svasdssvasds

Coral Maker สร้างแขนหุ่นยนต์ ช่วยปลูกปะการัง หวังฟื้นฟูแนวปะการังที่พัง

Coral Maker สร้างแขนหุ่นยนต์ ช่วยปลูกปะการัง หวังฟื้นฟูแนวปะการังที่พัง

สตาร์ตอัปชาวออสเตรเลีย เตรียมพัฒนาแขนหุ่นยนต์ช่วยปลูกปะการัง หวังฟื้นฟูปะการังที่กำลังเจอปัญหาน้ำเป็นกรด ทำให้ปะการังเสี่ยงต่อโรคและล้มตายจำนวนมาก

ทาริน ฟอสเตอร์ นักชีววิทยาทางทะเลจากหมู่เกาะอโบรโลส เล่าว่า ใต้ท้องทะเลรอบเกาะในขณะนี้ไม่มีต้นปาล์มหรือพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ อีกต่อไป โดยแนวปะการังอาจครอบคลุมพื้นทะเลเพียง 0.2% เท่านั้น แต่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลมากกว่าหนึ่งในสี่ สะท้อนว่าสัตว์น้ำกำลังได้รับผลกระทบอย่างมาก

ปะการังเป็นสัตว์ที่ถูกเรียกว่าติ่งเนื้อ ส่วนใหญ่ถูกพบในน่านน้ำเขตร้อน ก้านของมันจะเนื้อนิ่มและสร้างเปลือกนอกให้แข็ง โดยการสกัดแคลเซียมคาร์บอเนตจากทะเล เมื่อเวลาผ่านไป เปลือกแข็งเหล่านั้นจะก่อตัวเป็นฐานของแนวปะการังที่เราเห็นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ไวต่อความร้อนและความเป็นกรด และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มหาสมุทรมีกระแสน้ำที่อุ่นขึ้นและมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น ส่งผลให้ปะการังมีความเสี่ยงต่อโรคและอาจตายได้

Credit Pic : Unsplash

จากข้อมูลของ Global Coral Reel Monitoring Network อุณหภูมิน้ำที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส อาจทำให้แนวปะการังทั่วโลกสูญเสียระหว่าง 70 - 90% นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่าภายในปี 2070 ปะการังจะหายไปอย่างสิ้นเชิง

ดังนั้น ฟอสเตอร์ จึงได้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ตอัปชื่อ Coral Maker และขยายความร่วมมือกับบริษัทซอฟต์แวร์ด้านวิศวกรรมอย่าง Autodesk ในซานฟรานซิสโก หวังจะช่วยเร่งกระบวนการสร้างแขนหุ่นยนต์ให้เร็วขึ้น

นิก คาร์เรย์ นักวิทยาศาสตร์การวิจัยหลักอาวุโสของ Autodesk กล่าวว่านักวิจัยของ Autodesk ได้รับการฝึกอบรมด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อควบคุมหุ่นยนต์และร่วมปฏิบัติงาน (โคบอท) ซึ่งจะเป็นการทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับมนุษย์

ทั้งนี้ แขนหุ่นยนต์สามารถต่อกิ่งหรือติดเศษปะการัง เข้ากับการปักเมล็ดได้ ด้วยการนำอุปกรณ์ไปติดไว้ที่ฐาน โดยใช้ระบบการมองเห็นเพื่อตัดสินใจว่าจะสัตว์น้ำจะเกาะกับปะการังอย่างไร

“ปะการังทุกชิ้นมีความแตกต่างกัน แม้จะอยู่ในสายพันธุ์เดียวกัน ดังนั้นหุ่นยนต์จึงต้องจดจำเศษปะการังและวิธีจัดการกับพวกมันให้ดี”

ทั้งนี้ แขนหุ่นยนต์ช่วยจัดการกับความแปรปรวนของรูปทรงปะการังได้ดีมาก

ขั้นตอนต่อไปคือ การเคลื่อนย้ายหุ่นยนต์ออกจากห้องแล็บภายใน 12-18 เดือนข้างหน้า เพื่อให้หุ่นยนต์เร่งกระบวนการปลูกให้ทันต่อความต้องการของสัตว์น้ำ

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาด้านความท้าทายอีกมากสำหรับการใช้หุ่นยนต์ในการช่วยปลูกปะการังนี้ เช่น ปะการังที่ใส่ในน้ำจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างดีและระวังอย่างมาก ตั้งแต่บนเรือที่กำลังเคลื่อนที่ และน้ำเค็มก็อาจสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังมีต้นทุนสูง ทำให้ Coral Maker กำลังเดิมพันด้านความต้องการจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และวางแผนที่จะออกเครดิตความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งทำงานคล้ายกับคาร์บอนเครดิต

ซึ่งการที่จะเดินหน้ารักษาแนวปะการังให้สามารถอยู่รอดได้ในอนาคตนั้น ผู้ลงทุนทุกฝ่ายต้องใช้ทั้งเวลา เงิน และทุนมนุษย์จำนวนมาก

 

ที่มา : BBC

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

related