svasdssvasds

กฟน.ปลดป้ายรถรางสุดท้ายของไทย

การไฟฟ้านครหลวง ปลดป้ายรถราง ป้ายสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประวัติศาสตร์ของการให้บริการระบบขนส่งมวลชนระบบรางสายแรกแห่งเอเชีย พร้อมนำป้ายรถรางไปจัดแสดงที่ศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์การไฟฟ้านครหลวงในอนาคต

เรืออากาศตรีสำเริง เชี่ยวชูกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. เป็นประธานในพิธีปลดป้ายรถราง ป้ายสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประวัติศาสตร์ของการให้บริการระบบขนส่งมวลชนระบบรางสายแรกแห่งเอเชีย

กฟน.ปลดป้ายรถรางสุดท้ายของไทย

ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟน. เปิดเผยว่า กิจการรถรางในอดีตของประเทศไทย เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2436 ซึ่งถือว่าเป็นรถรางไฟฟ้าแห่งแรกของทวีปเอเชีย ทำให้ประเทศไทยมีรถรางไฟฟ้าใช้ก่อนหน้าประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหลายประเทศ และเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2493 บริษัท การไฟฟ้ากรุงเทพ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้เข้ามาดำเนินกิจการ โดยให้บริการรถรางจำนวน 8 เส้นทาง คือ สายบางซื่อ สายสามเสน สายบางคอแหลม สายหัวลำโพง สายปทุมวัน สายสีลม สายดุสิต และสายร่วมฤดี ต่อมา พ.ศ.2501 กฟน.ได้มาบริหารกิจการต่อ จนกระทั่ง พ.ศ.2504 รัฐบาลมีมติเลิกเดินรถราง เนื่องจากจำนวนรถยนต์มากขึ้น และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและพนักงานรถราง จึงให้ กฟน.พิจารณายกเลิกเดินรถทีละสาย จนกระทั่งยกเลิกรถรางสายสุดท้ายใน พ.ศ. 2511

กฟน.ปลดป้ายรถรางสุดท้ายของไทย

ตลอดระยะเวลา 80 ปี แห่งกิจการการเดินรถรางในประเทศไทย จึงกลายเป็นเพียงอดีตในความทรงจำ และเพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ของ กฟน. และต้นกำเนิดระบบขนส่งมวลชนทางรางแห่งแรกของเอเชีย กฟน.จะ นำป้ายรถรางไปจัดแสดงที่ศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์การไฟฟ้านครหลวง เพื่อเป็นการอนุรักษ์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และเป็นการระลึกถึงประวัติศาสตร์รถรางที่เคยรุ่งเรืองต่อไป

กฟน.ปลดป้ายรถรางสุดท้ายของไทย

 

 

related