svasdssvasds

3 ช่องทางออนไลน์ใช้ระบบ AI เยียวยาเสริมพลังผู้เสียหายคดีล่วงละเมิดทางเพศ

3 ช่องทางออนไลน์ใช้ระบบ AI เยียวยาเสริมพลังผู้เสียหายคดีล่วงละเมิดทางเพศ

เทคโนโลยีและการรวมพลังของโซเชียลมีเดีย เครื่องมือที่จะช่วยป้องกันและเยียวยา ผู้เสียหายที่เกิดขึ้นจากคดีล่วงละเมิดทางเพศไม่ให้เกิดขึ้นกับคนต่อไปในสังคม

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า อาจมีการข่มขืนมากถึง 30,000 ครั้งต่อปี (ข้อมูลปี 2019) โดยมีเหตุการณ์การข่มขืนที่ไม่ได้รายงานสูงถึงร้อยละ 87 การให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้เสียหายจึงเป็นอีกเครื่องมือช่วยเหลือ รับฟัง และที่พึ่งทางใจ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีจึงมีส่วนเข้ามาเติมเต็มช่องว่างหลังจากเกิดเหตุที่สร้างความเสียหายทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดย 3 ช่องทางที่ยกมาเป็นวิธีที่เข้าถึงได้ง่ายและได้รับการแนะนำจากเว็บไซต์ analytics insight ของอินเดียหนึ่งประเทศที่มียอดคดีข่มขืนเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากข้อมูลของสำนักงานประวัติอาชญากรรมแห่งชาติของอินเดีย มีรายงานคดีข่มขืนผู้หญิงมากกว่า 32,000 คดีในปี 2019 หรือเกิดขึ้นประมาณทุก ๆ 17 นาที 

Safecity

จุดเสี่ยงที่มีรายงานจากผู้เสียหายที่นำเข้าข้อมูลในระบบ Safecity

สร้างขึ้นในปี 2012 เป็นแพลตฟอร์ม ที่สร้างขึ้นหลังจากเหตุการณ์ข่มขืนและสังหารเหยื่อครั้งสะเทือนสังคมที่่รู้จักในชื่อ Nirbhaya Gang ที่อินเดีย เป็นโครงการที่มีจุดประสงค์เพื่อ สร้างความเท่าเทียมให้การเข้าถึงพื้นที่สาธารณะโดยเฉพาะกับผู้หญิงที่เป็นผู้ถูกกระทำทางเพศ ด้วยการใช้ข้อมูลจากคนในสังคมและเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนให้เกิดเมืองที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

รวบรวมและวิเคราะห์รายงานความรุนแรงทางเพศที่ไม่เปิดเผยชื่อของผู้ให้ข้อมูล จะทำการเก็บข้อมูลเชิงลึก แจ้งตำแหน่งจุดเกิดเหตุร้ายและวิธีการเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัยจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นซึ่งข้อมูลนี้จะถูกเปิดผยสาธารณะและส่งไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งพลเมืองใน ชุมชน หน่วนงานราชการ ตำรวจ นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบาย ให้เกิดการตระหนักและความรับผิดชอบด้วยกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทั้งยังเป็นทางเลือกเพื่อช่วยตัดสินใจในการเลือกสถานที่ที่จะไป วิธีการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ หรือควรเดินทางคนเดียวหรือไม่ รวมถึงเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ในสถานที่ต่างๆ ที่จะไปเยือน

ปัจจุบันได้รวบรวมรายงานกว่า 40,000 ครั้ง ในอินเดีย เคนยา เนปาล และรอบโลก 

มายซิส MySis Bot @mysisbot

แจ้งเหตุความรุนแรงภายในครอบครัวและอาชญากรรมทางเพศ https://mysis-report.cfapp.org/?fbclid=IwAR2nVTXZ1Znnmu9QkU4sdVR2QNV787D9VdJZ9oNJt1RmRnNjrTr_-O3HHSQ

แชทบอทโดยฝีมือคนไทยให้คำปรึกษาผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวผ่านช่องทาง Facebook Messenger
ซึ่งจะมีข้อมูลตามความต้องการของแต่ละบุคคล เปรียบเหมือนเป็นเพื่อนที่สามารถให้คำปรึกษาได้ 24 ชั่วโมง 

ประเภทของเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่รับแจ้งผ่านมายซิส

  • ความรุนแรงในครอบครัว
  • การทำร้ายร่างกายกันระหว่างคู่รัก/อดีตคู่รัก
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่ว่าจากเพศใด
  • เด็กถูกทำร้ายทางด้านร่างกาย หรือจิตใจ
  • เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • เด็กถูกทอดทิ้ง
  • เด็กขอทาน เร่ร่อน
  • ภาพลามกอนาจารเด็ก

รายละเอียดบุคคลของผู้แจ้ง จะถูกเก็บเป็นความลับ ทั้งนี้เมื่อได้รับแจ้งเหตุแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง (ยกเว้นเหตุด่วนควรโทร 191)

Callisto

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by Callisto (@callisto)


เป็นระบบสนับสนุนในเขตมหาวิทยาลัย ที่ให้ผู้เสียหายในกรณีล่วงละเมิดทางเพศจับคู่กับผู้ที่โดนกระทำผิดจากคนเดียวกัน โดยเมื่อข้อมูลรายละเอียดของผู้ล่วงละเมิดทางเพศที่กระทำความผิดที่เหมือนกันถูกนำเข้าในระบบซ้ำ ระบบ AI จะตรวจจับค้นหาผู้เสียดายให้จับคู่มาเจอกัน เทคโนโลยีนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวิทยาลัยต่างๆ 
ทั่วในสหรัฐอเมริกา และองค์กรในซิลิคอนวัลเลย์อีกด้วย 

โดยใช้แนวคิดที่ให้ช่วยเสริมพลังซึ่งกันและกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ได้ปลดล็อกและไม่โดดเดี่ยวจากการโดนทำร้ายร่างกายและจิตใจ จนเกิดความอับอาย ทั้งยังเยียวยาและช่วยให้คำปรึกษาทางด้านคดีความเพื่อคืนความยุติธรรมให้กับผู้เสียหาย

ที่มา

analyticsinsight

related