svasdssvasds

ความเป็นกลางทางคาร์บอน ไทยจะทำได้ไหม แล้วมีแผนที่วางไว้หรือยัง?

ความเป็นกลางทางคาร์บอน ไทยจะทำได้ไหม แล้วมีแผนที่วางไว้หรือยัง?

เปิด Road Map สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทย ก่อนไทยจะบรรลุ Carbon Neutral ในปี 2050 เรามีแผนการดำเนินงานอย่างไร และจะมุ่งเน้นไปที่ด้านใดเป็นพิเศษติดตามได้ที่บทความนี้

SHORT CUT

  • ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก ด้วยจำนวน 372.72 ล้านตัน (ปี 2562)
  • "ภาคพลังงาน" ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 260.78 ล้านตัน หรือคิดเป็น 69.96% ของการปล่อย GHG ในไทย
  • เปิดแนวทางมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) โดยจะโฟกัสไปที่ 4 สาขาหลัก ได้แก่ พลังงาน เกษตร กระบวนการทางอุตสาหกรรม (IPU) และของเสีย

เปิด Road Map สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทย ก่อนไทยจะบรรลุ Carbon Neutral ในปี 2050 เรามีแผนการดำเนินงานอย่างไร และจะมุ่งเน้นไปที่ด้านใดเป็นพิเศษติดตามได้ที่บทความนี้

ปัจจุบัน ปัญหาด้านสภาพอากาศเรียกว่ารุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความผิดปกติในธรรมชาติในชนิดที่ว่าร้ายแรงถึงขั้นเกิดการสูญเสีย อาทิ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หิมะตกผิดฤดู อากาศร้อนจนทำลายสถิติ ดอกไม้บางชนิดบานสะพรั่งก่อนเวลา นี่เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

กล่าวคือ หากทุกประเทศไม่ให้ความร่วมมือกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่โลก วิกฤตโลกเดือดก็จะเดินหน้าทำลายธรรมชาติไปเรื่อย ๆ 

ด้วยเหตุนี้ สปริงจึงพาทุกคนกลับมาย้อนดูประเทศไทย ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราก็เป็นหนึ่งในสาเหตุเหมือนกัน คำถามคือ เราวางแผนฟื้นฟูโลกใบนี้ไว้อย่างไรบ้าง 

ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก ด้วยจำนวน 372.72 ล้านตัน (ปี 2562) ซึ่งประเทศไทยประกาศว่าจะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ให้ได้ 100% ภายในปี 2593 

แต่ก่อนจะไปดูแผนการดำเนินงานมุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนของไทย สปริงชวนดู 5 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด จะได้ให้เห็นภาพมากขึ้นเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับไทย

เปิด 5 อันดับแรก ประเทศปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด

  1. จีน 12,705 ล้านตัน
  2. สหรัฐฯ 6,001 ล้านตัน
  3. อินเดีย 3,395 ล้านตัน
  4. อินโดนีเซีย 1,913 ล้านตัน
  5. รัสเซีย 1,890 ล้านตัน

*ไทย 372.72 ล้านตัน (อยู่อันดับที่ 19 ของโลก)

ความเป็นกลางทางคาร์บอน ไทยจะทำได้ไหม แล้วมีแผนที่วางไว้หรือยัง?

ทั้งนี้ การจัดอันดับดังกล่าวถูกจัดทำโดย NGO ซึ่งอาจพอดูไว้คร่าว ๆ ให้เห็นภาพว่าสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยมากน้อยแค่ไหนเมื่อเทียบในสเกลระดับโลก

สิ่งน่าสนใจลำดับถัดมาคือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก 373.72 ล้านตันที่ไทยปล่อยออกสู่โลกในปี 2562 ก่อเกิดมาจากแหล่งใดบ้าง

สปริงรวบรวมข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 4 ซึ่งจำแนกแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกของไทยเอาไว้ 4 หมวด ดังนี้

พลังงาน 260.78 ล้านตัน (69.96%)

  • การผลิตไฟฟ้า 103.36 ล้านตัน
  • ภาคขนส่ง 76.92 ล้านตัน
  • น้ำมันและก๊าซ 9.97 ล้านตัน

เกษตร 56.77 ล้านตัน (15.23% )

  • การทำนาข้าว 28.71 ล้านตัน
  • การทำปศุสัตว์ 10.77 ล้านตัน

กระบวนการทางอุตสาหกรรม (IPU) 38.3 ล้านตัน (10.28%)

  • อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ 19.39 ล้านตัน
  • อุตสาหกรรมเคมี 13.24 ล้านตัน

ของเสีย 16.88 ล้านตัน (4.53%)

  • ขยะมูลฝอย 8.34 ล้านตัน
  • น้ำเสีย 8.21 ล้านตัน

แต่อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งปัจจัยที่ลืมไม่ได้คือ “ต้นไม้” พร่ำบอกกันมานานแล้วว่าต้นไม้สามารถดูดซับคาร์บอนได้ ซึ่งปี 2562 ต้นไม้ช่วยดูดคาร์บอนกลับไปทั้งสิ้น 91.99 ล้านตัน

กล่าวคือประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ 280.73 ล้านตัน เห็นเลขน้อยลงอย่าเพิ่งดีใจไป เพราะจริง ๆ แล้วประเทศไทยตั้งเป้าเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ซึ่งเหลือเวลาอีกราว ๆ 27 ปี คำถามคือไทยกำหนดแนวทางมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเอาไว้อย่างไร

ภาคพลังงาน

  • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในครัวเรือน
  • การใช้พลังงานทดแทน
  • พลังงานแสงอาทิตย์
  • พลังงานลม
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า
  • เชื้อเพลิงชีวภาพในยานพาหนะ
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม

ภาคขนส่ง

  • การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
  • การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์

กระบวนการทางอุตสาหกรรม (IPU)

  • การใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ด
  • การปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น

ของเสีย

  • การจัดการขยะมูลฝอย
  • การจัดการน้ำเสียในชุมชน
  • การจัดการนำเสียอุตสาหกรรม
  • การนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์

 

ที่มา: TGO

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related