svasdssvasds

4 นวัตกรรมสู้ฝุ่นพิษ PM 2.5

4 นวัตกรรมสู้ฝุ่นพิษ PM 2.5

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

หายไปได้แค่พักเดียว ตอนนี้ฝุ่นพิษ PM2.5 มันกลับมาอีกแล้ว หากยังมีหน้ากากเก็บไว้ ก็อย่าลืมคว้ามาสวมป้องกันตอนเดินทางออกจากบ้าน หรือนำเครื่องฟอกอากาศกลับมาเปิดใช้งานกันอีกครั้ง แต่วันนี้เราขอแนะนำนวัตกรรมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับฝุ่นพิษ ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

Smog-Free Tower: หอคอยปลอดควัน

4 นวัตกรรมสู้ฝุ่นพิษ PM 2.5

เริ่มต้นกันที่ Smog-Free Tower หอคอยปลอดควัน สูงราว 7 เมตร ตั้งอยู่ตามสวนสาธารณะในเมืองใหญ่หลายแห่ง เช่น กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน หลักการทำงานของหอคอยเป็นแบบเดียวกับเครื่องฟอกอากาศ จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องฟอกอากาศกลางแจ้ง ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่สามารถกรองฝุ่นพิษขนาดตั้งแต่ PM 10 ในระยะ 20 เมตรรอบหอคอย เจ้าของผลงานคือ Daan Roosegaard ศิลปินชาวดัชต์ ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะร่วมกับเทคโนโลยีรักษ์โลก

Air purifier billboard: ป้ายบิลบอร์ดฟอกอากาศ

4 นวัตกรรมสู้ฝุ่นพิษ PM 2.5

ป้ายบิลบอร์ดขนาดยักษ์ริมถนนกลางเมืองลิม่า ประเทศเปรู มีเครื่องฟอกอากาศเครื่องใหญ่ติดอยู่ ซึ่งสามารถฟอกอากาศได้มากถึง 3.5 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือเทียบเท่ากับต้นไม้จำนวนกว่า 1,200 ต้น เหมาะกับถนนในเมืองใหญ่และไซต์งานก่อสร้างที่ผลิตฝุ่นพิษขึ้นมาจำนวนมาก ไอเดียนี้ยังแพร่ขายไปในหลายประเทศ รวมถึงมีป้ายโฆษณารถยนต์ในลอสแอนเจลิส สหรัฐฯ ก็ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไว้ด้วย

Robotic tree: หุ่นยนต์ต้นไม้ฟอกอากาศ

4 นวัตกรรมสู้ฝุ่นพิษ PM 2.5

Robotic tree หุ่นยนต์ต้นไม้ฟอกอากาศ ที่แม้หน้าตาจะดูไม่เหมือนต้นไม้สักเท่าไหร่ แต่ว่ามีพลานุภาพเทียบเท่ากับต้นไม้จริง 368 ต้นเลยทีเดียว สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เป็นไอเดียของสตาร์ทอัพในเม็กซิโก ที่ใช้นวัตกรรมจุลสาหร่าย (microalgae) เป็นตัวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และควันพิษให้กลายเป็นออกซิเจน ซึ่งเครื่องนี้ใช้พื้นที่กว้าง 3 เมตร สูง 4.2 เมตรเท่านั้น ปัจจุบันรัฐบาลเม็กซิโก ปานามา และโคลอมเบียได้ติดตั้งใช้จริงในเมืองใหญ่แล้ว

The Vertical Forest: ป่าไม้แนวตั้ง

4 นวัตกรรมสู้ฝุ่นพิษ PM 2.5

วิธีนี้จะเรียกว่าเป็นการใช้ธรรมชาติต่อสู้กับมลพิษทางอากาศก็ว่าได้ โดยแห่งแรกของเอเชียที่ริเริ่มโครงการนี้คือที่เมืองหนานจิง โดยปลูกต้นไม้ทั้งหมดราว 4,000 ต้น ให้ปกคลุมอาคารห้องพัก ห้างสรรพสินค้าและโรงเรียน ซึ่งจะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 25 ตันต่อปี