svasdssvasds

พบซากโลมาอิรวดีแม่น้ำบางปะกง ตายเพราะติดเครื่องมือประมง

พบซากโลมาอิรวดีแม่น้ำบางปะกง ตายเพราะติดเครื่องมือประมง

ข่าวน่าเศร้ามาอีกแล้วพบซากโลมาอิรวดีแม่น้ำบางปะกงลอยตาย ผลการชันสูตรพบว่าสาเหตุเกิดจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ

SHORT CUT

  • โลมาอิรวดีวัยรุ่น เพศผู้ ลอยตาย 1 ตัว ในแม่น้ำบางปะกง ช่วงใกล้สะพานเทพหัสดิน 
  • ผิวหนังภายนอกของโลมาพบรอยกดกากบาทลึกถึงใต้ผิวหนังทั้งสองข้างของลำตัว
  • สรุปสาเหตุการตายเกิดจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ

ข่าวน่าเศร้ามาอีกแล้วพบซากโลมาอิรวดีแม่น้ำบางปะกงลอยตาย ผลการชันสูตรพบว่าสาเหตุเกิดจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ

ซากโลมาอิรวดีแม่น้ำบางปะกงที่ลอยตาย เจ้าหน้าที่ชันสูตรพบว่าเกิดจากการติดเครื่องมือประมงของชาวบ้าน

เครดิต : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

สาเหตุการตายของโลมาอิรวดี เกิดจากติดเครื่องมือประมง

จากรายงานผลการชันสูตรซากโลมาอิรวดีแม่น้ำบางปะกง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน (ศวทบ.) เผยว่า โลมาอิรวดี (Irrawaddy Dolphin : Orcaella brevirostris) วัยรุ่น เพศผู้ ความยาว 159 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม สภาพซากเริ่มเน่า ผิวหนังส่วนปลายรยางค์ลอกหลุด ผิวหนังภายนอกพบรอยกดกากบาทลึกถึงใต้ผิวหนังทั้งสองข้างของลำตัว ขนาดตา 3 นิ้ว ในช่องปากพบเงี่ยงปลากดทะเลตำบริเวณกรามบนด้านซ้าย จำนวน 2 เงี่ยง มีความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ในเกณฑ์ดี กล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวช่วงอกคอและแก้มช้ำคั่งเลือดโดยเฉพาะด้านขวา 

เครดิต : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เนื้อเยื่อปอดด้านขวาช้ำคั่งเลือด พบปลากดทะเล ปลากุเลา ปลาแป้นเหลืองทอง จำนวน มากกว่า 12 ตัว ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ กล้ามเนื้อหัวใจโดยเฉพาะห้องล่างขวา ช้ำคั่งเลือด ในผนังกระเพาะปัสสาวะพบมีหลอดเลือดใหม่มาเลี้ยงเล็กน้อย ซึ่งสรุปสาเหตุการตายเกิดจากการติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ

เครดิต : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ข่าวเศร้าเกิดกับโลมาอิรวดีอีกแล้ว

การพบซากโลมาอิรวดี เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากนางสมจิตร พันธุ์สุวรรณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งพบว่าโลมาอิรวดีลอยตาย จำนวน 1 ตัว ในแม่น้ำบางปะกง ช่วงใกล้สะพานเทพหัสดิน ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

โลมาอิรวดี เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม และเป็นสัตว์หายากที่พบเจอได้แค่ในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนของอเมริกาใต้เท่านั้น 

 

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :