svasdssvasds

ความไม่มั่นคงด้านอาหาร ทวีปเอเชียรุนแรง ทำคนไร้อาหารที่ดีในการประทังชีพ!

ความไม่มั่นคงด้านอาหาร ทวีปเอเชียรุนแรง ทำคนไร้อาหารที่ดีในการประทังชีพ!

รายงานชิ้นล่าสุดจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ในปี 2022 มีประชากรราว 2.4 พันล้านคน ซึ่งประสบปัญหาในการเข้าถึงอาหารที่ดี เพิ่มขึ้นจากปี 2015 ซึ่งมีผู้ประสบภัยความไม่มั่นคงด้านอาหาร (Food Insecurity) อยู่เพียง 1.6 พันล้านคนต่อปี

ส่องไฟมาที่ทวีปเอเชีย พบว่า ประชากรชาวเกาหลีเหนือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ คิดเป็น 45% มากที่สุดในทวีปเอเชีย ตามมาด้วยอัปกานิสถาน ที่ 30%

สำหรับประเทศไทย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า มีคนไทยราว 260,000 คน ขาดสารอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนา จากการจัดอันดับของ GFSI ประเทศไทยรั้งอันดับที่ 51 จาก 113 ประเทศในด้านความมั่นคงทางอาหาร  

หากเราถอยออกมามองในภาพรวมของทวีปเอเชียจะพบว่า ความหิวโหยยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ที่เรื้อรังสำหรับประชากรในทวีปนี้ จากรายงานชิ้นล่าสุดของ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า ในปี 2022 มีผู้คนคนราว 55 ล้านคนที่กำลังประสบปัญหาขาดความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งมากกว่าก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เสียอีก

เอเชียรั้งอันดับ 1 ความไม่มั่นคงด้านอาหาร

นอกจากนี้ ยังระบุไว้อีกว่า ผู้ประสบภัยความไม่มั่นคงด้านอาหาร (Food Insecurity) ส่วนใหญ่อยู่ที่ทวีปเอเชียใต้ และในจำนวนหลายสิบล้านคนที่กำลังประสบปัญหา ทาง FAO รายงานว่า เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

การศึกษาในครั้งนี้ของ FAO มุ่งเน้นไปที่เรื่องการจัดหาอาหาร (food supply) การบริโภคอาหาร (consumption) ความต้องการพลังงานจากการบริโภคอาหาร (dietary energy) และอีกหนึ่งโฟกัสของการศึกษาครั้งนี้คือ รวบรวมข้อมูลการเกิดขึ้นของความไม่มั่นคงด้านอาหาร (food insecurity) ที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย จนส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาหลายล้านคนอัตคัตขัดสน

แม้จำนวนของผู้ประสบภัยขาดความมั่นคงทางด้านอาหาร แต่ข้อมูลที่ FAO รายงาน พบว่า ในปี 2022 มีจำนวนผู้ประสบความไม่มั่นคงทางด้านอาหารลดลง 8% หากเทียบกับปี 2021 แต่ตัวเลข 8% นี้ ก็ยังสูงกว่า สัดส่วนของผู้ประสบปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารถึง 7.3% หากเทียบกับช่วงก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19

Food Insecurity เกิดจากหลายปัจจัย

สาเหตุ

เหตุผลที่ความไม่มั่นคงด้านอาหารหนักหนาสาหัสมากในทวีปเอเชียเป็นเพราะ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความยากลำบากในการจัดหาอาหาร และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในทุกกระบวนท่า ล้วนมีผลต่อการเข้าถึงอาหารของประชาชนทั้งสิ้น

ข้อมูลจาก FAO ระบุว่า ความไม่คล่องทางการเงิน การเข้าถึงอาหารก็เป็นสาเหตุในการตัดเส้นทางบริโภคอาหารของประชาชนในเอเชียเช่นกัน โดยคิดเป็น 25% ของประชากรทั้งหมด

“ผู้หญิงมากกว่า 1 ใน 5 ในเอเชีย ต้องเผชิญกับสภาวะความไม่มั่นคงด้านอาหาร”

ผู้หญิงขาดแคลนอาหารมากกว่าผู้ชาย

อีกหนึ่งหัวข้อที่รายงานจาก FAO รายงาน แสดงให้เห็นว่าสตรีเพศประสบปัญหาความมั่นคงด้านอาหารอย่างมีนัยสำคัญ แต่ต้องเรียนว่าในทวีปอื่น ๆ สัดส่วนของเพศชายและหญิงจะมีปริมาณไล่เลี่ยกัน แต่ในเอเชียความสามารถในการเข้าถึงอาหารของผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิงถึง 42%

FAO ให้เหตุผลว่า ราคาอาหาร เชื้อเพลิง ปุ๋ย และอาหารสัตว์ที่มีราคาค่างวดสูงขึ้น ในความหมายคือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงสงครามในยูเครน ทำให้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารต้องหยุดชะงักไป และส่งผลกระทบถึงผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งกำลังเกิดอาการ “หิวโหย”

 

 

ที่มา: APNEWS

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related