svasdssvasds

Keep The World ชวนส่อง นโยบายด้าน ESG ของ AIS-แสนสิริ

Keep The World ชวนส่อง นโยบายด้าน ESG ของ AIS-แสนสิริ

การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน หรือ sustainable business ถือเป็นเมกะเทรนด์อย่างหนึ่งของโลก ณ เวลานี้ ภาคธุรกิจไทยเองอยู่ในจุดกำลังเปลี่ยนผ่าน และโอบรับหลัก ESG มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ

คอลัมน์ Keep The World พาไปดูการบรรยายของ “สมัชชา พรหมศิริ” Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ “สายชล ทรัพย์มากอุดม” หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS ในงานสัมมนา “Sustainability Forum 2025: Synergizing for Driving Business” จัดโดยกรุงเทพธุรกิจ

ไปดูกันหน่อยว่าในฐานะผู้นำด้าน Telco อย่าง AIS และแสนสิริ ผู้คร่ำหวอดในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ มากว่า 40 ปี สองธุรกิจยักษ์ใหญ่มีนโยบายด้าน ESG อย่างไร

 

สร้างแรงจูงใจให้คน นำพาธุรกิจสู่ความสำเร็จ

คุณสมัชชา เปิดเผยว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholder ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน คู่ค้า นักลงทุน ชุมชน หรือแม้กระทั่งหน่วยงานภายนอก อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ และภาครัฐ มีส่วนสำคัญในการช่วยผลักนโยบายด้านความยั่งยืนในองค์กร”

สมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

 

โดยคุณสมัชชา ได้แบ่ง stakeholder ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มที่มีนัยต่อ operation ขององค์กร อาทิ พนักงาน คู่ค้า (international stakeholder)  2. กลุ่มที่ไม่ได้มีความสำคัญกับ operation ขององค์กรโดยตรง อาทิ นักลงทุน ชุมชน หรือผู้ถือหุ้น (external stakeholder)

 

เริ่มที่คนใน

คุณสมัชชา เปิดเผยว่า “การแยกขยะเป็นเรื่องเบสิคที่องค์กรพยายามทำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม แสนสิริก็ทำเช่นกัน บริษัทเรามีอยู่ทั้งหมด 5 ตึก วัดกันไปเลยว่าภายใน 1 ปี ตึกไหนที่เก็บ และคัดแยกขยะได้ดีที่สุด ด้วันหยุดฟรี 2 วัน”

“มองในแง่นี้ บริษัทไม่ได้เสียอะไรเลย เราแค่สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ให้พวกเขาสนุกกับการเก็บขยะ คอยเตือนเพื่อน ๆ ว่าอย่าลืมเก็บขยะนะ นี่คือวิธีง่าย ๆ ที่จะให้พนักงานมีส่วนร่วม แถมสนุกสนานด้วย”

 

คู่ค้าก็ต้องพาไปด้วยกัน

คุณสมัชชา เปิดเผยว่า อันที่จริงแล้ว แสนสิริสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บ้านของแสนสิริก็จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่แสนสิริเชื่อในคำว่า “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ในที่นี้หมายถึงกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดกลาง

“เราต้องพา SME ที่เป็นคู่ค้าของเราก้าวไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน แต่เราจะชักจูงพวกเขาอย่างไรให้นำพาตัวเองไปสู่เรื่องความยั่งยืน ที่จะสอดคล้องกับการทำธุรกิจของแสนสิริ”

“การให้ incentive คือเรื่องสำคัญที่จะชักจูงพวกเขามาได้ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิแรงงานในไซต์ก่อสร้าง การเข้าถึงอนามัย ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณภาพชีวิตพวกเขาดีขึ้น แรงงานเหล่านี้ก็อยากจะอยู่กับแสนสิริ อยากจะก่อสร้างให้แสนสิริ”

รู้หรือไม่ว่า แสนสิริมีการแจกจ่ายพืชผลให้กับแรงงานได้นำไปปลูกในพื้นที่ไซต์ก่อสร้าง ให้แรงงานได้สามารถปลูกผัก และประกอบอาหารรับประทานด้วยตัวเอง

คุณสมัชชา กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า “ถ้าเราไม่พา SME หรือธุรกิจรายย่อยไปด้วย มันก็มีความเสี่ยงต่อธุรกิจของไทยด้วยเหมือนกัน ธุรกิจรายมีความสำคัญต่อ GDP ของประเทศไทย มีการจ้างงานกว่า 70% ของการจ้างงานในไทย และมี GDP ประมาณ 30% ของประเทศ นี่คือสิ่งที่แสนสิริอยากจะแชร์”

 

บริหารจัดการพลังงานด้วย AI-เทคฯ

การดำเนินธุรกิจของ AIS คือ บริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุล ทั้งในแง่การดำเนินธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การใช้พลังงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปล่อยน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี

โดยสามารถสรุปออกมาได้ 3 แกนดังนี้

  • Driven Digital Economy - ผสานโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเข้ามาขับเคลื่อนธุรกิจ
  • Promote Digital Inclusion - สร้างโอกาสการเข้าถึงดิจิทัลให้กับผู้ใช้งานไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และลดความเหลื่อมล้ำให้ได้มากที่สุด
  • Act on Climate ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศสร้างสังคมสีเขียวด้วยการขยายสถานีฐานเสาสัญญาณเอไอเอสด้วยพลังงานสีเขียว และพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

“สายชล ทรัพย์มากอุดม” หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS

นอกจากนี้ คุณสายชล ยังเปิดเผยอีกว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยบริหารจัดการ การใช้พลังงานกับการทำงานเครือข่าย เป็นเรื่องสำคัญและถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลก ซึ่งในส่วนของเอไอเอส

related