svasdssvasds

สีจากแบคทีเรียทนต่ออากาศสุดขั้ว คุณสมบัติผลิตออกซิเจนและดักจับคาร์บอน

สีจากแบคทีเรียทนต่ออากาศสุดขั้ว คุณสมบัติผลิตออกซิเจนและดักจับคาร์บอน

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Surrey ได้คิดค้นสีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งมีส่วนประกอบที่ช่วยสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนประกอบนั้นคือแบคทีเรียที่พบในทะเลทรายซึ่งมีความทนต่อสภาพอากาศที่เลวร้าย

แบคทีเรียที่พบในทะลทราย มีชื่อว่า Chroococcidiopsis cubana ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อผลิตออกซิเจนในขณะเดียวกันก็ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ แบคทีเรียสายพันธุ์นี้มักพบในทะเลทรายและต้องการน้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อความอยู่รอด จัดอยู่ในประเภท Extremophile จึงสามารถอยู่รอดได้ในสภาพอากาศสุดขั้ว

แบคทีเรีย Chroococcidiopsis cubana เครดิต : University of Surrey นักวิจัยให้ชื่อสีนี้ว่า ‘Green Living Paint’ ซึ่งประกอบด้วยแบคทีเรียที่พบในทะเลทราย สามารถผลิตออกซิเจนและสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ โดยสีนี้เป็น 'การเคลือบทางชีวภาพ  (Biocoatings)' สามารถใช้ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น สถานีอวกาศ ได้

ดร. ซูซี่ ฮิงลีย์-วิลสัน อาจารย์อาวุโสด้านแบคทีเรียวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ กล่าวว่า "การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ บวกกับความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น เราต้องการวัสดุที่เป็นนวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน ซึ่งสารเคลือบชีวภาพที่ทนทานต่อกลไกและพร้อมใช้งาน หรือ 'Living paints' สามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ช่วยลดการใช้น้ำในกระบวนการปฏิกรณ์ชีวภาพที่ใช้น้ำโดยทั่วไป"

นักวิจัยได้ตรึงแบคทีเรียในสารเคลือบชีวภาพที่มีกลไกแข็งแรงซึ่งทำจากอนุภาคโพลีเมอร์ในน้ำ โดยต้องทำให้แห้งสนิทก่อนที่จะนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ นักวิจัยสังเกตเห็นว่าแบคทีเรียภายในสารเคลือบชีวภาพผลิตออกซิเจนได้มากถึง 0.4 กรัมต่อกรัมของมวลชีวภาพต่อวัน และดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้