svasdssvasds

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทำให้นอนหลับน้อยลง 14 นาที/วัน หรือราว 44 ชั่วโมง/ปี

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทำให้นอนหลับน้อยลง 14 นาที/วัน หรือราว 44 ชั่วโมง/ปี

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนพบว่า Climate Change อาจส่งผลต่อการนอนหลับของคนเรา โดยอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นทำให้เกิดความเสี่ยงของการนอนไม่เพียงพอเพิ่มขึ้น ทำให้นอนหลับน้อยลงเฉลี่ย 14 นาทีต่อวัน หรือ 44 ชั่วโมงต่อปีเลยทีเดียว

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Climate Change ส่งผลกับการนอนหลับนี้ เป็นงานวิจัยจากจากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นในตอนกลางคืน ทำให้เกิดความเสี่ยงของการนอนไม่เพียงพอเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นอันตรายกับการนอนหลับ

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทำให้นอนหลับน้อยลง 14 นาที/วัน หรือราว 44 ชั่วโมง/ปี

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลการนอนมากกว่า 7 ล้านครั้ง จากคน 47,000 คนใน 68 ประเทศระหว่างปี 2015-2017 พบว่าอุณหภูมิตอนกลางคืนที่อุ่นขึ้นเป็นอันตราย ทำให้คนนอนหลับได้น้อยลงเฉลี่ย 14 นาทีต่อวัน หรือ 44 ชั่วโมงต่อปี และหากเรายังปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2100 อาจต้องเผชิญกับการนอนหลับสั้นขึ้นโดยเฉลี่ย 2 สัปดาห์ หรือเสียเวลานอนหรือนอนน้อยลง 50-58 ชั่วโมงต่อปีเลยทีเดียว

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

นอกจากนี้นักวิจัยยังเผยว่าผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการอดนอนจากโลกร้อน ได้แก่  ผู้สูงอายุ ผู้อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ผู้หญิง และผู้ที่อาศัยอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด จะได้รับผลกระทบจากการอดนนอนจากสภาพอากาศร้อน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเอเชีย ออสเตรเลีย และตะวันออกกลางจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอหรืออดนอนจะส่งผลเสียกับสุขภาพอย่างร้ายแรง เช่น ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ โรคอ้วน และส่งผลกับสุขภาพจิต ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะกับการนอนหลับอยู่ที่ประมาณ 16-20 องศาเซลเซียส ร่างกายจะควบคุมอุณหภูมิภายในของเมื่อนอนหลับ แต่เมื่ออุณหภูมิภายนอกที่สูงขึ้นจะทำให้สิ่งนี้ยากขึ้น 

 

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

related