svasdssvasds

EU ชี้ พลังงานลม - พลังงานแสงอาทิตย์ โตกระฉูด

EU ชี้ พลังงานลม - พลังงานแสงอาทิตย์ โตกระฉูด

รายงานใหม่ ชี้ว่า การใช้พลังงานลม - พลังงานแสงอาทิตย์ ในสหภาพยุโรป (EU) โตทำลายสถิติใน 19 ประเทศจากทั้งหมด 27 ประเทศ

รายงานพลังงานฉบับใหม่ของ Energy Think Tank Ember and Climate Think Tank E3G ของโปแลนด์ ระบุว่า นับตั้งแต่สงครามรัสเซีย - ยูเครนปะทุขึ้นเมื่อต้นปีนี้ ส่งผลให้พลังงานไฟฟ้าประมาณหนึ่งในสี่ของทั้งสหภาพยุโรป (European Union: EU) หันมาผลิตจากลมและแสงอาทิตย์มากขึ้น นับเป็นสถิติใหม่ของการใช้พลังงานในยุโรป

การเติบโตของพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยประหยัดค่าน้ำมันให้แก่ EU ได้ถึง 1.1 หมื่นล้านยูโร (4.15 แสนล้านบาท)

โดย 19 ประเทศจากทั้งหมด 27 ประเทศของ EU ได้ทำลายสถิติการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมของตนเอง ซึ่งแต่ก่อนต่างพึ่งพาถ่านหินเป็นหลัก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มสูงขึ้นกว่า 48.5% โดยมีสเปนเป็นผู้นำกลุ่มด้วยการเพิ่มกำลังผลิตกว่า 7.4TWh คิดเป็น 35% และพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดนั้นช่วยเติมเต็มการลดลงอย่างมากจากภัยแล้งถึง 21% ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำทั่ว EU

EU ยังคงอยู่ในวิกฤตด้านพลังงานที่ยาวนานหลายปี เนื่องจากความต้องการใช้ก๊าซที่เพิ่มขึ้นปะทะกับอุปทานที่ลดลงในปี 2021 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวหลังจากการปิดตัวจากโควิด-19

ในปีนี้ การรุกรานยูเครนของปูตินทำให้การพึ่งพาก๊าซของรัสเซียของสหภาพยุโรปชัดเจนยิ่งขึ้น ก่อนความขัดแย้งในปีนี้ ประมาณ 45% ของแหล่งก๊าซที่นำเข้าของกลุ่มมาจากรัสเซีย

กลุ่มนี้ได้วางแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดขึ้นเพื่อจำกัดผลที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสงครามรัสเซีย - ยูเครนกลายเป็นตัวเร่ง คณะกรรมาธิการ EU เสนอแผนในปีนี้เพื่อหยุดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากรัสเซีย "ก่อนปี 2030" และเพิ่มส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียนในส่วนผสมพลังงานโดยรวมเป็น 45%

ในระหว่าง มี.ค. - ก.ย. ที่พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสี่ของพลังงานไฟฟ้าทั้ง EU แต่การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซยังครองสัดส่วนประมาณ 20% ของพลังงานทั้งหมด

วิกฤตด้านพลังงานได้ผลักดันให้บางประเทศคิดทบทวนแผนงานด้านพลังงานนิวเคลียร์ของพวกเขาใหม่ เช่น เยอรมนี ที่คาดว่าจะปิดโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ไม่กี่แห่งสุดท้ายภายในสิ้นปีนี้ ได้เปลี่ยนแผนโดยจะให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ดำเนินการต่อจนถึงกลาง เม.ย. 2023

สงครามไม่ใช่สาเหตุเดียวสำหรับการพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนใหม่ของยุโรป ประเทศต่าง ๆ กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ในเดือนพฤศจิกายนเพื่อติดตามผลความมุ่งมั่นที่ทำในข้อตกลงปารีสปี 2015 (Paris Agreement)

ปัจจุบัน โลกกำลังอยู่ในเส้นทางที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้โลกร้อนลง 7% จากระดับ 2019 ภายในปี 2030

ตามรายงานของ NGO World Resources Institute ที่เผยแพร่ระบุว่า โลกจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 7.6% ในแต่ละปีในทศวรรษนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส นั่นเป็นพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมากกว่าที่จะปรับใช้ในยุโรปและทั่วโลก

related