svasdssvasds

"กุ้งเต้นปั้นท่อ" ชนิดใหม่ของโลก! ค้นพบที่ อ. อัมพวา โดยนักวิจัยจาก ม.เกษตร

"กุ้งเต้นปั้นท่อ" ชนิดใหม่ของโลก! ค้นพบที่ อ. อัมพวา โดยนักวิจัยจาก ม.เกษตร

"กุ้งเต้นปั้นท่อ" ชนิดใหม่ของโลก! ฝีมือการค้นพบของทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการรายงานการค้นพบที่อ่าวไทยและแม่น้ำ พบ ขาที่ 3 และ 4 มีคุณสมับติยึดเกาะผิวน้ำ ช่วยทำให้น้ำบริเวณนั้นสะอาดได้

เพจเฟซบุ๊ก Kasetsart University ได้เผยแพร่เพื่อแจ้งว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ค้นพบ “กุ้งเต้นปั้นท่อ” ชนิดใหม่ของโลก ซึ่งคาดว่าเป็นรายงานครั้งแรกที่พบในแม่น้ำและอ่าวไทย

การค้นพบ “กุ้งเต้นปั้นท่อ” ในครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ลงในวารสาร ‘Zoosystematics and Evolution’ เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2566 ที่ผ่านมา นำทีมโดย ผศ.ดร. กรอร วงษ์กำแหง นางสาวชนิกานต์ เกตุนวม และ ดร.ทศพล แซ่ตั้ง กีฏพิชญกุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ Assoc. Prof. Dr. Azman Abdul Rahim จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย (Universiti Kebangsaan Malaysia)

กุ้งเต้นปั้นท่อชนิดใหม่ของโลก Cr. Kasetsart University

กุ้งเต้นปั้นท่อ” ถูกค้นพบที่บริเวณแม่น้ำแม่กลอง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เหตุผลที่ทำให้การค้นพบครั้งนี้น่าตื่นตาตื่นใจก็เพราะ ปกติแล้ว กุ้งเต้นปั้นท่อชนิดอื่น ๆ จะพบได้ตามบริเวณชายฝั่งในเขตร้อนและบริเวณเขตอบอุ่นทั่วโลก

ส่วน “กุ้งเต้นปั้นท่อ" ชนิดใหม่ของโลกนี้ ถือเป็นรายงานแรก ที่ถูกพบในแม่น้ำและอ่าวไทย จึงถูกตั้งชื่อภาษาอังกฤษว่า “Cerapus rivulus” โดย ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน ซึ่งมีความหมายบ่งบอกถึงการค้นพบกุ้งเต้นปั้นท่อในแม่น้ำนั่นเอง

ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุกรมวิธาน Cr. Kasetsart University

ทั้งนี้ แม่น้ำแม่กลองคือแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย ที่ไหลลงสู่อ่าวไทยโดยมีปลายทางคือจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศที่ดีต่อสรรพสัตว์

หากเราย้อนกลับไปดูในช่วงปีที่ผ่านมา ที่อำเภออัมพวามีการค้นพบกุ้งเต้นชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด และเมื่อสำรวจไปเรื่อย ๆ ก็พบว่ากุ้งเต้นปั้นท่อนั้นสร้างท่อติดไว้กับเครื่องมือวิจัยที่ถูกนำไปติดไว้บริเวณท่าน้ำหน้าโรงเรียนดรุณานุเคราะห์

ผศ.ดร. กรอร วงษ์กำแหง Cr. Kasetsart University

นางสาวชนิกานต์ เกตุนวม Cr. Kasetsart University

ดร.ทศพล แซ่ตั้ง กีฏพิชญกุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Cr. Kasetsart University

ทีมงานวิจัยจากม.เกษตร จึงได้ทดลองเลี้ยงและเก็บข้อมูลการสร้างท่อของกุ้งชนิดนี้ การสืบพันธุ์ และการกินอาหาร สิ่งที่พบคือ กุ้นเต้นปั่นใยตะกอนแขวนลอยในมวลน้ำกินเป็นอาหาร แถมยังช่วยให้น้ำในพื้นที่บริเวณนั้นสะอาดขึ้นด้วย

Assoc. Prof. Dr. Azman Abdul Rahim  จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติมาเลเซีย Cr. Kasetsart University

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ขาเดินคู่ที่ 3 และ 4 มีคุณสมบัติที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตอยู่บนผิวน้ำคือ จะมีความเหนียวและยึดเกาะน้ำได้ดี

หากใครสนใจอ่านรายละเอียดของการค้นพบครั้งนี้เพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ Zoosystematics and Evolution

 

 

ที่มา: Kasetsart University

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related