svasdssvasds

เอลนีโญจ่อปากอ่าวไทย เสี่ยงระบบนิเวศแย่ อ.ธรณ์แนะ ทำได้แค่รับมือ-ปรับตัว

เอลนีโญจ่อปากอ่าวไทย เสี่ยงระบบนิเวศแย่ อ.ธรณ์แนะ ทำได้แค่รับมือ-ปรับตัว

ไทยควรตั้งการ์ดรับมืออย่างไร เมื่อเอลนีโญเดินทางมาถึง ส่งกระทบอะไรบ้าง? นักวิทย์ชี้ อาจทำให้ระบบนิเวศทางทะเลล่มสลายหากไม่รีบแก้ไขเรื่องโลกร้อน

ปรากฎการณ์เอลนีโญ เรื่องที่ไทยไม่ควรพลาดในการตั้งการ์ดรับมือกับภัยแล้งที่กำลังเดินทางมาถึง ซึ่งตอนนี้ได้เดินทางมาถึงไทยเรียบร้อยแล้ว มันจะเกิดอะไรขึ้น แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมเรื่องเอลนีโญถึงสำคัญ?

เอลนีโญ เป็นสิ่งที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ แต่ที่ผ่านมา ไม่ได้รุนแรงจนทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญได้ ดังนั้น ในปีนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือความรุนแรงที่มากกว่า มากกว่าชนิดที่ว่านักวิทยาศาสตร์ยังกลัว เพราะมันได้รวบตัวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนที่เกิดจากมือมนุษย์เข้าไปด้วย

การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Global Change Biology นำโดยนักวิจัยจาก UC Santa Barbara เผยว่า อุณหภูมิของมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้นกำลังกำลังแผ่ขยายไปทั่วท้องทะเล กำลังทำลายสถิติและสร้างปัญหาให้กับสิ่งมีชีวิตที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่

เอลนีโญจ่อปากอ่าวไทย เสี่ยงระบบนิเวศแย่ อ.ธรณ์แนะ ทำได้แค่รับมือ-ปรับตัว เอลนีโญ เปรียบเป็นคลื่นความร้อนที่โจมตีได้ทั้งบนบกและในน้ำ

คลื่นความร้อนบกบน กับ คลื่นความร้อนในทะเล นั้นไม่เหมือนกัน หากมหาสมุทรร้อนขึ้นกระทันหัน มันอาจเกิดขึ้นลากยาวเป็นเดือนหรือเป็นปี ซึ่งมันนำไปสู่การตายและการพลัดถิ่นของสปีชีส์จำนวนมาก รวมไปถึงการลดลงทางเศรษฐกิจ และการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย

มหาสมุทรที่ร้อนขึ้นอย่างผิดปกติ นักวิทย์เรียกมันว่า “The Blob” ซึ่ง The Blob ถูกซ้ำเติมด้วยปรากฎการณ์เอลนีโญครั้งใหญ่ที่ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลร้อนระอุยาวนานขึ้น และมันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของใยอาหาร การประมงที่ล่มสลาย และการเคลื่อนย้ายประชากรสิ่งมีชีวิตในทะเล และผลที่จะตามมาอีกมากมาย

The Blob Cr. NASA

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอลนีโญมาถึงไทย?

ข้อมูลล่าสุดจากอาจารย์ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ NOAA (องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ) แสดงให้เราเห็นว่า อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้ไทยทะเลเข้าสู่เอลนีโญตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงเร่งตัวให้ร้อนขึ้น

Cr. NOAA มีการคาดการณ์ว่า เอลนีโญจะยาวนานอย่างแข็งแกร่งไปจนถึงฤดูหนาวถึง 90%  และยาวต่อไปยันปีหน้าตามกราฟคาดการณ์ด้านล่างนี้

Cr. NOAA

สำหรับประเทศไทย มีการคาดการณ์ว่าเอลนีโญจะรุนแรงสุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม มีโอกาสที่น้ำทะเลจะร้อนเพิ่มขึ้นเกิน 1 องศาเซลเซียส (80%) เกิน 1.5 องศาเซลเซียส (50%) และเกิน 2 องศาเซลเซียส (20%) ซึ่งตัวเลขอาจจะเปลี่ยนแปลง หากใกล้ถึงช่วงเวลาการเกิดมากขึ้น

แล้วจะส่งผลกระทบอะไรต่อทะเลและต่อเราบ้าง?

แน่นอนว่า อุณหภูมิน้ำทะเลไม่ว่าจะผิวน้ำหรือใต้น้ำที่สูงขึ้นฉับพลัน ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลทุกประการ หากเปรียบง่าย ๆ คือ เวลาเราจะเลี้ยงปลา หากตั้งตู้เลี้ยงปลาในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิไม่เหมาะสมก็อาจทำให้ปลาช็อคน้ำตายได้ เช่นเดียวกันกับสัตว์น้ำใต้ทะเล

อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลต่อประชากรปลา อาจทำให้พวกมันหลงทิศ มีการย้ายถิ่นและพลัดถิ่น การหาอาหารยากขึ้น เนื่องจากปะการังอาจเกิดการฟอกขาวได้ ซึ่งปะการังเป็นแหล่งหาอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์น้ำหลายสปีชีส์

อาจเกิดแพลงก์ตอนบลูม หรือน้ำทะเลเปลี่ยนสี ดังที่ปรากฎในข่าวหลายต่อหลายครั้ง แพลงก์ตอนบลูมชอบสภาพอากาศที่ฝนตกสลับแดดออก เพราะมีทั้งธาตุอาหารและเสงเพียงพอให้มันเติบโต แต่เมื่อแพลนก์ตอนบลูมเติบโต ก็ส่งผลให้น้ำบริเวณดังกล่าวมีออกซิเจนลดลง เกิดการแบ่งชั้นน้ำ ซึ่งท้ายที่สุดคือทำให้ปลาตายเกลื่อนหาดได้ง่าย เพราะออกซิเจนไม่เพียงพอ

สภาพอาหาศที่แปรปรวนจากเอลนีโญอาจทำให้เกิดพายุ ซึ่งก็ต้องขึ้นกับช่วงเวลาที่มีความเป็นไปได้อย่างเหมาะสมของปัจจัยการกก่อเกิดพายุ เพราะยิ่งร้อนมากขึ้นก็ก่อให้เกิดไอน้ำที่ก่อตัวเป็นเมฆพายุฝนได้

เอลนีโญปี 1997 Cr. NOAA

เอลนีโญ 2023 Cr.NOAA เราต้องทำยังไง?

อาจารย์ธรณ์ เผยว่า สิ่งที่ทำได้คือ การรับมือ และการปรับตัวเท่านั้น “รับมือ” ด้วยการยกระดับการติดตามผลกระทบในทะเลอย่างจริงจัง เพิ่มการสำรวจคุณภาพน้ำ สมุทรศาสตร์ และระบบนิเวศให้ทันท่วงที และ “ปรับตัว” ด้วยการลดผลกระทบจากมนุษย์ให้น้อยที่สุด เพื่อที่จะไม่เป็นการซ้ำเติมมหาสมุทรในช่วงที่ย่ำแย่ที่สุด

นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น ก่อนที่มันจะลากยาวไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นหายนะทางธรรมชาติที่มนุษย์หลีกหนีไม่ได้ การต่อสู้กับธรรมชาติเป็นสิ่งที่รู้ดีว่า มนุษย์ไม่อาจทำได้ ทำได้เพียงแค่รับมือและยอมรับชะตากรรม แต่เราสามารถลดความรุนแรงด้วยการลดภัยจากสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เพื่อไม่กระตุ้นให้เกิดความรุนแรงขึ้นภายหลัง

ที่มาข้อมูล

อาจารย์ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์

NOAA

The Current

related