svasdssvasds

"ธุรกิจก่อสร้าง" ถูกครหาหนึ่งในต้นตอก่อ ฝุ่น PM 2.5 จริงหรือ ?

"ธุรกิจก่อสร้าง" ถูกครหาหนึ่งในต้นตอก่อ ฝุ่น PM 2.5 จริงหรือ ?

ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาโลกแตกที่ไทยยังแก้ไม่ตก และวนเวียนมาเป็นประจำทุกปี ต้นตอปัญหาก็มาจากหลายสาเหตุ แต่…มองในมุมของธุรกิจ สังคมมักจับตาไปที่ธุรกิจก่อสร้าง

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยหลักๆมาจากการเผา ต้น และใบพืชการเกษตรในที่โล่ง เช่น ต้นข้าวโพด อ้อย มลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ฝุ่นละอองจากงานก่อสร้าง และฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 สะสมเพิ่มมากขึ้น โดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่ควบคุมได้ในกิจกรรมของมนุษย์ มี

•การก่อสร้างอาคาร

•การเผาในที่โล่ง  เผาเศษวัสดุการเกษตร เผาขยะ

•การจราจร

•การเผาไหม้เชื้อเพลิงอุตสาหกรรม

•การสูบบุหรี่

•การใช้เตาปิ้งย่างที่ทำให้เกิดควัน

•สถานประกอบการต่าง ๆ

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้มีนักวิชาการออกมาพูดเรื่องฝุ่น PM 2.5 โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมาแนะนำวิธีการแก้ปัญหา คือ ต้องหยุดการเผาเป็นอันดับแรก จากนั้นลดมลพิษจากรถยนต์และโรงงาน และอาจจะต้องชะลอการก่อสร้างออกไปก่อน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากฝุ่น

ธุรกิจก่อสร้าง ถูกครหาหนึ่งในต้นตอก่อ ฝุ่น PM 2.5

 

ส่วน ดร.ภาณุ ตรัยเวช ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ แนะนำว่า กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมมลพิษ โดยเฉพาะเรื่องการก่อสร้างควรนำปัจจัยเรื่องฤดูกาล และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้สามารถควบคุมมลพิษได้

อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเบื้องต้น หากมองในแง่มุมของภาคธุรกิจที่มีโอกาสทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 เห็นทีจะเป็นธุรกิจก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมก่อสร้าง จึงทำให้ผู้ประกอบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมก่อสร้างต้องออกมาหามาตรการช่วยป้องกันฝุ่นฝุ่น PM 2.5 วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาดูตัวอย่างอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคาร ที่เดินหน้าช่วยกันลดฝุ่น PM 2.5 โดยกลุ่มบริษัท แซง-โกแบ็ง ประเทศไทย จำกัด (Saint-Gobain Thailand Group) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุรวมถึงโซลูชั่นในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคาร

โดยที่กลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็ง มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจซึ่งนอกเหนือจากการมุ่งมั่นพัฒนา Solution แล้ว ยังคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ซึ่งการมุ่งเน้นในเรื่อง Sustainability ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่สำคัญของกลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็งมาโดยตลอด โดยการทำให้โลกเป็นบ้านที่น่าอยู่ยิ่งขึ้นกว่าเดิมตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มบริษัทที่ว่า “Making the world a better home” ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุ กระบวนการผลิต ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) และการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

โดยได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงเวลาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกฏบัตรด้านสิ่งแวดล้อม EHS โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนสู่องค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593 ดังนั้นกลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็ง จึงได้ส่งเสริมบทบาทในการป้องกัน และบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน นักลงทุน ผู้กำหนดนโยบาย ลูกค้า ซัพพลายเออร์ องค์กรภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ที่เปิดแผนรับมือฝุ่น PM 2.5 โดยแผนต่างๆ สามารถสรุปได้ ดังนี้

•สร้างพื้นที่สีเขียวภายในที่อยู่อาศัย (Passive Design)

•นวัตกรรมวัสดุดักจับและฟอกอากาศ (AIR ION)

•นวัตกรรมการฟอกอากาศ และระบบแรงดันบวก(Positive Air Pressure)

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังอยู่กับคนไทยทุกปี ที่คอยบั่นทอนสุขภาพของเราไปเรื่อยๆ ดังนั้นต้องนำปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายต้องเร่งแก้ไข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related