svasdssvasds

พรพรหม เผย 8 แนวทาง พลิก กทม. สู่เมืองแห่งความยั่งยืน

พรพรหม เผย 8 แนวทาง พลิก กทม. สู่เมืองแห่งความยั่งยืน

พรพรหม พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ได้พูดในหัวข้อ "*SUS-TREND เทรนด์ความยั่งยืนกู้โลก" ภายในงาน Next Step Thailand 2024 อนาคตประเทศไทยก้าวต่อไปของนวัตกรรมและความยั่งยืน

SHORT CUT

  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมกทม.โฟกัสกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ขยะ คุณภาพอากาศ-เสียง และพื้นที่สีเขียวของเมือง
  • แท้จริงแล้ว กทม.มีการดำเนินการด้านอื่นด้วย แต่อาจจะไม่ได้ทำในนามของสำนักงานสิ่งแวดล้อม พรพรหม เผยว่า อีกกว่า 17 สำนักภายใต้กทม.ก็มีแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน 
  • สรุปได้ 8 ด้าน ได้แก่ ขยะ ขนส่ง พื้นที่สีเขียว พลังงาน อากาศ น้ำ อาหาร บริหารจัดการและเศรฐกิจสีเขียว

พรพรหม พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ได้พูดในหัวข้อ "*SUS-TREND เทรนด์ความยั่งยืนกู้โลก" ภายในงาน Next Step Thailand 2024 อนาคตประเทศไทยก้าวต่อไปของนวัตกรรมและความยั่งยืน

พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ได้พูดถึงแนวทางการพัฒนากทม. ภายในงาน Next Step Thailand 2024 จัดโดยสปริงนิวส์ ไว้ได้น่าสนใจ

พรพรหม เผยว่า สำนักสิ่งแวดล้อมกทม. มีงานที่โฟกัสอยู่ 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ขยะ คุณภาพอากาศ เสียง และพื้นที่สีเขียว แต่สิ่งที่หลายคนไม่ค่อยรู้คือ สำนักงานในกทม.อีก 17 สำนักก็มีแผนงานเรื่องความยั่งยืนเช่นกัน

พรพรหม เผย 8 แนวทาง พลิก กทม. สู่เมืองแห่งความยั่งยืน

ยกตัวอย่างเช่น สำนักจราจรและขนส่ง เพราะมลพิษหรือก๊าซคาร์บอนก็ล้วนมาจากภาคการขนส่ง หรือสำนักระบายน้ำ ที่ดูแลจัดการเรื่องการจัดตั้งโรงบำบัดน้ำเสีย สำนักงานเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากทม.เช่นเดียวกัน

ซึ่งหลังจากที่มีการรวบรวมแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดของหน่วยงานกทม.แล้ว สามารถสรุปออกมาได้ 8 ด้าน ดังนี้  

กทม.กำหนดเป้าการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเอาไว้ 8 ด้าน

ขยะ

  • จัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง พร้อมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • ยกระดับระบบเก็บขยะ เพื่อให้เมืองมีสภาพแวดล้อมที่ดี

ขนส่ง

  • First / Last Mile
  • Green & Sharing

พื้นที่สีเขียว

  • เพิ่มพื้นที่สีเขียว
  • เพิ่มต้นไม้ พร้อมเผยแพร่วิธีการดูแลต้นไม้ใหญ่

พลังงาน

  • ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการอนุรักษ์พลังงาน (EE)
  • พลังงานทดแทน (RE)

อากาศ

  • มีการเฝ้าระวัง ติดตั้งระบบแจ้งเตือน
  • ลดต้นตอ / ที่มาของฝุ่น PM 2.5
  • ป้องกันสุขภาพ

น้ำ

  • จัดการน้ำเสียในชุมชน
  • วางแผนรับมือน้ำท่วมและภัยแล้ง
  • ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้

อาหาร

  • ควบคุมมาตรฐานอาหารและการจัดการอาหารเหลือ (Food Waste)
  • ดำเนินการเกษตรแบบปลอดภัย

บริหารจัดการและเศรฐกิจสีเขียว

  • การศึกษาและมีการส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  • เศรษฐกิจและงานสีเขียว
  • จัดซื้อจัดจ้างงานสีเขียว

จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้ว แผนงานด้านสิ่งแวดล้อมที่กทม.ดำเนินการอยู่มีอยู่หลายหมวด แถมหลาย ๆ โปรเจกต์กทม.ก็ได้ไปร่วมจับมือกับทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันปัญหาที่อยากจะแก้ไข

ซึ่ง พรพรหม วิกิตเศรษฐ์ กล่าวถึงการร่วมมือของกทม.กับทุกภาคส่วนไว้ดังนี้

“กทม.จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคเอกชน และชุมชน ทุกฝ่ายล้วนมีความสำคัญ”

พรพรหม เผย 8 แนวทาง พลิก กทม. สู่เมืองแห่งความยั่งยืน

 

related