svasdssvasds

อังกฤษออกแบบ "เครื่องประดับสวย" รีไซเคิลเงินจากแผ่นฟิล์ม X-Ray ใช้แล้ว

อังกฤษออกแบบ "เครื่องประดับสวย" รีไซเคิลเงินจากแผ่นฟิล์ม X-Ray ใช้แล้ว

ในแต่ละปี มีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 50 ล้านเมตริกตันทั่วโลก แถมอัตราการรีไซเคิล E-waste นั้นเกิดขึ้นเพียง 20% เท่านั้น ซึ่งจำนวนโลหะที่ถูกทิ้งเปล่าไปเฉย ๆ คิดเป็นเงินราว 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วอีก 80% ที่เหลือไปอยู่ที่ไหน? ขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ถูกรีไซเคิลอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก แต่นี่เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะถูกนำไปเข้ากระบวนการฝังกลบ

แน่นอนว่าการฝังกลบขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นทำให้ดินได้รับมลพิษ แถมปนเปื้อนไปถึงแหล่งน้ำใต้ดินและบริเวณใกล้เคียง ผลกระทบทางตรงต่อมนุษย์ก็มีเช่นกัน มีการรายงานว่า ในบางประเทศ มีการจ้างแรงงานราคาถูกให้ไปแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างผิดสุขอนามัย ไร้เครื่องมือป้องกัน ซึ่งทำให้คนงานเสี่ยงได้รับมลพิษ

ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีปริมาณมากถึง 50 ล้านเมตริกตันทั่วโลก

นั่นหมายความว่าหากเราสามารถเข้าไปจัดการกับอีก 80% ที่เหลือได้ เราจะสามารถสร้างเม็ดเงินจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มหาศาล แถมยังช่วยลดปริมาณ E-waste ลงอีกด้วย ไม่แน่อาจเกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก ที่ถูกคิดค้นเพื่อมาจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถสร้างมูลค่าให้กับ E-waste ไร้ค่างวดพวกนี้

โรงกษาปณ์อังกฤษแยกโลหะออกจากแผ่นฟิล์ม X-Ray อย่างไร?

Royal Mint โรงกษาปณ์จากสหราชอาณาจักร ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเหรียญใช้กันในประเทศ ภูมิใจนำเสนอ “เครื่องประดับสวย” ซึ่งทำจากเงินที่ได้จากแผ่นฟิล์ม X-Ray ใช้แล้ว

โรงกษาปณ์อังกฤษแยกเงินออกจากแผ่นฟิล์ม X-Ray รีไซเคิลเป็นเครื่องประดับสวย Cr. Bett Metals

โดยอาศัยความร่วมมือกับ Bett Metals บริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองเบอร์มิงแฮม ในการช่วยจัดหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างแผ่นเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลทั่วประเทศไม่ใช่แล้ว มาเข้ากระบวนการแยกโลหะ

แผ่นฟิล์มจะเรียงรายเข้าไปในเครื่องสับจนกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นก็จะถูกส่งไปเข้าสู่กระบวนการทางเคมีเพื่อถลุงเงินออกมา ซึ่งทาง Bett เน้นย้ำว่า เงินที่ได้บริสุทธิ์ถึง 99.99%

แผ่นพิล์มจะถูกสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ Cr. Bett Metals

แผ่นฟิล์ม X-Ray ของดี E-waste

เงินที่ถูกแยกออกมาจากแผ่นฟิล์มเอกซเรย์นั้น กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการในอังกฤษ มีการรายงานว่า ช่างอัญมณีในเมือง Angharad ในลอนดอน ใช้เงินที่ได้จากการรีไซเคิลแผ่นฟิล์ม X-Ray มาทำเป็นเครื่องประดับขาย

ต้องบอกว่า วงการขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังบูมมาก ยกตัวอย่างเช่น Excir บริษัทจากแคนาดา ที่ตอนนี้สามารถแยกโลหะออกจาก E-waste ได้ถึง 99% ภายในไม่กี่นาที

แม้ ณ ขณะนี้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ที่บริษัทนี้แยกได้ จะยังเป็นโทรศัพท์ หรือแผนวงจรจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งคาดว่า น่าจะพิจารณาแยกโลหะจากแผ่นฟิล์มเอกซเรย์ในเร็ว ๆ นี้

Royal Mint ร่วมมือกับ Bett Metals แยกเงินออกจาก E-waste Cr. Bett Metals

ในปี 2024 โรงกษาปณ์ Royal Mint มีแผนกำหนดเปิดโรงงาน Precious Metals Recovery แห่งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะช่วยจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ในสหราชอาณาจักรได้ถึง 4,000 เมตริกตันต่อปี

จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ สู่เครื่องประดับสวย

โรงกษาปณ์ Royal Mint แจ้งว่า เงินและทองคำจากได้จากขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะถูกนำไปผลิตเป็นเครื่องประดับในคอลเลคชั่น 886

เครื่องประดับคอลเลคชั่น 886 Cr. Bett Metals

Dominic Jones ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ที่ดูแลโปรเจกต์นี้ กล่าวว่า การทำเช่นนี้เป็นการมิควรถูกโฟกัสแค่การรีไซเคิล แต่ตนอยากให้มองไปถึงเรื่อง เหล็กที่ถูกขุดขึ้นมาจากต้นทางด้วย พร้อมเสริมว่า กว่า 7% ของทองคำทั้งหมดในโลกถูกเก็บไว้ในที่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ หรือแล็ปท็อป

ทั้งนี้ ในอนาคตอันใกล้ โรงกษาปณ์ Royal Mint ตั้งเป้าไว้ว่า จะเดินหน้าผลิตสินค้าในเครือด้วยวัสดุ ซึ่งได้มาจากแหล่งที่ยั่งยืนเท่านั้น เพื่อเป็นการตอกย้ำว่า ผลงานของโรงกษาปณ์ในฐานะผู้ดูแลเรื่องการผลิตเงินตราในประเทศ ต้องเป็นตัวอย่างของสถาบันที่ให้ความสำคัญกับวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายแก่สิ่งแวดล้อม

 

 

ที่มา: CNN

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related