svasdssvasds

กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนขยะเปียกเป็นเงิน ทำได้อย่างไร ?

กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนขยะเปียกเป็นเงิน ทำได้อย่างไร ?

กระทรวงมหาดไทย จัดทำ “ถังขยะเปียกลดโลกร้อน” ซึ่งองค์การสหประชาชาติรับรองว่าช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ โดยคัดแยกขยะเปียกในครัวเรือน แปลงให้กลายเป็นทุนกลับคืนสู่หมู่บ้านและชุมชนในรูปแบบคาร์บอนเครดิตราคาตันละ 260 บาท มีธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้นำการรับซื้อ

โดย“ถังขยะเปียกลดโลกร้อน ปัจจุบันนำร่องใน 4 จังหวัด คือ ลำพูน สมุทรสงคราม เลย และอำนาจเจริญ ในอนาคตวางแผนจะขยายการดำเนินการอีก 22 จังหวัด รวมเป็น 26 จังหวัด ซึ่งจะทำให้มีปริมาณคาร์บอนเครดิตที่จัดเก็บเทียบเท่าได้มากกว่า 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ สอดคล้องกับนโยบายเศรษกิจ BCG ของไทย และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน เริ่มต้นจากการขับเคลื่อนงานของอปท. ซึ่งพบว่าที่ จ.ลำพูน มีการคัดแยกขยะในทุกกิจกรรมของชีวิต เช่น การจัดงานบุญและประเพณีต่าง ๆ จะไม่มีอาหารตั้งโต๊ะ แต่เป็นบุฟเฟ่ต์เป็นหม้อ ใครจะทานเท่าไหร่ก็ไปเติมตัก ภายหลังงานจะมีการคัดแยกเศษอาหารเปียกซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงพาหะนำโรคหลายชนิด ต่อมาโครงการฯ ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย คือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

กระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนขยะเปียกเป็นเงิน ทำได้อย่างไร ?

โดยมีภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามาช่วยรับรองระเบียบวิธีการวิจัย (Methodology) ในการบริหารจัดการขยะของถังขยะเปียกลดโลกร้อน และส่งให้ อบก. รับรองคิดเป็นค่าคาร์บอนเครดิตร่วมกับหน่วยงานภายนอก

related