svasdssvasds

เนื้อจากห้องแล็บ: อาหารแห่งอนาคต อร่อยน้ำลายสอ แถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เนื้อจากห้องแล็บ: อาหารแห่งอนาคต อร่อยน้ำลายสอ แถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เนื้อจากแล็บ: เมนูอาหารแห่งอนาคต ที่ทั้งอร่อย แถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเนื้อจากแล็บ: เมนูอาหารแห่งอนาคต ที่ทั้งอร่อย แถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

รู้หรือไม่ว่า ทั้งโลกมีอัตราการบริโภคเนื้ออยู่ที่ประมาณ 350 ล้านตันต่อปี ปฏิเสธไม่ได้ว่า เนื้อน้องวัวนั้นอร่อยจริง ๆ เห็นแค่ภาพก็ชวนน้ำลายสอ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อโกเบ เนื้อวากิว ออสเตรเลียแองกัส หรือไทยวากิว

ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดว่าทำร้ายโลก วัว 1 ตัว ผลิตก๊าซมีเทนมากถึง 70 – 120 กก. ต่อปี

สอดรับกับที่ FAO บอกว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์สร้างก๊าซเรือนกระจกคิดเป็นสัดส่วน 14% ไหนจะมีประเด็นเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำ หรือการถางป่าเพื่อสร้างสถานที่เลี้ยง

ด้วยปัญหาทั้งหมด เทรนด์การผลิต “เนื้อวัวจากแล็บ” (Lab-grown Meat) จึงมาแรง และถูกมองว่าเป็นหมุดหมายสำคัญในแวดวงปศุสัตว์

แต่ติดปัญหาที่ว่าคนจะให้การยอมรับหรือไม่ เพราะ “เนื้อจริง” กับ “เนื้อเสมือนจริง” ก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ มาทำความรู้จัก “เนื้อจากห้องแล็บ” กันหน่อยดีกว่า

เนื้อจากห้องแล็บ (Lab-grown meat) คืออะไร ทำไมถึงเป็นเมนูแห่งอนาคต?

 “เนื้อจากห้องแล็บ” เป็นเนื้อที่ไม่ต้องฆ่าน้องวัวสักตัวเดียว วิธีการคือการไปเฉือนชิ้นเนื้อบางส่วนมา จากนั้นนำเซลล์เนื้อที่ได้ไปเลี้ยงในห้องแล็บ

ก้อนเนื้อจะถูกเลี้ยงด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ท่ามกลางอุณหภูมิและระดับออกซิเจนที่เหมาะสม ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งก้อนเนื้อขยายใหญ่ขึ้น

เนื้อจากแล็บ เมนูแห่งอนาคต Credit ภาพ Mosa Meat

ความสุดยอดคือเราสามารถทำแบบนี้ได้เรื่อยไป หมายความว่าเราเฉือนเนื้อแค่ 1 ครั้ง แล้วซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ ปล่อยเวลาผ่านไป เราก็สามารถผลิตเนื้อจากห้องแล็บมากได้เท่าที่เราต้องการ หรือสามารถทำเป็นอุตสาหกรรมก็ยังได้

ปัจจุบัน เนื้อจากห้องแล็บมีอยู่ 2 แบบ อย่างแรกคือเป็นลักษณะเนื้อบด อย่างที่สองคือเนื้อสเต็ก อย่างแรกอาจจะยังไม่ว้าวเท่าไร แต่สำหรับเนื้อสเต็กนั้นมีเรื่องชวนว้าวอยู่ เพราะปัจจุบันวิทยาการสามารถกำหนดลายหินอ่อน (Marble) ได้แล้ว

สเต็กเนื้อจากห้องแล็บ Credit ภาพ Aleph Farms

หลายคนกังวลว่าเนื้อจากห้องแล็บปลอดภัยหรือไม่?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ได้ตรวจสอบผลจากงานวิจัย และเหลี่ยมทางวิทยาศาสตร์ และออกมากล่าวถึงประเด็นนี้ว่า เนื้อจากแล็บปลอดภัยต่อสุขภาพ และสามารถรับประทานได้

แต่อย่างไรก็ดี โภชนาการของเนื้อขึ้นอยู่กับบริษัทนั้น ๆ ว่าพวกเขามีวิธีการอย่างไร แถมทดสอบออกมาแล้วเนื้อชิ้นนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท UPSIDE Foods ที่บอกว่าเนื้อไก่ห้องแล็บของพวกเขามีแคลอรี่และไขมันต่ำกว่าเนื้อไก่แบบปกติ

ประเทศใดบ้างที่อนุญาติให้มีการซื้อขายเนื้อจากแล็บ?

แม้จะบอกว่าเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง แต่พญาอินทรีย์อย่างสหรัฐฯ ก็ยังไม่สามารถซื้อขายหรือบริโภคเนื้อห้องแล็บได้

สิงคโปร์คือประเทศแรกที่อนุมัติให้มีการซื้อขายเนื้อห้องแล็บได้อย่างเสรีแล้ว ความน่าตลกเนื้อแล็บส่วนใหญ่ที่ขายในประเทศสิงห์โตพ่นน้ำก็เป็นแล็บที่อยู่ในสหรัฐฯ

ไก่ นักเก็ตจากห้องแล็บ Credit ภาพ Eat Just

ชาวมุสลิมทานได้ไหม?

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า เนื้อสัตว์จากแล็บสามารถติดฉลากโคเชอร์และฮาลาลได้ ในเงื่อนไขที่ว่าต้องดำรงอยู่บนหลักศาสนา นั่นหมายความว่า ชาวมุสลิมสามารถรับประทานได้นั่นเอง

เบอร์เกอร์เนื้อจากห้องแล็บ กับราคาที่ซื้อบ้านได้ทั้งหลัง

ในปี 2013 บริษัท Mosa Meat ได้เปิดตัวเบอร์เกอร์ที่ทำจากเนื้อห้องแล็บ โดยสนนราคาอยู่ที่ 325,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 11 ล้านบาท!

แฮมเบอร์เกอร์เนื้อราคา 11 ล้านบาท Credit ภาพ Mosa Meat

สนใจอยากลองกัดสักคำไหม จะได้รู้ว่ารสชาติอูมามิสู้เนื้อจริงได้หรือเปล่า สปริงชี้เป้าให้เลยว่าสิงคโปร์คือแหล่งสำคัญ หากอยากลองทานดูสักครั้ง ก็สามารถบินไปลองลิ้มรสดูกันได้ แถมราคาก็ไม่ได้แพงมากเท่าครั้งเปิดตัวแล้ว

 

ที่มา: newsweek, verywellhealth, longevity.technology, Mosa Meat

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related