นักวิทย์พบลูกนกนางแอ่นวัย 11 สัปดาห์ มีพลาสติกในท้องถึง 778 ชิ้น บนเกาะลอร์ดโฮว์ ห่างจากออสเตรเลียออกไป 595 กิโลเมตร จึงต้องช่วยล้างท้อง
ใครที่ทิ้งขยะไม่ลงถัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติก คุณอาจกำลังเสกมันใส่ท้องนกอยู่ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เดินทางไปยังเกาะลอร์ดโฮว์ (Lord Howe) ห่างจากออสเตรเลียไปราว 370 ไมล์ สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกหลายหมื่นตัว โดยเฉพาะนกนางแอ่น
บนเกาะลอร์ดโฮว์ นกนางแอ่นมักบินกลับมาวางไข่เป็นประจำทุกปี เรียกว่าเป็นบ้านของพวกมันเลยก็ได้ นักวิจัยจึงเลือกมาศึกษาที่นี่ นกนางแอ่นเป็นสัตว์ที่หากินตอนกลางคืน ดังนั้น ทุก ๆ เช้า นักวิทย์ฯ หาลูกนกที่อ่อนแอเกินกว่าจะบินได้ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของพวกมัน
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบคือ มีลูกนกตัวหนึ่งอายุ 11 สัปดาห์ มีเศษขยะพลาสติกในร่างกายมากถึง 778 ชิ้น ทุบสถิติเดิม 403 ชิ้น ฟังไม่ผิด ขยะเหล่านี้อัดแน่นอยู่ในกะเพราะอาหารของนก
พวกเขาจึงใช้หลอดอาหาร ค่อย ๆ สูบน้ำไปล้างกะเพราของพวกมัน เพื่อให้นกอาเขียนพลาสติกออกมา พลาสหลายชนิด เช่น ฝาขวดน้ำ เศษช้อนส้อม เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์อธิบายถึงขั้นว่า ได้ยินเสียงของพลาสติกที่อัดแน่นอยู่ในตัวนก “ฉันได้ยินเสียงฝาขวดและเศษแก้วพลาสติก ขยับเคลื่อนไหวไปมาในท้องของมัน” เลเวอร์ กล่าวทิ้งท้าย
วิกฤตขยะพลาสติกในหมู่นกนั้น ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้ไม่มีใครทราบว่านกไปคาบขยะเหล่านี้มากจากไหน แต่สิ่งที่เรารู้อย่างน้อยที่สุดคือ เราป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ได้ การพบขยะพลาสติกในนกถือเป็นความท้าทาย
อย่างไรก็ตาม นกทะเล ในกรณีนี้คือ นกนางแอ่น ถือว่ามีความสำคัญต่อมหาสมุทรอย่างมาก มูลของนกเป็นสารอาหารเพิ่มการเจริญเติบโตให้กับพืชชายฝั่ง แพลงก์ตอนทะเล รวมถึงปะการัง ชนิดที่ขาดไปไม่ได้เลยทีเดียว
ทว่า นกทะเลเผชิญภัยคุกคามหลายอย่าง เช่น การรุกรานจากมนุษย์ อุตสาหกรรมประมง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงล่าสุด วิกฤตขยะพลาสติก ทำให้ประชากรนกทะเลทั่วโลกลดลง 70% ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา
ที่มา: CNN
ข่าวที่เกี่ยวข้อง