svasdssvasds

บะหมี่หยกชวา ทำจากผักตบชวา เปลี่ยนวัชพืชไร้ค่า ให้มีคุณค่าทางอาหารสูง

บะหมี่หยกชวา ทำจากผักตบชวา เปลี่ยนวัชพืชไร้ค่า ให้มีคุณค่าทางอาหารสูง

ชวนรู้จัก บะหมี่หยกชวา ของดีจากการแปรรูปผักตบชวา รู้หรือไม่ ผักตบชวาคือพืชต่างถิ่น รุกรานน่านน้ำทั่วโลก เข้ามาไทยได้อย่างไร? ผักตบชวามีประวัติความเป็นมาอย่างไร?

ประวัติผักตบชวา

ผักตบชวา พืชลอยน้ำที่ใครหลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี และมองว่ามันคือพืชไร้ค่าเกลื่อนน่านน้ำไทย แท้จริงแล้วเป็นพืชต่างถิ่น (Invasive species) มีต้นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาใต้ โดยเฉพาะบราซิล จัดได้ว่าเป็นพืชรุกรานน่านน้ำไทย เพราะผักตบชวามีความสามารถเติบโตและขยายพันธุ์เร็วมาก ทนทานต่อสภาพแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ โดยใน 1 เดือน ผักตบชวา 1 ต้น สามารถขยายพันธุ์ได้มากถึง 1,000 ต้น และมีอายุขัยได้มากถึง 15 ปี

ผักตบชวา Cr.  Invasive.org ข้อมูลที่เรียบเรียงโดย ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กำแพงแสน เล่าว่า ครั้งหนึ่ง ผักชวาถูกนำมาจากบราซิล เพื่อไปจัดแสดงในนิทรรศการฝ้าย (Cotton State Exposition) โดยนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น ณ เมืองนิวออร์ลีน รัฐหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2427 ซึ่งนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นได้แจกมันให้กับแขกที่มาในงานด้วยคนละต้น หลังจากนั้น 11 ปีแม่น้ำเซ็นต์จอห์น ในรัฐฟลอริดา ห่างจากนิวออร์ลีนไป 600 ไมล์ มีแพผักตบชวายาว 160 กิโลเมตร จึงมีการกำจัดผักตบชวากันยกใหญ่

ข้อเสียผักตบชวา

ข้อเสียของผักตบชวาคือ มันอาจเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ อุปสรรคต่อการเจริญพันธุ์ของปลาท้องถิ่น การเกษตร เช่น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ศัตรูพืช สัตว์พาหะนำโรค และสัตว์มีพิษ การชลประทาน เช่น ลดอัตราการไหลของน้ำได้ เป็นต้น

ข้อเสียผักตบชวา

ผักตบชวาเข้ามาประเทศไทยได้อย่างไร?

ในปีพ.ศ. 2444 ประเทศไทยมีการนำเข้าผักตบชวามาจากอินโดนีเซีย เพื่อมาปลูกในวังสระประทุม เพราะดอกสวยงามดี ใช้ประดับสระน้ำได้ แต่ภายหลังวังสระประทุมเกิดน้ำท่วม ผักตบชวาจึงหลุดลอยออกไปสู่ลำคลองภายนอก

คนไทยไอเดียดี นำผักตบชวาไปแปรรูปสร้างรายได้

เห็นใช่ไหมว่า การกระจายพันธุ์อย่างรวดเร็วของมันส่งผลต่อระบบนิเวศแค่ไหน ในเมื่อแก้ไขยาก คนไทยก็ไอเดียดี จับมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์ซะเลย ช่วยคนว่างงานให้มีรายได้ ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยนำผักตบชวาไปแปรรูปหลากหลาย เช่น ปุ๋ย สานถักทอเป็นตะกร้า กระเป๋า ไปจนถึงเสื้อผ้าและล่าสุด มีคนนำผักตบชวาไปแปรรูปเป็นเส้นบะหมี่ ที่เรียกว่า “บะหมี่หยกชวา

บะหมี่ผักตบชวา "บะหมี่หยกชวา" ผลงานกศน.อยุธยาฯ

รู้จัก บะหมี่หยกชวา ทำจากผักตบชวาไร้ค่า

กศน.ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน แปรรูปผักตบชวาให้กลายมาเป็นบะหมี่หยกชวา ทานได้ ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยไม่มีสารเคมีตกค้าง นอกจากอร่อยแล้วยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษในร่าง ช่วยขับลม และระบายความร้อนในร่างกายได้ดี

บะหมี่ยกชวา ทานได้ เส้นนุ่ม อร่อย

บะหมี่หยกชวา กินได้จริงใช่ไหม?

ทานได้จริง เพราะแม้มันจะมีอยู่ทั่วแหล่งน้ำไทยและดูไร้ค่า แต่จริง ๆ แล้ว ผักตบชวามีเส้นใยอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามิน A, C และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นต้น

บะหมี่หยกชวา ทำจากผักตบชวา

หากสนใจอยากทำเป็นบ้าง ทำยังไงได้บ้าง?

ที่จริง ทางกศน.ตำบลหนองน้ำใส มีคอร์สสอนเรียนทำบะหมี่หยกชวาด้วยนะ และก็มีผลผลิตอื่น ๆ อีก เช่น ไข่เค็มพอกใบเตย, กระถางตอซังข้าว, น้ำพริกชวาเสวย และยาหม่องขี้ผึ้งสมุนไพร หากใครอยากศึกษาดูงานก็สามารถติดต่อไปได้ที่เพจเฟซบุ๊ก กศน.ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เลย

ที่มาข้อม

กศน.ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาผักตบชวา

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related