svasdssvasds

พะยูนตาย 3 ตัวที่ลิบง และพบหญ้าทะเลเสื่อมโทรม เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ด่วน

พะยูนตาย 3 ตัวที่ลิบง และพบหญ้าทะเลเสื่อมโทรม เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ด่วน

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งราบงานว่าพบพะยูนเกยตื้น 3 ตัวที่เกาะลิบง ขณะนี้กำลังชันสูตรหาสาเหตุการตาย และยังพบปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ได้มีการลงพื้นที่หาสาเหตุและทำการฟื้นฟูต่อไป

SHORT CUT

  • พบพะยูนเกยตื้น 3 ตัวที่เกาะลิบง ยังไม่ทรายสาเหตุการตาย ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังชันสูตร
  • ยังพบปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม มีการวางแผนลงพื้นที่ในวันที่ 10-16 มีนาคม เพื่อหาสาเหตุของการเสื่อมโทรม
  • ปีนี้พะยูนกระจายตัว ไม่ค่อยรวมฝูง ซึ่งเป็นเพราะหญ้าเหลือน้อย พบแม่ลูกพะยูนไม่มาก

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งราบงานว่าพบพะยูนเกยตื้น 3 ตัวที่เกาะลิบง ขณะนี้กำลังชันสูตรหาสาเหตุการตาย และยังพบปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ได้มีการลงพื้นที่หาสาเหตุและทำการฟื้นฟูต่อไป

ตอนนี้ไทยได้สูญเสียพะยูน สัตว์ทะเลหายากไปอีก 3 ตัว โดยพบเกยตื้นที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง และยังมีการพบปัญหาแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ทะเล

เครดิต : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายงานการพบพะยูนเกยตื้นที่เกาะลิบงว่า "พบพะยูนเกยตื้น 3 ตัวที่เกาะลิบงขณะนี้เจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง ได้เดินทางไปรับซากพะยูนที่เกยตื้นบริเวณเกาะลิบง เพื่อนำกลับมาชันสูตรหาสาเหตุการตายเมื่อทราบสาเหตุแล้วจะนำมาแจ้งให้ทราบ"

สำหรับในส่วนของปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรมซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านหญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายาก ด้านสมุทรศาสตร์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่ และมีได้มีการลงพื้นที่เพื่อมาเก็บข้อมูล รวมทั้งได้พูดคุยกับชาวบ้านชาวประมงที่ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา รวมทั้งได้วางแผนลงพื้นที่อีกครั้งในวันที่ 10-16 มีนาคม เพื่อหาสาเหตุของการเสื่อมโทรมของหญ้าทะเล และนำมาออกมาตรการแก้ไขหรือฟื้นฟูหญ้าทะเลโดยเร็วที่สุด

เครดิต : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ด้าน ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับประชากรพะยูนในไทยว่า "ข้อมูลล่าสุด ปี 2566 มีพะยูนอยู่ที่ตรัง 194 ตัว เกาะศรีบอยา 26 ตัว รวมแล้วมีพะยูน 220 ตัวที่อยู่ในพื้นที่มีปัญหา คิดแล้วเป็น 78% ของพะยูนทั้งประเทศ

การสำรวจพะยูนทำอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในตรัง กระบี่ โดยมีเส้นทางการสำรวจที่เกาะลิบง ตรัง จะเห็นว่ามีการบินโดรนถี่เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ใช้เวลา 5-6 วัน การบินสำรวจมีทั้งแบบเครื่องบิน (อาสาสมัคร) ใช้โดรนทั้งปีกนิ่งและปีกหมุน

เครดิต : Facebook Thon Thamrongnawasawat

ข้อมูลคร่าวๆ ที่ได้ อ.ธรณ์ เผยว่า "ปีนี้พะยูนกระจายตัว ไม่ค่อยรวมฝูง ซึ่งเป็นเพราะหญ้าเหลือน้อย พบแม่ลูกพะยูนไม่มาก ซึ่งก็แน่นอนอีกเช่นกัน เพราะหากตัวเองกำลังอด คงไม่อยากมีลูก ธรรมชาติสัตว์ก็เป็นเช่นนั้น เมื่อเกิดเหตุหญ้าลดลง เราจัดทำโครงการเพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากบินทั่วไป เพื่อดูประชากรในพื้นที่รอบๆ รวมถึงเส้นทางที่พะยูนจะย้ายถิ่นไปหากิน"

ตามแผนคือบินต่อเนื่องครึ่งเดือน ดูยาวไปทั้งกระบี่ ตรัง และสตูล หากพะยูนย้ายที่หากิน จะได้ลงไปช่วยกันดูแลพะยูนในบริเวณต่างๆ ที่ยังมีหญ้า อ.ธรณ์ ทิ้งท้ายว่าอยากให้มีการสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับพะยูนและหญ้าทะเล เพื่อบรรเทาปัญหาและยังคงไม่ซึ่งพะยูนหนึ่งในสัตว์ทะเลหายากของไทย

 

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Thon Thamrongnawasawat

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :