค้า/การลงทุน

ประสานกับ BOI จัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนในสินค้าที่เป็นต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาต่างๆ เช่น พลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตร ป่าไม้ เป็นต้น และสนับสนุนให้เกิดการลงทุนสีเขียวสนับสนุน Green Procurement ภาครัฐ เช่น ปูนซีเมนต์ไฮโดรลิก และสินค้าอื่นๆ

4. ด้านการพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตทั้งในและต่างประเทศ

อบก. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขับเคลื่อนภาคเอกชนในการยกระดับการผลิตสินค้าและบริการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ และเชื่อมต่อเเพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดเเละคาร์บอนเครดิต วันที่ 21 กันยายน 2565

5. การเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

- ส่งเสริมการปลูกป่าธรรมชาติ (ไม้โตช้า) และปลูกป่าเศรษฐกิจ (ไม้โตเร็ว)

- ออกระเบียบ ปม. ทช. และ อส. ส่งเสริมการปลูกป่า และแบ่งปันคาร์บอนเครดิต 90/10

- ให้ภาคเอกชน/ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกป่าในพื้นที่ที่มีความพร้อมดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2565 จำนวนประมาณ 6 แสนไร่

6. กระทรวงทรัพยากรฯ อยู่ระหว่างผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป็นการดำเนินงาน ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการยกระดับจาก Voluntary เป็น Mandatory เพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตและกลไกการเงินที่จำเป็น การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา และการถ่ายทอดเป้าหมายนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ภายในต้นปี 2566

"เป็นร่าง Climate Change Act ฉบับแรกของประเทศไทย  จริงๆ จะเสร็จแล้ว จากความสมัครใจ เป็นภาคบังคับ มีการเพิ่มเติมบทบัณญัติ เกี่ยวกับ เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม และ แนวปฏิบัติที่ชัดเจนในภาคเอกชน และ ประชาชน"

วราวุธ ดัน พ.ร.บ.แก้โลกร้อน เปิดยุทธศาสตร์สังคมคาร์บอนฯ ต่ำ ปลุกเศรษฐกิจสีเขียว

วราวุธ กล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดของประเทศไทยดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการช่วยสนับสนุนและผลักดันทั้งนี้ อยากฝากความหวังไปยังที่ภาคเอกชน ซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีศักยภาพ คาดหมายการปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่การพัฒนาที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ และวางแผนเพื่อรับมือกับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ส่วนภาคประชาชน กลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและจะเป็นกลุ่มได้รับผลกระทบอย่างมากในอนาคต ควรศึกษาและนำแนวคิด Circular Living ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย

"ประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาตนเอง เชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะนำพาประเทศไทยก้าวสู่ Carbon Neutrality อย่างยั่งยืน เราต้องร่วมกันดูแลโลกใบนี้ไว้เพื่อลูกหลานเราต่อไป"

related