svasdssvasds

2 พ.ค.วันทูน่าโลก รู้หรือไม่ ! ปี65 ไทยจับปลาทูน่าได้ 48,926 ตัน ลดลง4 %

2 พ.ค.วันทูน่าโลก รู้หรือไม่ ! ปี65 ไทยจับปลาทูน่าได้ 48,926 ตัน ลดลง4 %

2 พ.ค.วันทูน่าโลก จะพามาส่องดูว่าไทยจับทูน่าปีละเท่าไหร่ และส่งออกไปไหน พร้อมความสำคัญของปลาทูน่ากับท้องทะเลไทย โดยปี65 ไทยจับทูน่า 48,926 ตัน ลดลง4 % ส่งออกทะลุ 85,000 ล้านบาท ตลาดสำคัญคือ อเมริกา

ปลาทูน่า คือหนึ่งในนักล่าตัวเอกในท้องทะเล ซึ่งจะคอยควบคุมประชากรเหยื่อสายพันธุ์อื่นๆ อย่างเช่นปลาซาร์ดีน ปลาตัวเล็กตัวน้อยชนิดอื่น ให้อยู่ในภาวะสมดุลอีกด้วย  แต่กระแสการบริโภคปลาทูน่าก็มีมากขึ้นขึ้นเช่นกันทำให้ประชากรทูน่าลดลงเช่นกัน จึงทำให้หลายประเทศออกกฎ กติกา ในการจับทูน่ามากขึ้น ในขณะที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดวันทูน่าโลกขึ้นทั้งนี้เพื่อยกย่องให้ทูน่าในฐานะสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศในท้องทะเล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

2 พ.ค.วันทูน่าโลก (World Tuna Day) วันนี้จะพาไปส่องเรื่องราว และสถานการณ์ปลาทูน่าในประเทศไทยว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร โดยกรมประมง  ระบุว่า ปลาทูน่า (Tuna) จัดเป็นปลาทะเลน้ำตื้นจนถึงปานกลาง มีจำนวนหลายชนิดนิยมนำมารับประทานสด ทำอาหารกระป๋อง และนำมาประกอบอาหาร แต่การจับโดยส่วนใหญ่จะส่งโรงงานแปรรูปเป็นอาหารกระป๋อง ปลาทูน่าที่นิยมจับ  คือ ทูน่าครีบเหลือง ทูน่าครีบยาว ทูน่าสีน้ำเงิน ทูน่าตาโต  ปลาโอแถบ และปลาโอดำ เป็นต้น

 

 

สำหรับสถานการณ์การจับปลาทูน่าในประเทศไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เผยข้อมูลว่า ไทยมีการจับทูน่าจากการทำประมงพาณิชย์ช่วงมกราคม-พฤศจิกายน 2565 ปริมาณกา 48,926 ตัน ลดลง 4 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2564 แบ่งเป็น ปลาโอดำ 51 % ปลาโอลาย 35 % ปลาโอหลอด 8 % ปลาทูน่าท้องแถบ 5 % และปลาอื่นๆ 0.1 %

ด้านการการส่งออกช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 ไทยส่งออกปลาทูน่า ปริมาณ 488,168 ตัน มูลค่า 37,177 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 9 % และ 29 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นทูน่ากระป๋อง 91% ปลาทูน่าแช่เย็นแช่แข็ง 3 % ปลาทูน่าลอยน์สดแช่เย็นแช่แข็ง 2% และปลาทูน่าแปรรูป 4.52 % โดยสัดส่วนตลาดหลักส่งออกทูน่า คือ อเมริกา 24 % ตะวันออกกลาง 17 % แอฟริกา 17 % ญี่ปุ่น 9 % ออสเตรเลีย 9 % แคนาดา 6% อเมริกาใต้ 3.5 % EU 3 % อาเซียน 3 % และอื่นๆ 9 %

ส่วนการนำเข้าช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 ไทยนำเข้าปริมาณ 661,367 ตัน มูลค่า 41,762 ล้านบาท ปริมาณลดลง 2% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนตลาดนำเข้า 5 อันดับได้แก่ไต้หวัน 18 %, ไมโครนีเชีย 13 % , นาอูรู 10 % , มัลดีฟ 7 %, และวานูอาตู 8 % แบ่งตามชนิดทูน่านำเข้า คือ Skipjack 74 %, Yellowfin 14 %, Albacore 5 %, Bigeye 3 %และอื่นๆ 3% ผลิตภัณฑ์ทูน่าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 98.7 % , ปลาทูน่าแปรรูป1.2 % และ เนื้อปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 0.1%

พามาดูสถานการณ์ปลาทูน่าต่างประเทศ โดยสถานการณ์การทำประมงทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกยังไม่ฟื้นตัวมาก ทำให้อุปทานปลาทูน่าชะลอตัว ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบ Skipjack มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะสั้น และคาดว่าในช่วงไตรมาส 4/2565-ไตรมาส 1/2566 อุปทานปลาทูน่าในส่วนปริมาณวัตถุดิบยังคงเพียงพอต่อการแปรรูป ซึ่งสอดรับกับความต้องการปลาทูน่าที่ลดลง

 

 

related