svasdssvasds

GISTDA มอง โลกร้อน ปี 66 ต้องแก้จบที่รุ่นเรา ก่อนหายนะถึงรุ่นหลาน

GISTDA มอง โลกร้อน ปี 66 ต้องแก้จบที่รุ่นเรา ก่อนหายนะถึงรุ่นหลาน

ดร.ปกรณ์ GISTDA มอง ปัญหาโลกร้อน ต้องแก้จบที่รุ่นเรา อย่าปล่อยให้เป็นปัญหาของลูกหลาน แม้ปัญหาที่เจออยู่จะต้องล้างตำราใหม่ก็ตาม

ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร โฆษกและผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ ของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ระบุภายในงาน งานสัมมนา “Innovation Keeping the World นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน? จัดโดย สปริงนิวส์ , เนชั่นออนไลน์ , ฐานเศรษฐกิจ และสื่อภายในเครือเนชั่น กรุ๊ป ว่า ปีนี้เป็นปีแรกหลังจากที่เราได้รับความชุ่มชื้นมานาน หลายฝ่ายถึงขนาดกลัวว่าจะท่วมเหมือน ปี 2554 แต่เวลาผ่านมาไม่ถึงปี นับตั้งแต่วันที่มีความกลัว กลับกำลังจะกลายเป็นภัยแล้งไปเสียแล้ว

งาน งานสัมมนา “Innovation Keeping the World นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน? จัดโดย สปริงนิวส์ , เนชั่นออนไลน์ , ฐานเศรษฐกิจ และสื่อภายในเครือเนชั่น กรุ๊ป

หากสังเกตุข้อมูลทางภูมิสารสนเทศและดาวเทียม จะพบว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นทุกปี และความเหวี่ยงของอุณหภูมิรุนแรงขึ้นทุกปีเช่นกัน เมื่ออากาศร้อนขึ้น เอลนีโญ และ ลานีญา ก็เหวี่ยงแรงขึ้นทุกวัน แล้งจะแล้งหนักขึ้น ฝนจะตกหนักขึ้น รุนแรงขึ้น ดร.ปกรณ์ ระบุ

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

"เราจะต้องหยุดวิกฤตเรื่องอุณหภูมิให้จบที่รุ่นเรา แก้ไขที่รุ่นเรา อย่าให้ไปถึงรุ่นลูกหลาน" ดร.ปกรณ์ เพ็ชรประยูร กล่าว

ดร.ปกรณ์ ระบุว่า จากข้อมูลภูมิสารสนเทศและดาวเทียมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่าสถานการณ์ที่เราเจออยู่ปัจจุบันแทบจะล้างตำราทั้งหมดที่เราเคยเรียนมา ซึ่งปัจจุบัน สิ่งที่เราทำได้คือ เร่งปรับตัว และเรียนรู้จากสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เพื่อให้อุณหภูมิโลกลดลง ด้วยการลดก๊าซเรือนกระจก

GISTDA มอง โลกร้อน ปี 66 ต้องแก้จบที่รุ่นเรา ก่อนหายนะถึงรุ่นหลาน

ดร.ปกรณ์ ระบุว่า จริง ๆ แล้ว อุณหภูมิเปลี่ยน ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกร้อนขึ้นอย่างเดียว แต่กระทบทุกภาคส่วน ทั้งเรื่องกระบวนการผลิต ภาคการเกษตร และ ภาคอุตสาหกรรม การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ทั่วโลกเคยตั้งกันไว้ในปี 2030 ทั้งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนตัวเชื่อว่า เราน่าจะทำได้สำเร็จก่อน 

วิธีการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ต้องมองภาพรวมทั้งหมดเป็นภาพเดียวกัน การแก้ไขต้องแก้ทั้งระบบ ตามความเห็นของ ดร.ปกรณ์

หลังจากนี้จะมีดาวเทียมอีกกว่า 30 ดวง ที่สามารถตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกได้ จะกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นานาชาติใช้กำหนดนโยบาย เช่น การกีดกันการค้ากับประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเยอะ เป็นต้น

related