svasdssvasds

รายงานพิเศษ ปราบทุจริตฮั้วประมูล

รายงานพิเศษ ปราบทุจริตฮั้วประมูล

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

คดียิงปลัดอบต.ไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี2558 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการตรวจสอบทุจริตฮั้วประมูลการจัดซื้อรถดูดโคลน รถขยะอัดท้ายให้กับ อบต. ทั่วประเทศเกือบ 1,000 แห่ง มูลค่าวกว่า 4,000 ล้านบาท กระทั่งตำรวจพบว่า มีไม่ต่ำกว่า 20 แห่งที่พบการทุจริตฮั้วประมูล ติดตามได้จากรายงาน

รายงานพิเศษ ปราบทุจริตฮั้วประมูล รายงานพิเศษ ปราบทุจริตฮั้วประมูล

สำนวนคดีทุจริตฮั้วประมูลรถสิบล้อดูดโคลนของเทศบาลตำบลบ้านหมอ จังหวัดสระบุรีเป็นสำนวนที่ 20 ที่ตำรวจป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือ ปปป. ส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดำเนินคดีกับนายกเทศบาลบ้านหมอ คณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขการประมูล หรือ TOR และ 3 บริษัท ที่ร่วมกันทุจริตฮั้วประมูล เทศบาลตำบลบ้านหมอ เป็น 1 ใน 21 หน่วยงาน ที่ตำรวจพบหลักฐานทุจริตฮั้วประมูล

วันที่ 14 กันยายน 2559 ปปป. สนธิกำลังร่วมหลายหน่วยงาน เข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย 13 จุด มีทั้งบ้านพักนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นายกเทศมนตรี  เจ้าหน้าที่ อบต. และบริษัทที่ร่วมทุจริตฮั้วประมูล ในพื้นที่ 7 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สระบุรี ตาก ตรัง สงขลา มูลค่าความเสียหายกว่า 140 ล้านบาท และนำมาให้ดำเนินคดีกับ อบต. 21 แห่ง รวมทั้งบริษัทผู้ประมูลในโครงการจัดซื้อรถ 10 ล้อดูดโคลน และรถขยะอัดท้าย

พฤติการณ์คนกลุ่มนี้ พบการล็อกสเป็กในสัญญาการจัดซื้อ หรือ tor ที่กำหนดให้บริษัทผู้ประมูลมีคุณสมบัติเฉพาะบริษัทที่มี มอก. 9001 และ ISO14100 ซึ่งปรากฎมีเพียง 4 บริษัทที่คุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดการประมูลแบบอีอ๊อกชั่น ทุกอย่างเหมือนเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง แต่หากลงลึกจะพบความผิดปกติของตัวเลขเงินประมูล ที่สำคัญทั้ง 4 บริษัทเป็นนอมินีของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่เพียงรายเดียว

รายงานพิเศษ ปราบทุจริตฮั้วประมูล รายงานพิเศษ ปราบทุจริตฮั้วประมูล รายงานพิเศษ ปราบทุจริตฮั้วประมูล รายงานพิเศษ ปราบทุจริตฮั้วประมูล

การตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า 4 บริษัทที่ชนะการประมูล มีชื่อเป็นผู้ประมูลโครงการจัดซื้อรถดูดโคลน และรถขยะ ให้กับ อบต. ทั่วประเทศระหว่างปี 2555-2559 เกือบ 1,000 แห่ง มูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท แต่พบหลักฐานเอาผิดได้ใน 21 โครงการ 21 อบต.

ไม่หยุดเพียงเท่านี้เมื่อตำรวจ ปปป. เตรียมประสานให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. ตรวจสอบเส้นทางการเงิน เพราะทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหากลุ่มนี้เชื่อได้ว่าจำนวนไม่น้อยได้มาจากการกระทำความผิดฮั้วประมูล ปราบทุจริตฮั้วประมูลยังไม่หยุดเพียงแค่นี้เช่นกัน เมื่อตำรวจพบหลักฐานที่เข้าข่ายการฮั้วประมูลในลักษณะเดียวกัน กับอีกไม่ต่ำกว่า 10 อบต. ในพื้นที่ทั้งภาคเหนือ กลาง และใต้ มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท ที่เวลานี้อยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานเอาผิดต่อไป

ทีมข่าวจริง สปริงนิวส์ รายงาน

related