svasdssvasds

ปลดล็อก "เหี้ย" สัตว์เศรษฐกิจใหม่ไทย ที่ไม่ใช่ใครก็เลี้ยงได้

ปลดล็อก "เหี้ย" สัตว์เศรษฐกิจใหม่ไทย ที่ไม่ใช่ใครก็เลี้ยงได้

สรุปให้ กรมอุทยานฯเตรียมปลดล็อก "เหี้ย" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ประชาชนสามารถเพาะพันธุ์ได้ แต่ไม่ใช่ใครก็เลี้ยงได้ นี่คือข้อควรรู้ก่อนเลี้ยงเหี้ย

เกิดอะไรขึ้น? ทำไมเหี้ยกำลังเป็นสัตว์เศรษฐกิจ

เหี้ย หรือ ตัวเงินตัวทอง (Varanus salvator) กำลังจะได้รับการเลื่อนขั้น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ประชาชนสามารถเพาะพันธุ์ได้อย่างเป็นทางการ เนื่องจาก ที่ประชุมกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ครั้งที่ 1 ประจำปี 2568 มีวาระเร่งด่วนในการผลักดัน “เหี้ย” สู่การเป็นสัตว์เศรษฐกิจเต็มตัว เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนกับการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน

เลี้ยงได้จริง?

หากประกาศใช้จริง “เหี้ย” จะสามารถเพาะพันธุ์ได้จริง แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณจะเดินเข้าไปสวนลุมฯ แล้วไปจับมาเลี้ยงเป็นของตัวเองได้เลย ไม่ใช่นะ ตัวเหี้ยที่เพาะเลี้ยงได้นี้ จะต้องเป็นเหี้ยที่อยู่ในสถานีเพาะเลี้ยงที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย ให้แก่ผู้มีใบอนุญาตในการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เท่านั้น และเหี้ยเลี้ยงทุกตัวจะต้องทำการฝังไมโครชิพ เพื่อป้องกันการลักลอบนำเหี้ยจากธรรมชาติมาเลี้ยง

ปลดล็อก \"เหี้ย\" สัตว์เศรษฐกิจใหม่ไทย ที่ไม่ใช่ใครก็เลี้ยงได้

“เหี้ย” ยังคงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

นั่นหมายความว่า ห้ามจับเหี้ยในธรรมชาติมาเลี้ยง จะเลี้ยงต้องขอใบอนุญาตเสียก่อน ส่วนเหี้ยที่ยังเดินไปมาในธรรมชาติ จะยังคงได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายเหมือนเดิม เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ห้ามมิให้ผู้ใดล่า หรือมีไว้ครอบครอง รวมถึงซาก หากฝ่าฝืนมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปลดล็อก \"เหี้ย\" สัตว์เศรษฐกิจใหม่ไทย ที่ไม่ใช่ใครก็เลี้ยงได้

ประโยชน์ของเหี้ยทางเศรษฐกิจ

  • เนื้อ สามารถนำมาบริโภคได้
  • หนัง สามารถนำมาแปรรูปเนเครื่องหนังได้ เช่น กระเป๋า เข็มขัด คล้ายๆ หนังจระเข้
  • เลือด บางที่ใช้ทำเป็นยาหรือเซรุ่มได้

“เหี้ย” ที่สถานีเพาะเลี้ยง มาจากไหน?

ส่วนใหญ่ เหี้ยในสถานีเพาะเลี้ยง มาจากการที่ประชาชนแจ้งความเดือดร้อนเข้ามา ว่าสร้างความรำคาญให้กับพื้นที่ หากปล่อยกลับไปก็สร้างปัญหาเหมือนเดิม

ใครสามารถเพาะพันธุ์เหี้ยได้

  • ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าตามกฎหมาย ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
  • มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินสำหรับการเพาะเลี้ยงหรือได้รับการยินยอมจากเจ้าของที่ดิน
  • ไม่มีประวัติเคยต้องโทษคดีเกี่ยวกับ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

ปลดล็อก \"เหี้ย\" สัตว์เศรษฐกิจใหม่ไทย ที่ไม่ใช่ใครก็เลี้ยงได้  

หากอยากซื้อเหี้ยมาเพาะพันธุ์ขาย แพงไหม?

สำหรับตอนนี้ กรมอุทยานฯ กำหนดราคาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เหี้ยอยู่ที่ตัวละ 500 บาท โดยคำนวนมาจากค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูของกรมฯ และเป็นการเทียบเคียงจากราคางูเหลือมตัวละ 400 บาท บวกค่าฝังไมโครชิพ 100 บาท รวมเป็น 500 บาท หากเลี้ยงไปแล้วมันมีลูกต้องแจ้งฝังไมโครชิพทุกตัว

ซื้อเหี้ยสำหรับเพาะเลี้ยงได้ที่ไหน?

ปัจจุบัน พ่อพันธุ์แม่พันธุ์เหี้ยมีจำหน่ายที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน จ.ราชบุรี และมีเอกชนแจ้งความประสงค์ที่จะซื้อพ่อแม่พันธุ์แล้วประมาณ 30-40 คู่ เพื่อเปิดกิจการเพาะพันธุ์เหี้ย

related