svasdssvasds

นโยบายสิ่งแวดล้อม 100 วันแรกของพรรคก้าวไกลหลังจัดตั้งรัฐบาล

นโยบายสิ่งแวดล้อม 100 วันแรกของพรรคก้าวไกลหลังจัดตั้งรัฐบาล

สิ่งแวดล้อมไทยจะเป็นอย่างไร? ส่องนโยบายสิ่งแวดล้อมพรรคก้าวไกล 100 วันแรก หลังได้จัดตั้งรัฐบาลในการเลือกตั้ง 2566 มีนโยบายสิ่งแวดล้อมด้านไหนบ้างที่จะถูกแก้ไขทันที

แน่นอนว่า แต่ชาวไทยมีความคาดหวังถึงการเปลี่ยนแปลง หากมีรัฐบาลใหม่เข้ามาทำหน้าที่ และหลังจากปิดหีบการเลือกตั้ง 2566 ผลคะแนนที่ออกมาอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฎเป็นพรรคก้าวไกล ดังนั้น ใน Springnews ในคอลัมน์ Keep The World จึงขอรวบรวมนโยบายสิ่งแวดล้อมที่พรรคก้าวไกลสัญญาว่าจะทำทันทีใน 100 วันแรกหลังจากจัดตั้งรัฐบาล ว่ามีอะไรบ้าง

ในเหล่านโยบายทั้งหมด 100 วันแรก มีทั้งสิ้น 15 นโยบาย แต่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 นโยบาย นั่นคือ ค่าไฟแฟร์ ถูกและเป็นธรรมสำหรับประชาชน กับ หลังคาสร้างรายได้ เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานทั้งหมด

นโยบายสิ่งแวดล้อม 100 วันแรกของพรรคก้าวไกลหลังจัดตั้งรัฐบาล นโยบาย “ค่าไฟแฟร์” ถูกและเป็นธรรมสำหรับประชาชน

พรรคก้าวไกลมองว่า ปัญหาที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาพลังงานสูง เป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา มีการอนุมัติสัมปทานโรงไฟฟ้าให้กับทุนใหญ่พลังงานเป็นจำนวนมาก สุดท้ายกลายเป็นประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่าความต้องการใช้ไปแล้วถึง 60%

สิ้นปีที่ผ่านมาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ของประเทศไทยมี 13 โรง ไม่ได้เดินเครื่องเลยแม้แต่วันเดียว 7 โรง แต่กลายเป็นว่าประชาชนยังต้องจ่ายเงินค่าบริการให้กับกลุ่มทุนพลังงานที่ไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเลยเหล่านี้ เพราะรัฐบาลไปทำสัญญาประกันกำไรให้กับกลุ่มทุนพลังงาน สุดท้าย ประชาชนจึงต้องแบกภาระค่าความพร้อมจ่าย หรือค่ามีโรงไฟฟ้าเกินความต้องการนั่นเอง

นโยบายสิ่งแวดล้อม 100 วันแรกของพรรคก้าวไกลหลังจัดตั้งรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวไกลมีข้อเสนอ

แนวทางแก้ไขปัญหานี้ของพรรคก้าวไกล คือการลดค่าไฟให้กับประชาชนได้อย่างน้อย 70 สตางค์/หน่วย (เฉลี่ยบ้านละ 150 บาท) โดยปรับนโยบายเพื่อให้ความสำคัญกับประชาชนก่อนกลุ่มทุน (เช่น การเปลี่ยนนโยบายก๊าซธรรมชาติให้โรงแยกก๊าซร่วมหารต้นทุนก๊าซใน Energy Pool ด้วย และให้ก๊าซจากอ่าวไทยขายให้โรงไฟฟ้าก่อนโรงงานอุตสาหกรรม หรือขายก๊าซให้โรงงานอุตสาหกรรมในราคา LNG เพื่อให้ก๊าซจากอ่าวไทยราคาถูกกว่าป้อนโรงไฟฟ้าได้มากขึ้น)

เจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับสัมปทานทุนใหญ่พลังงานใหม่ เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่อง

นโยบาย “หลังคาสร้างรายได้” เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ประกันราคาซื้อพลังงานสะอาดสำหรับครัวเรือน

ปัจจุบัน หลายๆ ประเทศตั้งเป้าและเอาจริงเอาจังกับการเดินหน้ามุ่งสู่สังคมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero Emission แต่การตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรัฐบาลไทยในปี 2030 ไว้ที่ 333 ล้านตัน CO2 ในปี 2030 เท่ากับว่า จริงๆ แล้วการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงเพียง 10% เมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยในปี 2018 (373 ล้านตัน CO2 ในปี 2018) เท่านั้น

พรรคก้าวไกลจึงเสนอให้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายกว่านั้น โดยตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 ที่ 300 ล้านตัน CO2 หรือเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 19.5% เมื่อเทียบกับการปล่อยในปี 2018 แทนที่จะเป็น 10% อย่างที่รัฐบาลไทยเสนอ

นโยบายสิ่งแวดล้อม 100 วันแรกของพรรคก้าวไกลหลังจัดตั้งรัฐบาล การตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 73 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ จะมาจากการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก ด้วยการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินให้เร็วขึ้น ตามมาด้วยการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและขนส่งสาธารณะให้เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และการจัดการของเสีย ตามลำดับ

โดยการดำเนินการทั้งหมดจะต้องยึดหลักการที่จะให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวอย่างกว้างขวางที่สุด และร่วมได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านของระบบพลังงานนี้อย่างเป็นรูปธรรม หรือที่เรียกว่า Just Energy Transition การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานที่เป็นธรรม

แนวทางการแก้ไข

พรรรคก้าวไกลเสนอว่า จะปลดล็อกให้ประชาชนทุกบ้านติดแผงโซลาร์ ด้วยระบบ net metering (หักลบหน่วยขาย/ซื้อ) เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า และเปิดโอกาสให้ขายไฟฟ้าที่ผลิตเกินใช้ กลับคืนให้รัฐในราคาตลาด และไฟฟ้าส่วนเกินจากโซลาร์เซลล์และพลังงานหมุนเวียนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย ก็จะมีราคาสูงกว่าตลาด และประกันราคารับซื้อไฟฟ้าขั้นต่ำ หากยังไม่มีตลาดที่ 2.2 บาท/หน่วย

ที่มาข้อมูล

พรรคก้าวไกล

related