svasdssvasds

มุ่งมั่นในเป้าหมายเพื่อพลิก "ความล้มเหลว" ให้เป็น "ความสำเร็จ"

มุ่งมั่นในเป้าหมายเพื่อพลิก "ความล้มเหลว" ให้เป็น "ความสำเร็จ"

แม้การมุ่งมั่นกับเป้าหมายจะเป็นเรื่องที่ดีและเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนที่ประสบความสำเร็จ แต่การทำอะไรซ้ำๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป

SHORT CUT

  • แม้การมุ่งมั่นกับเป้าหมายจะเป็นเรื่องที่ดีและเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนที่ประสบความสำเร็จ แต่การทำอะไรซ้ำๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป
  • ดังคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อดังเจ้าของทฤษฎีสัมพันธภาพ “คนบ้าเท่านั้นที่ทำแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่กลับคาดหวังผลลัพธ์ที่ต่างออกไป”  
  • การมุ่งมั่นในเป้าหมายเพื่อพลิกความล้มเหลวให้กลายเป็นความสำเร็จได้ ต้องมีเครื่องมือบางอย่างที่ช่วยให้เราไม่ล้มเหลวในเรื่องเดิมซ้ำๆ

แม้การมุ่งมั่นกับเป้าหมายจะเป็นเรื่องที่ดีและเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนที่ประสบความสำเร็จ แต่การทำอะไรซ้ำๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป

การทำอะไรซ้ำๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป

หลายคนคงเคยได้ยินคำคมภาษาอังกฤษที่ว่า “People don’t fail, they just give up” ความหมายว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครที่ล้มเหลวหรอก พวกเขาแค่หมดใจล้มเลิกกลางทาง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คนเราล้มเลิกกลางทางมีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น จมอยู่กับอดีต คิดว่าความล้มเหลวเป็นสัญญาณของการหันหลังกลับ (อ่าน 16 สาเหตุที่ทำให้เลิกล้มกลางทางได้ในบทความก่อนหน้านี้)

เพราะเหรียญอีกด้านหนึ่งของความล้มเหลวคือเรายังหาวิธีทำเรื่องที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จไม่ได้เท่านั้น ถ้าเราไม่หยุด ไม่ล้มเลิกการทาง สักวันต้องหาวิธีทำเรื่องที่ปรารถนาได้สำเร็จอย่างแน่นอน 

แม้การมุ่งมั่นกับเป้าหมายจะเป็นเรื่องที่ดีและเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนที่ประสบความสำเร็จ แต่การทำอะไรซ้ำๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป เหมือนคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ชื่อดังเจ้าของทฤษฎีสัมพันธภาพ เคยบอกไว้ว่า “คนบ้าเท่านั้นที่ทำแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่กลับคาดหวังผลลัพธ์ที่ต่างออกไป”  

ดังนั้นการมุ่งมั่นในเป้าหมายเพื่อพลิกความล้มเหลวให้กลายเป็นความสำเร็จได้ ต้องมีเครื่องมือบางอย่างที่ช่วยให้เราไม่ล้มเหลวในเรื่องเดิมซ้ำๆ อาทิตย์นี้อยากแนะนำ 3 แนวคิดการบริหารองค์กรมาใช้เป็นแนวทางให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จในชีวิต

  1. Agile Methodology กระบวนการทำงานที่ริเริ่มมาจากการพัฒนา Software ที่ต้องให้ทุกฝ่าย ทุกหน่วยงานร่วมมือกันทำงาน และมีการทดสอบ ปรับเปลี่ยน ไปเรื่อยๆ ตลอดกระบวนการทำงานแทนที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนแล้วมาปรับแก้ตอนสุดท้าย แนวคิดนี้เราสามารถนำมาใช้ทดลองลงมือทำสิ่งต่างๆ ในสเกลที่เล็กเพื่อดูว่าได้ผลหรือไม่ และปรับเปลี่ยนแก้ไขจนลงตัวแล้วค่อยขยายให้ใหญ่ขึ้น วิธีนี้ช่วยให้ความผิดพลาดล้มเหลวที่เกิดขึ้นอยู่ในขอบเขตความเสียหายที่ไม่มากนักและได้เรียนรู้จากการความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
  2. AAR ย่อมาจาก After Action Rereview เป็นกระบวนการทำงานที่มีการประเมินผลการปฎิบัติหลังจากที่ลงมือทำไปแล้ว ว่าเป็นไปตามที่คิดไว้หรือตาม Before Action Review (BAR) หรือไม่ เหมือนเป็นการทดลอง ทดสอบสมมติฐานที่วางไว้ เพื่อเป็นบทเรียนทั้งข้อดีและข้อเสีย แนวคิดนี้ช่วยให้เราได้คาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้น วางแผนรับมือกับความเสี่ยงล่วงหน้า เตรียมแผนสำรองกรณีฉุกเฉิน และเมื่อทดลองทำแล้วก็ได้ประเมินผลอีกครั้งและบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำไปปรับแก้ในการทำงานครั้งถัดไป สามารถอ่านเรื่อง AAR และ BAR เพิ่มเติมได้ที่นี่

3. PDCA ย่อมาจาก Plan, Do, Check และ Act เป็นแนวคิดกระบวนการปรับปรุงการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Productivity Improvement) โดยการวางแผน (Plan) ก่อนลงมือทำ (Do) ตรวจสอบ (Check) หลังจากที่ลงมือทำแล้ว และปรับเปลี่ยนแก้ไขการกระทำ (Act) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งขึ้น และจะทำอย่างนี้ต่อเนื่องกันเป็นวงล้อ PDCA หลักการข้อนี้นำมาใช้ได้การทำงานทุกอย่าง ในขั้นตอน Check สำคัญมากๆ เพราะเป็นการตรวจสอบว่าเรากำลังหลงทาง หรือเดินมาถูกทางหรือไม่ ทำให้ขั้นตอนต่อไป Act ถูกปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนั้นในแนว PDCA ความล้มเหลวจึงเป็นเพียงแค่การเดินหลงทางและเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางในการเรียนรู้ ที่จะช่วยให้เราพัฒนาต่อไป

ครั้งต่อไปหากเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ แล้วล้มเหลว อย่าเพิ่งหยุดหรือเลิกล้มที่จะทำต่อ ลองใช้ 3 แนวคิดการบริหารไม่ว่าจะเป็น Agile Methodology, BAR และ PDCA ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการหรือขั้นตอนของความสำเร็จ เอาใจช่วยทุกคนบนเส้นทางของการค้นหาความสำเร็จ

เพชร ทิพย์สุวรรณ

อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ 

ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

related