svasdssvasds

"มลพิษทางอากาศ" คร่าแล้วหลายแสนชีวิต EU แนะทั่วโลกเร่งออกกฎหมายอากาศสะอาด

"มลพิษทางอากาศ" คร่าแล้วหลายแสนชีวิต EU แนะทั่วโลกเร่งออกกฎหมายอากาศสะอาด

สหภาพยุโรปเผยข้อมูลในปี 2021 พบมลพิษทางอากาศคร่าชีวิตประชาชนกว่าหลายแสนชีวิต เซ่นมลพิษทางอากาศ ย้ำ เร่งเดินหน้าออกกฎหมายควบคุมอากาศ แนะทั่วโลกให้รีบออกกฎหมาย ย้ำสุขภาพของประชาชนสำคัญที่สุด

แม้ว่าสถานการณ์เรื่องฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้เลวร้ายมากนัก ค่าฝุ่นในแต่ละวันยังคงอยู่ในระดับคงที่ และไม่ได้สูงในระดับที่สามารถผลกระทบในแง่ลบให้ต่อสุขภาพของประชาชนได้

ทว่าหลาย ๆ พื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งยังมีการเผาไหม้ หรือได้รับฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้านก็ยังได้รับผลกระทบจากอากาศที่ย่ำแย่ และได้ออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐออกมาตรการเพื่อจัดการกับสภาพอากาศที่เลวร้าย

ภาคเหนือถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นควัน Cr. Flickr

ล่าสุด สำนักสิ่งแวดล้อมยุโรปได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศในปี 2021 พบว่ามีจำนวนหลายแสนชีวิตที่ถูกพรากไป และมีอีกหลายชีวิตที่ต้องทุกข์ทรมาน อันเนื่องมาจากโรคที่เป็นผลพวงมาจากอากาศที่ย่ำแย่  

เกิดอะไรขึ้น?

สำนักสิ่งแวดล้อมยุโรป เผยว่า ประชาชนเสียชีวิตก่อนกำหนด 253,000 ราย เหตุสูดดมฝุ่น PM 2.5 ซึ่งมีความเข้มข้นของอนุภาคสูงเกินที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) กำหนด (5µg/m3) ใน 2 แสนราย มี 52,000 ราย ที่เสียชีวิตจากระดับไนโตรเจนออกไซด์สูงเกินไป และ 22,000 ราย ที่เสียชีวิตจากอากาศที่เป็นมลพิษ

แพทย์ เผยว่า แม้มลพิษทางอากาศจะเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลก แต่ตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตจะลดลง หากประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการจัดการสภาพอากาศที่ดีให้กับประชาชนในประเทศ

จำนวนผู้เสียชีวิตจากฝุ่น PM 2.5 ในยุโรปลดลง 41% โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2005 – 2021 เป้าหมายของ EU ในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากฝุ่น PM 2.5 คือ 50% ก่อนสิ้นทศวรรษนี้

EU เร่งจัดการลดอัตราผู้เสียชีวิตจากอากาศย่ำแย่ Cr. CET

ข้อมูลจาก Green Peach ระบุว่า ในปี 2021 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งสิ้น 29,000 รายโดยประมาณ นอกจากนี้ยังเรียกร้องอีกว่า ให้รัฐบาล (ปี 2022) ออกมาตรการจัดการเรื่องอากาศสะอาดให้ประชาชนเป็นการเร่งด่วน

แนะเร่งออกกฎหมายอากาศสะอาด

หากใครจำได้ จังหวัดเชียงใหม่เคยค่าฝุ่นแย่เป็นอันดับ 1 ของโลก ที่ 193 AQI กระทั่งเมื่อช่วงต้นปีนี้ เครือข่ายประชาชนภาคเหนือ รวมตัวกันเพื่อฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ดำรงตำแหน่งนายกอยู่ ณ ขณะนั้น) ในข้อหาไม่ใช้อำนาจทางกฎหมายแก้ไขวิกฤตฝุ่น PM 2.5 และปล่อยให้ประชาชนสูดดมอากาศที่ย่ำแย่

Sinkevicius กล่าวว่า การออกนโยบายอากาศสะอาดได้ผล คุณภาพอากาศของหลาย ๆ ประเทศในสหภาพยุโรปกำลังดีขึ้นตามลำดับ แต่เท่านี้ยังไม่พอ จำเป็นต้องจัดการอย่างเร่งด่วนเพื่อจัดหาอากาศสะอาดให้กับประชาชน พร้อมทั้งชักชวนประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกให้ผลักดันนโยบายเพื่อควบคุมอากาศให้สะอาด ตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงจะได้รับ

อากาศที่ย่ำแย่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต Cr. Flickr

สำนักสิ่งแวดล้อมยุโรปยังเปิดเผยอีกว่า โรคจากมลพิษทางอากาศสัมพันธ์กับยอดผู้เสียชีวิตอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งคำนวณว่าประชาชนต้องทนทุกข์จากโรคที่เกิดจากสภาพอากาศที่ย่ำแย่อีกกี่ปี

สำหรับคนที่เป็นโรคปอดอันเนื่องมาจากฝุ่น PM 2.5 EEA ประเมินว่า ในปี 2564 มีผู้เสียชีวิต 150,000 รายทั่วยุโรป และ WHO ได้รายงานตัวเลขในปี 2021 ของผู้เสียชีวิตจากอากาศที่เลวร้ายทั่วโลกอยู่ที่ 7 ล้านราย ถ้ามี 10 คน จะมี 9 คนที่เสียชีวิต

พรบ.อากาศสะอาดของไทย

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา สส. จากพรรคเพื่อไทย นำทีมโดย พัชรวาท ชงยื่นพระราชบัญญัติอากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา เรื่องของปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นหลักให้กับประเทศไทย เข้าสภาเป็นที่เรียบร้อย

ร่างพรบ.อากาศสะอาดของเพื่อไทยมีเนื้อหาดังนี้

1. กลไกว่าด้วยเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องอากาศสะอาด

2. เตรียมยึดหลัก PPP หรือ Polluter Pays Principle ว่าง่าย ๆ คือให้อำนาจรัฐเพื่อจัดเก็บภาษี หรือทำโทษแก่ผู้เผาขยะจากหลาย ๆ อุตสาหกรรมทั่วประเทศ 

3. มีอำนาจจัดการหมอกควันข้ามแดนจากบริษัทต่างชาติที่ปล่อยให้ควันหรือมลพิษลอยข้ามมายังประเทศไทย รัฐจะมีอำนาจมากขึ้นในการเข้าไปกำกับดูแล เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในประเทศ

 

 

ที่มา: greennews

        The Guardian

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related