svasdssvasds

ปะการังอ่อนย้ายถิ่นไปทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บ่งบอกว่าทะเลอุณหภูมิสูงขึ้น

ปะการังอ่อนย้ายถิ่นไปทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บ่งบอกว่าทะเลอุณหภูมิสูงขึ้น

จากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเล รวมถึงปะการัง ล่าสุดมีการค้นพบปะการังอ่อนพันธุ์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าทะเลร้อนขึ้น

ปะการังอ่อนพบได้ทั่วไปในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกและนอกชายฝั่งทะเลแดงทางตอนใต้ของอิสราเอล ได้รับการระบุเป็นครั้งแรกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้เพิ่มเติมว่ามีความเป็นไปได้ที่ในอนาคตปะการังจะค่อยๆ กลายมาอยู่ในเขตร้อน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

            
            Cr. www.timesofisrael.com
        
ปะการังที่ถูกค้นพบเป็นสกุล Dendronephthya (กลุ่มสายพันธุ์) ถูกพบลึก 42 เมตร (138 ฟุต) นอกชายฝั่ง Kibbutz Sdot Yam ทางตอนใต้ของ Haifa ทางตอนเหนือของอิสราเอล การค้นพบนี้เกิดขึ้นระหว่างการดำน้ำตามปกติสำหรับโครงการวิจัยระยะยาวที่ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยทางทะเล Morris Kahn แห่งมหาวิทยาลัย Haifa 

นักศึกษาวิจัย ฮาไก เนทีฟ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ทางทะเลชาร์นีย์ มหาวิทยาลัยไฮฟา กล่าวว่า “จนถึงขณะนี้อุณหภูมิที่ต่ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนช่วงฤดูหนาว ทำให้ปะการังเขตร้อนไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ได้” 

"ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์การแตกกิ่งก้านของปะการังชนิดใดชนิดหนึ่งที่เราพบ การค้นพบนี้ให้หลักฐานเพิ่มเติมว่าอุปสรรคทางธรรมชาติระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลแดงกำลังหายไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"
เพื่อความอยู่รอดปะการังต้องการอุณหภูมิน้ำที่อยู่ระหว่าง 17°C ถึง 30°C (62.6°F ถึง 86°F) แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากโลกร้อนขึ้น อุณหภูมิของน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกจึงเพิ่มขึ้น 0.27°C ถึง 0.35°C (0.49°F ถึง 0.63°F) ต่อทศวรรษ โดยอุณหภูมิต่ำสุดในฤดูหนาวในน่านน้ำชายฝั่งเพิ่มขึ้นจากประมาณ 16°C (60.8°F) เป็น 18°C ​​(64.4°F) นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990
“การมีอยู่ของปะการังสกุล Dendronephthya บ่งบอกว่าฤดูหนาวปีที่แล้ว น้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมันอุ่นขึ้นกว่าในอดีต”

Cr. www.timesofisrael.com

จากข้อมูลของทัล โอเซอร์ ผู้ศึกษาทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกเฉียงใต้และประสานงานข้อมูลสำหรับโครงการติดตามทางทะเลระดับชาติที่สถาบันวิจัยสมุทรศาสตร์และลิมโนโลยีอิสราเอล อุณหภูมิของน้ำผิวดินเดือนมีนาคมในฮาเดรา ซึ่งเป็น 1 ใน 2 สถานีตรวจสอบเมดิเตอร์เรเนียนตั้งอยู่ ไม่เคยลดลงต่ำกว่า 18.6 องศาเซลเซียส (65.5 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา 1.2°C (2°F)
“ในระบบที่ซับซ้อน เช่น ระบบนิเวศทางทะเล การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็สามารถกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้” 

เมื่อพิจารณาถึงความสามารถของปะการังในการเกาะติดกับพื้นผิวและเติบโตได้หลายเซนติเมตรต่อเดือน พวกเขากล่าวเสริมว่า "เราคาดหวังว่ามันจะขยายการกระจายตัวและความอุดมสมบูรณ์ไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอย่างรวดเร็ว และถ้าสายพันธุ์ปูที่อาศัยอยู่ร่วมกับมันในทะเลแดงมันเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ปูนั้นก็สามารถปรากฏให้เห็นได้เช่นกัน 

“เมื่อสายพันธุ์จากที่หนึ่งบุกเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอีกที่หนึ่ง อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นได้ ซึ่งการรุกรานเหล่านี้ หรือที่เรียกว่าการรุกรานทางชีวภาพ ทำลายระบบนิเวศทางธรรมชาติ และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีความเสี่ยงเป็นพิเศษเนื่องจากสภาพน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเมื่อประกอบกับการเปิดคลองสุเอซ ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับสัตว์ต่างๆ จากทะเลแดงที่จะย้ายเข้ามา”
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เราพบเมื่อเร็วๆ นี้ และการขยายตัวบวกกับความลึกของคลองสุเอซ กำลังเอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอพยพและสร้างประชากรของสายพันธุ์จากทะเลแดง”
ปลา สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสาหร่ายเอเลี่ยนมากกว่า 500 สายพันธุ์ได้ย้ายจากทะเลแดงไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกผ่านทางคลองสุเอซ และกำลังไปตั้งถิ่นฐานถาวรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

 

ที่มา : Times of Israel

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :