svasdssvasds

ค่าไฟขึ้น ! ค่าไฟแพงปี66 พาไขข้อข้องใจทำไมค่าไฟแพง ! เกิดจากอะไรบ้าง

ค่าไฟขึ้น ! ค่าไฟแพงปี66 พาไขข้อข้องใจทำไมค่าไฟแพง ! เกิดจากอะไรบ้าง

ค่าไฟขึ้น ! ค่าไฟแพงปี66 ปัญหาที่ประชาชนต้องการให้รัฐแก้ไขเป็นการเร่งด่วน วันนี้จะไขข้อข้องใจทำไมค่าไฟแพง ! มีปัจจัยอะไรบ้างที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถคุมได้ เพื่อประชาชนได้รับรู้ว่าสาเหตุมาจากอะไร

เป็นอีกหนึ่งเป็นปัญหาที่กระทบกับประชาชนอย่างมากในช่วงนี้ นั่นก็คือ ปัญหาหลายบ้านค่าไฟขึ้น หลายคนแชร์บิลค่าไฟลงโลกออนไลน์ พร้อมระบุว่า ค่าไฟแพงปี66  พร้อมอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงว่ามีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง ทำไมค่าไฟถึงแพง ในขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เมื่อเร็วๆนี้ออกมาเปิดเผยว่าโครงสร้างค่าไฟฟ้ามีความซับซ้อน ถ้าลดได้พร้อมทำให้ประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่…ประชาชนยังมีความสงสัยว่าค่าไฟขึ้น ! ค่าไฟแพงปี66 เกิดจากอะไร? วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไขข้อข้องใจทำไมค่าไฟแพง! โดยเพจEnvironman ได้ชำแหละค่าไฟฟ้าว่ามีต้นทุนอะไรบ้าง แหล่งผลิตจากไหน และค่าใช้จ่ายส่วนไหนกันที่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ตามรายละเอียดดังนี้

มาเริ่มกันที่ค่าไฟฟ้าไทยประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? โดยค่าไฟฟ้าที่เราใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ค่าไฟฟ้าฐาน, ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า FT) และภาษีมูลค่าเพิ่ม

-ค่าไฟฟ้าฐาน จะเป็นต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า-ระบบขนส่ง-ระบบจำหน่าย รวมถึงค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายตามนโยบายต่าง ๆ โดยจะคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ควรมีให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชากรไทย

-ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า Ft เป็นค่าใช้จ่ายส่วนที่ผันแปรจากค่าไฟฟ้าฐานหลัก มีการปรับทุก ๆ 4 เดือนและกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งจะคำนวณไปตามต้นทุนค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง, ค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนและต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ในส่วนนี้ความผันแปรจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดพลังงานโลกที่มีความผันผวนขึ้นลงตลอดเวลาและปริมาณไฟฟ้าที่เราจะต้องนำเข้าเพิ่มด้วย เดือนผ่านมาที่ค่าไฟแพงก็เพราะค่า FT ตัวนี้

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยจะคิดในอัตราร้อยละ 7 ของค่าไฟฟ้าฐานและค่า Ft รวมกัน

สำหรับใครที่มีคำถามในใจว่าพลังงานไฟที่เใช้ทุกวันนี้มาจากไหน? คำตอบ คือ

  • เชื้อเพลิงในประเทศ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติเป็นหลักกว่า 57.8% โดยมีแหล่งพลังงานหลักตั้งอยู่ในอ่าวไทย  โดยมีปตท.สผ. คือคนเจ้าของสัมปทานการดูแลในปัจจุบัน และนอกจากนั้นก็เป็นไฟฟ้าจากน้ำมันดิบและจากถ่านหิน ส่วนพลังงานทดแทนในประเทศมีไม่มาก เช่น การใช้พลังงานน้ำจากเขื่อน พลังงานแสงอาทิตย์
  • เชื้อเพลิงนำเข้าจากมาเลเซีย ลาว และมีการนำเข้าก๊าซจากเมียนมาเพิ่มเติม 14% ของก๊าซทั้งหมดในไทย
  •  ก๊าซธรรมชาติเหลว LNG นำเข้าจาก กาตาร์ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย โดยก๊าซ LNG จะมีราคาสูงกว่าชนิดอื่น ๆ เพราะจะต้องแปรสภาพจากสถานะก๊าซเป็นของเหลวเพื่อการขนส่งระยะไกลที่ง่าย

มาถึงคำถามที่ทุกคนอย่างรู้ ทำไมค่าไฟแพง?

คำตอบคือ ! 2 ตัวแปรภายในประเทศหลัก คือ วิกฤตพลังงานก๊าซในอ่าวไทยที่ลดน้อยลงท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้น  และการสำรองไฟฟ้าที่มากเกินความจำเป็น

  • วิกฤตก๊าซในอ่าวไทยที่มีปริมาณน้อยลง จนสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าไทยต้องเปลี่ยนไปพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเหลว LNG มากขึ้น ซึ่งต้นทุนก๊าซในอ่าวไทยปกตินั้นอยู่ที่ 2-3 บาท/หน่วย ในขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลนั้นอยู่ที่ 6 บาท/หน่วย และก๊าซ LNG ก็มีต้นทุนการผลิตถึง 10 บาท/หน่วย ดังนั้น เมื่อสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าต้องปรับเปลี่ยนไปพึ่งก๊าซนำเข้าโดยเฉพาะก๊าซเหลว LNG มากขึ้น ต้นทุนพลังงานไฟฟ้าก็สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ที่มาจากราคาเชื้อเพลิงเหล่านี้ก็ทำให้ค่า FT สูงขึ้น สรุป คือต่อให้ใช้ไฟเท่าเดิม ราคาก็แพงขึ้น เพราะต้นทุนแพงขึ้น
  • ต่อมา คือการสำรองไฟฟ้าที่มากเกินความจำเป็น โดยปกติแล้วการสำรองไฟฟ้าไว้ในระบบจะต้องมีมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 15%  แต่ที่ผ่านมาพบว่า ไทยสำรองไฟฟ้าในระบบถึง 45% ซึ่งการสำรองไฟฟ้าเกินความจำเป็น ทำให้รัฐต้องไปหาซื้อไฟฟ้าจากเอกชนมาสำรองไว้เพื่อให้พร้อมใช้ แม้ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ไฟฟ้าก็จะต้องจ่ายเงินอยู่ดี ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ถูกเพิ่มเข้ามาในค่าไฟฟ้า
related