svasdssvasds

10 ประเด็นควรรู้ รีวิวหนัง Oppenheimer ออปเพนไฮม์เมอร์ รีวิวความสุดยอดโนแลน

10 ประเด็นควรรู้ รีวิวหนัง Oppenheimer ออปเพนไฮม์เมอร์ รีวิวความสุดยอดโนแลน

10 ประเด็นที่ควรรู้ จากหนัง “Oppenheimer” ออปเพนไฮม์เมอร์ ชีวิตอันซับซ้อน - ความเข้มข้นการแข่งขันฟิสิกส์ - บิดาแห่งระเบิดปรมาณู - และสงครามโลกครั้งที่ 2

ภาพยนตร์ Oppenheimer  ออปเพนไฮม์เมอร์ ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องล่าสุดจากฝีมือการกำกับของคริสโตเฟอร์ โนแลน , ถือถึงแม้ว่าจะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่สหรัฐฯ จะชนกับภาพยนต์ “บาร์บี้” จากผู้กำกับเกรตา เกอร์วิก ในวันเดียวกัน และทำให้ผู้คนตบเท้าเดินขบวนแห่ตีตั๋วไปชมภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก และภาพยนตร์ต่างขั้ว ต่างสีทั้งสองเรื่องนี้ นำไปสู่วันหยุดสุดสัปดาห์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการฮอลลีวูด  จนได้เกิดปรากฏการณ์ 'Barbenheimer'  ซึ่งนั่นคือการเอา 2 คำมารวมกัน ได้แก่ Oppenheimer และ Barbie 

สำหรับ ปรากฏการณ์ Barbenheimer หรือ "บาร์เบนไฮม์เมอร์"  จนถึงตอนนี้ถือว่า ประสบความสำเร็จเรื่องรายได้ด้วยกันทั้งคู่ โดย บาร์บี้ Barbie ร้อนแรงไม่เกรงใจใครครองอันดับ 1 หนังทำเงินสหรัฐฯ ด้วยรายได้ 93 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่ 2 ที่เข้าฉาย หลังจากเปิดตัวด้วยรายได้ 162 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์แรกในตลาดหนังแถบอเมริกาเหนือ ซึ่งถึงแม้ยอดจำหน่ายตั๋ว บาร์บี้ จะร่วงลงราว 43% ในสัปดาห์ที่ 2 แต่ด้วยกระแสรายได้เฉลี่ยวันละ 20 ล้านดอลลาร์ในตลาดหนังอเมริกาและแคนาดา คาดกันว่าหนังบาร์บี้เตรียมขึ้นแท่นภาพยนตร์ทำรายได้สูงสุดในฤดูร้อนปีนี้แล้ว

10 ประเด็นที่ควรรู้ จากหนัง  “Oppenheimer”  ออปเพนไฮม์เมอร์ ชีวิตอันซับซ้อน - การแข่งขันฟิสิกส์ - บิดาแห่งระเบิดปรมาณู - และสงครามโลกครั้งที่ 2

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ ออปเพนไฮเมอร์ Oppenheimer  จากฝีมือผู้กำกับคริสโตเฟอร์ โนแลน ยังครองอันดับ 2 ในสัปดาห์นี้ ด้วยรายได้ 46.2 ล้านดอลลาร์ โดยยอดขายตั๋วหนังลดลงเพียง 44% ขณะที่รายได้รวมทั่วโลกทะลุ 400 ล้านดอลลาร์ไปแบบสบายๆ และถือเป็นอีกหนึ่งภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จเรื่องรายได้ของโนแลน 

โดย หนัง Oppenheimer  ออปเพนไฮม์เมอร์  รายได้รวมทั่วโลกนั้นอยู่ที่ 395.4 ล้านเหรียญ  รายได้ดังกล่าวแซงหน้าผลงานหลายเรื่องของโนแลนก่อนหน้านี้อย่างรวดเร็ว จากการฉายเพียง 10 วันเท่านั้น รวมถึงภาพยนตร์ระดับบล็อกบัสเตอร์อย่าง ‘Batman Begins'(2005) และ ‘Tenet’ (2020) มาอยู่ที่อันดับที่ 6 ของภาพยนตร์ทำเงินทั่วโลกสูงสุดของโนแลน ณ ปัจจุบันี้
.
อย่างไรก็ตาม จากความสำเร็จของ “Oppenheimer”  ออปเพนไฮม์เมอร์ , SPRiNG จึงอยากชวนเจาะลึกเกร็ดความรู้ เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ รวมถึง ประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ และ การันตีตรงนี้เลยว่า ใครที่ยังไม่ได้ดูในโรงภาพยนตร์ ควรรับชม เพราะงานอาร์ท งานศิลปะของโนแลนนั้น สร้างมาเพื่อประสาทสัมผัสและการรับอรรถรสต่างๆในโรงฯ และนั่นจะทำให้เข้าใจแก่นสารของหนัง “Oppenheimer”  ออปเพนไฮม์เมอร์ ได้ดีขึ้น

10 ประเด็นควรรู้ จากหนัง Oppenheimer ออปเพนไฮม์เมอร์ รีวิวความสุดยอดโนแลน

1. ภาพยนตร์  Oppenheimer  ออปเพนไฮม์เมอร์ จะเล่าเรื่อง เป็น 3 เหตุการณ์ 3 ไทม์ไลน์ใหญ่ๆ เล่าไปพร้อมๆกัน 1.  เรื่องราวการสอบสวนล่าแม่มดในยุคของ วุฒิสมาชิกโจเซฟ แม็คคาร์ธี (Joseph McCarthy) ที่ เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (แสดงโดย คิลเลียน เมอร์ฟี – Cillian Murphy) ถูกสอบสวนในข้อกล่าวหาที่เข้าไปพัวพันกับพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังก่อตัว 

อีกเหตุการณ์หนึ่งคือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เจ โรเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ต้องรับหน้าที่เป็นตัวหลักในการรวมมันสมองนักวิทยาศาสตร์ รวมนักฟิสิกส์ หรือให้เห็นภาพชัดๆ คือ ทีมอเวนเจอร์แห่งวิทยาศาสตร์ เพื่อคิดค้นระเบิดนิวเคลียร์เพื่อเอาชนะกองทัพนาซี เยอรมันที่กำลังเรืองอำนาจ ภายใต้การควบคุมของ พันเอกเลสลีย์ โกรฟ (แสดงโดย แมตต์ เดมอน – Matt Damon)  โดยชีวิตของออปเพนไฮเมอร์ต้องเกี่ยวพันผู้หญิง 2 คน ได้แก่ คิตตี้ ออปเพนไฮเมอร์  (เอมิลี บลันต์ – Emily Blunt) ภรรยาตามกฎหมายและ จีน แทตล็อก (ฟลอเรนซ์ พิว – Florence Pugh) ชู้สาวที่เขาเจอเธอที่พรรคคอมมิวนิสต์   เส้นเรื่องของชีวิตส่วนตัวของ เจ.โรเบิร์ต ออปเพนไฮม์เมอร์ ก็น่าสนใจมากๆ 

และอีกหนึ่งไทม์ไลน์ นั่นคือการไต่สวน ลูอิส สเตราส์ (แสดงโดย โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ – Robert Downey Jr.) อดีตผู้อำนวยการสถาบันพลังงานปรมาณูที่อยู่ระหว่างการสอบคุณสมบัติเพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีในยุคสมัยของประธานาธิบดี ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) โดยคณะกรรมการสอบสวนกำลังถามถึงความภักดีของออปเพนไฮเมอร์ที่มีต่อประเทศชาติ

2. สำหรับความสัมพันธ์ของตัวละคร อย่าง จีน แทตล็อก และ ออปเพนไฮม์เมอร์นั้น กลายเป็นประเด็นอันร้อนแรงและจุดชนวนความขัดแย้งในอินเดีย  เพราะ ภาพยนตร์เรื่อง "Oppenheimer" กำลังถูกโจมตีจากชาวฮินดูอย่างหนัก และกลายเป็นกระแสร้อนแรงบนโลกออนไลน์ในอินเดีย  โดยเฉพาะชาวฮินดูหลายคนบอกว่า รวมถึงกลุ่ม Save Culture Save India Foundation จะแบน จะบอยคอตต์ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว หลังไม่พอใจที่มีฉากหนึ่งในหนัง นักแสดงนำอย่างคิลเลียน เมอร์ฟี และฟลอเรนซ์ พิวจ์ มีการเปล่งประโยคหนึ่งจากคัมภีร์ภควัทคีตา ซึ่งถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู ก่อนจะเป็นฉากร่วมรักกัน

10 ประเด็นที่ควรรู้ จากหนัง  “Oppenheimer”  ออปเพนไฮม์เมอร์ ชีวิตอันซับซ้อน - การแข่งขันฟิสิกส์ - บิดาแห่งระเบิดปรมาณู - และสงครามโลกครั้งที่ 2

3. อย่างที่ทราบกันดีว่า ออปเพนไฮม์เมอร์ คือ บิดาแห่งอตอมมิก บอมบ์ หรือ บิดาแห่งระเบิดปรมาณู , แต่ในหนังนั้น แม้จะผ่านพ้นช่วงเวลา ทดลองระเบิดอย่างลุ้นระทึกไปแล้ว  แต่ต้องบอกเลยว่า ในส่วนขององก์สุดท้ายของภาพยนตร์  Oppenheimer  ออปเพนไฮม์เมอร์   อัดแน่นด้วยมวลอารมณ์อย่างล้นทะลัก เพราะนอกจากความลุ้นระทึก ของตัวละครต่างๆ ความตื่นตะลึงกับงานภาพของ ฮอยต์ ฟาน โฮยเตอมา (Hoyte Van Hoytema) ผู้กำกับภาพคู่หูผู้รู้ใจของโนแลนแล้ว มันยังผสมผสานความรุ่งเรืองรุ่งโรจน์ ของชีวิตออปเพนไฮเมอร์เข้ากับความสิ้นหวังของมนุษยชาติอีกด้วย

4. สำหรับ ออปเพนไฮเมอร์ ในชีวิตจริง , มีความเป็นอัจฉริยะผู้รู้รอบและเก่งสารพัดไปทุกด้านหรือ “โพลีแมท” (polymath) โดยนอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญฟิสิกส์เชิงทฤษฎีแล้ว เขายังมีความรู้ทางมนุษยศาสตร์และเข้าใจภาษาต่างประเทศถึง 6 ภาษา รวมถึงภาษากรีกและภาษาสันสกฤตด้วย  และ ถ้อยคำจาก “ภควัทคีตา” หนึ่งในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู ก็ถูกใส่เอาไว้ใน เลิฟซีน อันร้อนแรง “บัดนี้เราคือความตาย คือผู้ทำลายล้างโลกทั้งมวล” (Now I am become Death, the destroyer of worlds)

5. อีกหนึ่งคำถามสำคัญคือ  ออปเพนไฮเมอร์ จะมีชีวิตอยู่บนเส้นศีลธรรมต่อไปอย่างไร ในเมื่อเขาคือ บิดาแห่งระเบิดปรมาณู และคร่าชีวิตคนญี่ปุ่นตายนับแสน  ? 

อย่างไรก็ตาม หากมองในมุม ฮินดู ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ออปเพนไฮม์เมอร์ ให้ความสนใจ  ออปเพนไฮเมอร์ เปรียบเทียบเรื่องนี้ (เรื่องการคิดระเบิดอตอมมิก บอมบ์ หรือ ระเบิดปรมาณูทำลายล้าง)  กับการปฏิบัติหน้าที่ หรือ “ธรรมะ” ตามที่พระกฤษณะกล่าวสอนอรชุนในสนามรบ เพื่อให้สามารถหักใจเข้าทำสงครามประหัตประหารญาติของตนเองที่เป็นฝ่ายอธรรม

ออปเพนไฮเมอร์เคยกล่าวไว้ว่า “เพื่อโน้มน้าวใจให้อรชุนลงมือปฏิบัติตามหน้าที่ของตน พระกฤษณะทรงแสดงวิศวรูป หรือร่างแท้จริงระดับจักรวาลของพระเป็นเจ้าที่มีหลายเศียรหลายกร พร้อมกับตรัสว่า ‘บัดนี้เราคือความตาย คือผู้ทำลายล้างโลกทั้งมวล’ ผมว่าเราควรจะมีความคิดที่คล้อยตามแนวทางนี้”

ส่วน คิลเลี่ยน เมอร์ฟี่ นักแสดงนำ ผู้รับบท ออปเพนไฮเมอร์ แสดงความเห็นว่า  “ผมคิดว่าประโยคนี้เป็นเหมือนการปลอบโยนตัวเขา (ออปเพนไฮเมอร์) เพราะเขาเหมือนต้องการสิ่งนี้ และประโยคนี้ช่วยปลอบโยนเขา ตลอดชีวิตของเขา” 

10 ประเด็นควรรู้ จากหนัง Oppenheimer ออปเพนไฮม์เมอร์ รีวิวความสุดยอดโนแลน
6. อย่างไรก็ตาม  หลังการทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2  (ทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิม่า 6 ส.ค. 1945 และ ทิ้งปรมาณูที่นางาซากิ 9 ส.ค. 1945 )  ภรรยาของ ออปเพนไฮเมอร์ได้เปิดเผยต่อเพื่อน ๆ ของเธอทางจดหมายว่า ออปเพนไฮเมอร์สามีของเธอมีภาวะซึมเศร้าและจมดิ่งลงสู่ห้วงของความสำนึกเสียใจอย่างลึกซึ้ง หลังจากได้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในเหตุสลดครั้งประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แม้ภายนอกเขาจะดูสงบนิ่งและมีอารมณ์เป็นปกติก็ตาม

7. เหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณู ใส่ฮิโรชิม่า และ นางาซากิ , ทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 200,000 คน แต่ในทางกลับกัน มันก็ช่วยให้สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงทันทีอย่างที่ออปเพนไฮเมอร์คาดการณ์ไว้ , แล้วแบบนี้ เขาคืออาญชากรผู้ฆ่าคนนับแสน ? หรือว่า เป็นนักฟิสิกส์แห่งสันติภาพที่หยุดสงครามกันแน่ ? 

8 .  รู้หรือไม่ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ เรื่อง ออปเพนไฮเมอร์ , โกดัก (Kodak) ในฐานะผู้ผลิตฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ และ ไอแม็กซ์ (IMAX) เจ้าของอุปกรณ์กล้องถ่ายภาพยนตร์ต้องคิดค้นทั้งฟิล์มและเลนส์ขึ้นใหม่ให้ คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของเขาได้อย่างเต็มที่ เพราะโกดัก ต้องทำฟิล์ม iMAX ขาว-ดำ มาให้โนแลนสร้างหนังเรื่องนี้โดยเฉพาะ   โดย ใครที่ได้ดู หนัง ‘Oppenheimer’ คงสังเกตเห็นการแบ่งยุคสมัยของเรื่องราวและมุมมองการเล่าเรื่องโดยใช้สีภาพ ในฝั่งของออปเพนไฮเมอร์เขาจะใช้ภาพสีโดยเรียกมันว่า ‘Fission’ หรือการแตกตัวของอะตอม ส่วนในฝั่งของสตรอส์ (ตัวละครของ โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ – Robert Downey Junior) จะใช้ภาพขาวดำโดยเรียกเรื่องราวในส่วนนี้ด้วยธีม ‘Fusion’ หรือการหลอมรวมของอะตอม

10 ประเด็นที่ควรรู้ จากหนัง  “Oppenheimer”  ออปเพนไฮม์เมอร์ ชีวิตอันซับซ้อน - การแข่งขันฟิสิกส์ - บิดาแห่งระเบิดปรมาณู - และสงครามโลกครั้งที่ 2

9.  ในช่วง ตุลาคม 1945 หลังการทิ้งระเบิดใส่ญี่ปุ่นไปแค่ 2 เดือน , ออปเพนไฮเมอร์เริ่มส่งข้อความที่อัดแน่นในใจถึงผู้มีอำนาจของประเทศ  และขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าสาธารณชนหลายครั้งว่า เขาไม่เห็นด้วยกับนโยบายความมั่นคงใหม่ (ณ ตอนนั้น) ที่เน้นป้องกันประเทศด้วยการพึ่งพากลยุทธ์สั่งสมอาวุธนิวเคลียร์เพียงอย่างเดียว เขาชี้ว่าระเบิดปรมาณูนั้นไม่ใช่อาวุธสำหรับผู้มุ่งป้องกันตนเอง แต่เป็นอาวุธของผู้รุกรานและผู้ก่อการร้าย ซึ่งสหรัฐฯ ควรจะหาหนทางสร้างกลไกควบคุมระหว่างประเทศ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ไปทั่วโลก

ท่าทีของออปเพนไฮเมอร์ที่เปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ บวกกับการที่เขาเคยมีประวัติเป็นผู้เห็นอกเห็นใจฝ่ายซ้ายและโลกคอมมิวนิสต์ ทำให้อัจฉริยะผู้นี้เริ่มกลายมาเป็น “ศัตรูของชาติ” ในสายตาของเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยุคนั้น นั่นเอง

10. ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม หนัง ออปเพนไฮเมอร์ จากฝีมืออันสุดละเมียดของ คริสโตเฟอร์ โนแลน , ต้องไปดูในโรงภาพยนตร์ จึงจะรับรสชาติ รับอรรถรส  ได้ "เห็นความงามของหนัง" ได้อย่างเต็มหัวใจ ให้สมกับที่มันเป็น ภาพยนตร์แห่งปี 2023 

 
 

related