svasdssvasds

"ลุงน้อย" เกษตรกรคลองหนึ่ง ปทุมธานี ปลูกน้ำอ้อยพันธุ์พระราชทานโครงการ 1 ไร่ 1 แสน

"ลุงน้อย" เกษตรกรคลองหนึ่ง ปทุมธานี ปลูกน้ำอ้อยพันธุ์พระราชทานโครงการ 1 ไร่ 1 แสน

นายประกอบ วงษ์ที อายุ 50 ปี หรือลุงน้อย เกษตรกร ชาวคลองหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี ปลูกอ้อยพันธุ์พระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ตามโครงการ 1 ไร่ 1 แสน

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 18 พ.ตค.61 นายประกอบ วงษ์ที อายุ 50 ปี หรือลุงน้อย อยู่บ้านเลขที่ 45/2 ม. 15 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หนึ่งในสมาชิกโครงการ 1 ไร่ 1 แสน เปิดเผยว่า ได้ทำสวนผสมบนเนื้อที่ 97 ไร่ ปลูกพืชผักหลากหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ อ้อยที่ปลูกไว้ตลอดแนวถนนไปจนสุดพื้นที่ประมาณ 800 เมตร ที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นกอบเป็นกำ สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับพืชผลชนิดอื่นๆ ทั้งหมดในสวนแห่งนี้ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้แต่ปุ๋ยธรรมชาติที่มีขบวนการผลิตตามขั้นตอนจากวัตถุดิบต่างๆตามธรรมชาติ

"ลุงน้อย" เกษตรกรคลองหนึ่ง ปทุมธานี ปลูกน้ำอ้อยพันธุ์พระราชทานโครงการ 1 ไร่ 1 แสน

ลุงน้อยเล่าให้ฟังว่า ได้ผ่านการอบรมโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เพื่ออบรมและเรียนรู้การทำปุ๋ย ธรรมชาติ จากวัตถุดิบที่เราเหลือใช้แล้วอย่างเช่นเปลือกและกากอ้อยรวมทั้งวัตถุดิบอื่นๆ สำหรับอ้อยที่ปลูกนี้เป็นอ้อยพันธุ์พระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านพระราชทานให้กับชาวสุพรรณบุรี เมื่อปี 50 และอ้อยพันธุ์นี้เกษตรกรทุกคนจะเรียกว่าอ้อยพันธุ์ 50 เป็นอ้อยที่คั้นน้ำแล้ว เป็นธรรมชาติ ทั้งกลิ่นและความหวาน แต่ไม่ได้ผลิตส่งขายตามท้องตลาดหรือทั่วไป นอกจากมีลูกค้าสั่งมาเท่านั้น อย่างเช่นวันนี้มีเจ้าภาพงานศพที่คลองสี่ สั่งมา 400 ขวด

"ลุงน้อย" เกษตรกรคลองหนึ่ง ปทุมธานี ปลูกน้ำอ้อยพันธุ์พระราชทานโครงการ 1 ไร่ 1 แสน

เริ่มต้นจากคนงานไปตัดอ้อยทำความสะอาดปอกผิวออกแล้วนำมาผ่านกระบวนการคั้นน้ำที่สดๆออกมา โดยขั้นตอนแรกนำอ้อยซึ่งตัดเป็นท่อนๆที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่องหนีบน้ำอ้อยที่คั้นออกมาจากผ่านผ้าขาวบาง ขั้นตอนที่สองนำน้ำอ้อยที่คั้นแล้วผ่านฟองน้ำละเอียดเพื่อให้ได้น้ำอ้อยที่สดและสะอาดจริงๆ ขั้นตอนที่สามเป็นการนำบรรจุใส่ขวด ซึ่งมีอยู่ 3 ขนาด แต่สำหรับลูกค้าที่สั่งรายนี้เขานำไปใช้ในงานบุญ เขาใช้ขนาดเล็กสุดคือ 200 ซีซี การบรรจุก็มีขนาด 200 ซีซี ขนาดกลาง 250 ซีซี และขนาดใหญ่ 350 ซีซี และขั้นตอนสุดท้ายคือการบรรจุลงกล่องโฟมใส่น้ำแข็งลงไปเพื่อเป็นการน็อกความเย็นให้กับน้ำอ้อยด้วยอุณหภูมิ -4 องศา โดยการเติมน้ำเข้าไปเพื่อให้ความเย็นกระจายไปทั่วทั้งขวดก่อนปิดฝาทั้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงจึงนำส่งถึงมือลูกค้าที่จะได้น้ำอ้อยที่สดและหวานตามธรรมชาติ

"ลุงน้อย" เกษตรกรคลองหนึ่ง ปทุมธานี ปลูกน้ำอ้อยพันธุ์พระราชทานโครงการ 1 ไร่ 1 แสน

ลุงน้อย ยังอธิบายต่ออีกว่า น้ำอ้อยที่ผลิตนี้จะแตกต่างจากชาวบ้านทั่วไป คือบางรายเข้าจะโรยเกลือ ของผมนี้จะไม่มีการปรุงแต่งอะไรทั้งสิ้น เป็นน้ำอ้อยสดจริงๆ อย่างที่เห็นตั้งแต่เริ่มตัดอ้อย ทำความสะอาด คั้นจนได้น้ำอ้อย บรรจุใส่ขวดจนกระทั่งรอส่งลูกค้า ราคาขายก็จะอยู่ที่ 10 บาท 15 บาท และ 20 บาท การเก็บรักษาในระดับอุณภูมิที่ -4 องศา จะอยู่ได้นานถึง 7 วัน ประชาชนทั่วไปสนใจสั่งได้แต่ต้องโทรแจ้งล่วงหน้าที่เบอร์โทรลุงน้อย 083-6301433 และสวนแห่งนี้ยังเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับประชาชนทั่วไปที่สนใจในการผลิตพืชผลเพื่อนำไปต่อยอดในการทำเกษตรพอเพียง 1ไร่ 1 แสนตามแนวทางพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9ของเรา.

related