svasdssvasds

8 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันทะเลโลก ทะเลกำลังเดือดเหมือนหม้อน้ำเพราะมือมนุษย์

8 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันทะเลโลก ทะเลกำลังเดือดเหมือนหม้อน้ำเพราะมือมนุษย์

วันทะเลโลก ตรงกับวันที่ 8 มิ.ย. ของทุกปี เพราะอยากให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของมหาสมุทรที่กำลังวิกฤตเพราะกิจกรรมของมนุษย์ มหาสมุทรกำลังวิกฤตอะไรบ้าง?

วันทะเลโลก หรือ วันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day) ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายนของทุกปี กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ เมื่อปีพ.ศ. 2552 มีขึ้นเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของท้องทะเลและมหาสมุทร รวมถึงร่วมกันอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตใต้มหาสมุทรไว้ให้ยั่งยืนที่สุด

มหาสมุทรเปรียบเสมือนอีกโลกหนึ่งที่มนุษย์รู้จักแต่ยังสำรวจไม่ทั่วถึง แม้ว่าเรายังสำรวจไม่ครบอีกหลายส่วน แต่มหาสมุทรเองก็กำลังเผชิญหน้ากับความยากลำบากที่มนุษย์มอบให้ด้วยเช่นกัน

อุณหภูมิของมหาสมุทรสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นสิ่งผิดปกติที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าเป็นเพราะอะไร ข้อมูลที่รวบรวมโดย US National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) หรือที่รู้จักในชื่อชุด Optimum Interpolation Sea Surface Temperature (OISST) ซึ่งได้รวบรวมมาจากดาวเทียมและทุ่น  แสดงผลอุณหภูมิของน้ำทะเลว่ามันกำลังพุ่งสูงขึ้นมากกว่าปีก่อน ๆ

นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงมีนาคม 2023 ที่ผ่านมา NOAA และ Climatechange.org ได้รายงานการตรวจสอบอุณหภูมิในมหาสมุทร ซึ่งผลสรุปว่าอุณหภูมิผิวน้ำยังคงมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีทีท่าลดลงเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2022 นักวิทยาศาสตร์สรุปข้อมูลอุณหภูมิมหาสมุทรได้ว่า ปี 2022 เป็นปีที่มหาสมุทรร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ เนื่องจากมหาสมุทรดูดซับความร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 90% ซึ่งได้สร้างคลื่นความร้อนขนาดใหญ่ในทะเลและกินเวลายาวนาน แถมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลด้วย

8 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันทะเลโลก ทะเลกำลังเดือดเหมือนหม้อน้ำเพราะมือมนุษย์ แต่จากการอัปเดตล่าสุด เดือนกุมภาพันธ์ 2023 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลกในสถิติ 174 ปีของ NOAA อุณหภูมิพื้นผิวโลกในเดือนอยู่ที่ 0.97 องศาเซลเซียส สูงกว่าค่าเฉลี่ยในศตวรรษที่ 20

และในปัจจุบันคาดว่าน้ำทะเลกำลังมีอุณหภูมิสูงขึ้น 0.7 องศาเซลเซียสและกำลังร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ตามภาพด้านล่างนี้

เพราะอุณหภูมิพื้นผิวโลกสัมพันธ์กับอุณหภูมิมหาสมุทรโลกด้วย เดือนมีนาคมที่ผ่านมาอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 21 องศาเซลเซียสทั่วโลก ไม่รวมอุณหภูมิในขั้วโลก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ 1981 ที่มาหสมุทรมีอุณหภูมิสูงขนาดนี้

นักวิทย์มีการคาดการณ์ว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ ปรากฎการณ์เอลนีโญที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง ที่ปีนี้ถูกวิเคราะห์ว่าจะมีความรุนแรงและยาวนานมากยิ่งขึ้น เอลนีโญมีผลต่ออุณหภูมิของน้ำทะเลโดยตรง อาจทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นได้

ยิ่งอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นเท่าไหร่ ก็ก่อให้เกิดการระเหยมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การปกคลุมของเมฆที่เพิ่มขึ้น พอมีเมฆมาก แสงแดดก็ส่องไม่ถึงพื้นผิวโลก กระตุ้นให้เกิดความร้อนสะสมในชั้นบรรยากาศ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดพายุ ภัยแล้ง และน้ำท่วมได้

เมื่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น ก็ให้เกิดภัยร้ายแรงที่ค่อยคืบคลานเข้ามา เช่น การละลายของธารน้ำแข็ง เมื่ออุณหภูมิเริ่มแปรปรวน น้ำทะเลอาจมีความเป็นกรดมากยิ่งขึ้นจากการปรับตัวกับอุณหภูมิได้ยาก ออกซิเจนในน้ำก็จะยิ่งลดน้อยลง ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล สัตว์ทะเลรวมไปถึงระบบนิเวศใต้ทะเลทั้งหมด

แผนภาพจำลองของจริงของเอญนีโญที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เราสามารถช่วยมหาสมุทรได้ ด้วยการแยกขยะก่อนทิ้งให้เป็นนิสัย ทั้งเศษอาหาร กระดาษ หรือถุงพลาสติก เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นมลพิษต่อสัตว์น้ำ ลดกิจกรรมที่ปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศโลก เช่น การใช้รถยนต์พร้อมกันเยอะๆหลายคน รถเก่าที่ปล่อยควันเยอะ การเผาไร่นา เป็นต้น

รวมถึงการรักษาระบบนิเวศใต้ทะเล อย่างการเป็นนักท่องเที่ยวที่ดีด้วยการอย่านำปะการังหรือทรัพยากรธรรมชาติกลับขึ้นมาเมื่อไปเที่ยวดำน้ำ การใช้ครีมทากันแดดที่เป็นมิตรต่อทะเล และทำกิจกรรมทางทะเลก็โปรดนึกถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับท้องทะเลด้วย

ที่มาข้อมูล

The Guardian

NOAA

related