svasdssvasds

อย่าให้เสียท่าอีก!! บทเรียนจาก “เปล้าน้อยและกวาวเครือ” ไทยเคยเสียสิทธิทางปัญญาให้ต่างชาติมาแล้ว

อย่าให้เสียท่าอีก!! บทเรียนจาก “เปล้าน้อยและกวาวเครือ” ไทยเคยเสียสิทธิทางปัญญาให้ต่างชาติมาแล้ว

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) เปิดผยกรณีข้อถกเถียงที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ รับคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรทางปัญญาของต่างชาติ ที่มายื่นขอจดสารกัญชาว่า ในอดีตคนไทยมีบทเรียนเสียรู้ให้กับต่างชาติมาแล้ว กรณี “เปล้าน้อย” และ”กวาวเครือ”

กระทั่งเกิดข้อถกเถียง "สารสกัดจากกัญชา" ที่รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาเพื่อปลดล็อกการใช้สารสกัด เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ทำให้หลายฝ่ายมีความกังวล ประเด็นนี้ ต้องขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ออกมาแถลงเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน มีความรอบคอบ และเปิดรับฟังผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยกันพิจารณารายละเอียด ก่อนดำเนินการใดจากอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ​(CBD) เกณฑ์นี้ที่ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น จากทรัพยากรท้องถิ่น ชาติที่ขอขึ้นสิทธิทางปัญญาต้องแบ่งปันผลประโยชน์ให้ประเทศเจ้าของภูมิปัญญาด้วย

“กรณีสมุนไพรเปล้าน้อย คงใช้ไม่ได้ เพราะดำเนินการตั้งแต่ก่อนมีอนุสัญญาฉบับนี้ แต่ กวาวเครือ แน่นอนชัดเจนว่ามีการจดสิทธิบัตร ซึ่งญี่ปุ่น เกาหลีมาขอจดทะเบียนไป ปรากฎว่าทำภายใต้อนุสัญญาฯ ในทางปฏิบัติองค์กรระหว่างประเทศต้องปฏิเสธไม่ให้สิทธิบัตรในเรื่องนี้  ขณะที่ประเทศไทยสามารถคัดค้านการจดสิทธิบัตรเหล่านั้นในต่างประเทศได้ด้วย แต่ไทยไม่ได้ดำเนินการ จึงทำให้เสียผลประโยชน์ไป ซึ่งอาจมีนักวิจัยไทยบางคนร่วมอยู่ด้วย แต่เป็นการได้ประโยชน์ก็เฉพาะบุคคล ส่วนผลประโยชน์ระยะยาวสำหรับประเทศโดยรวมไม่เกิดขึ้น” ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีระบุ

อย่าให้เสียท่าอีก!! บทเรียนจาก “เปล้าน้อยและกวาวเครือ” ไทยเคยเสียสิทธิทางปัญญาให้ต่างชาติมาแล้ว

ย้อนรอยต่างชาติจดสิทธิบัตรภูมิปัญญาของไทย

.. 2513-2517 เปล้าน้อยมีรายชื่ออยู่ในรายงานการร่วมมือศึกษาวิจัยในโครงการช่วยเหลือของญี่ปุ่นที่ให้แก่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คาดว่าภาคเอกชนของญี่ปุ่นได้รับข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของเปล้าน้อย ทำให้บริษัทซังเกียวเห็นศักยภาพที่จะสกัดเปล้าน้อยเป็นยา จนมีการทำแปลงทดลองปลูกเปล้าน้อย ที่จ.ปราจีนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เพื่อศึกษาและวิจัยอย่างใกล้ชิด ท้ายที่สุดพบว่า  สารสกัดที่ได้จากเปล้าน้อยในเมืองไทย มีผลในการรักษาแผลเรื้อรังในหนู ที่เกิดจากการใช้สารรีเซอร์ปีนกระตุ้นให้เกิดแผล ..." และในปี 2526 ญี่ปุ่นได้นำสารดังกล่าวไปจดทะเบียนกับองค์การอนามัยโลก ภายใต้ชื่อ "เปลาโนทอล(Plaunotol)" 

ปี 2528 บริษัทซังเกียวได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารยาของญี่ปุ่นให้ผลิตยาจากเปล้าน้อยนี้ออกจำหน่าย โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า "เคลเน็กซ์" (Kelnac) ใช้รักษาแผลในกระเพาะและลำไส้ ในปี 2529 บริษัทได้สร้างโรงงานอบใบเปล้าน้อย ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อใช้อบใบแห้งที่มีผลผลิตประมาณ 1,700 ตันต่อปี จากพื้นที่ปลูกประมาณ 7,000 ไร่

ขณะที่สมุดข่อยโบราณไทยระบุว่า เปล้าทั้งสอง (คนโบราณมักจะเรียกควบกันว่า เปล้าน้อย และ เปล้าใหญ่) มีสรรพคุณโดยใช้ใบในการบำรุงธาตุ ใช้ดอกแก้พยาธิ ลูกดองสุรากินขับโลหิตระดูในเรือนไฟ เปลือกและกะพี้ช่วยย่อยอาหาร แก้เลือดร้อน แก่นขับเลือดหนองให้ตกและขับไส้เดือน รากขับผายลม

ตามตำรายาไทย เปล้าน้อย มีสรรพคุณดังนี้ เปลือกต้น ช่วยย่อยอาหาร แก่น กระจายลม ใบ บำรุงธาตุ เปลือกและใบรักษาโรคท้องเสีย บำรุงโลหิตประจำเดือน นอกจากนี้ยังพบว่าเปล้าน้อยมีฤทธิ์ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหารและรักษาแผลเรื้อรังในลำไส้ รวมถึงแผลพุพองตามบริเวณต่างๆได้ดีโดยความเป็นพิษและผลข้างเคียงต่ำ ที่อาจพบได้บ้างคือ อาการไม่สบายท้อง ผื่นคันที่ผิวหนัง ผู้เป็นโรคกระเพาะอาหารรุนแรงเพียงใช้ใบสดหรือใบแห้งสองสามใบชงน้ำดื่มในลักษณะเดียวกับชงน้ำชาดื่ม โรคกระเพาะ ก็จะหายได้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้าดื่มเข้มข้นมากๆมีรสขม

ใบเปล้าน้อยที่ปลูกในประเทศไทยมีสาร เปลาโนทอล (Plaunotol) ซึ่งเป็น diterpene alcohol มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะ อาหารดีมาก กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อทำให้แผลหายเร็ว มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งกรด ยับยั้งการเจริญของเชื้อ H.pyroli ในสัตว์ทดลองและการศึกษา in vitro แต่ต้องสกัดและทำเป็นยาเม็ด (Kelnac)

อย่าให้เสียท่าอีก!! บทเรียนจาก “เปล้าน้อยและกวาวเครือ” ไทยเคยเสียสิทธิทางปัญญาให้ต่างชาติมาแล้ว

ส่วนกวาวเครือ บริษัทโคซี่ เครือสำอางยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ก็จดสิทธิบัตรภายใต้อนุสัญญาชีวภาพไป ในปี 2547 ก่อนจดสิทธิบัตรสำเร็จ เครือข่ายภาคประชาชนในขณะนี้ก็มีต่อสู้เพื่อคัดค้านการจดทะเบียนดังกล่าว โดยเหตุผลชี้ว่าเป็นการละเมิดต่อกฎหมายไทย และละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ กระทบอนาคตการวิจัยและพัฒนารวมถึงการส่งออกที่มีมูลค่ามหาศาล แต่ท้ายที่สุด ญี่ปุ่นก็ได้สิทธิบัตรกวาวเครือไป

ทั้งนี้ กวาวเครือ (kwao krua , Pueraria mirifica) เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยที่มีเถายาวประมาณ 5 เมตร ภายในต้นมีใบประกอบจำนวน 3 ใบ ส่วนหัวของกวาวเครือจะออกกลม ๆ หัวของกวาวเครือจะฝังอยู่ใต้ดิน โดยหัวที่ใหญ่ที่สุด อาจจะมีน้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม เนื้อของกวาวเครือ เมื่อผ่าหัวออกมาแล้วจะมีสีขาวคล้ายแห้วกับมันแกว กวาวเครือมีด้วยกันทั้งหมด 4 ชนิด คือกวาวเครือขาว กวาวเครือแดง กวาวเครือดำ และกวาวเครือมอ

โดยสรรพคุณมีตั้งแต่ 1. ช่วยเพิ่มขนาดหน้าอก

ในกวาวเครือนั้น มีสารชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งก็คือสาร Miroestrol และ Deoxymiroestrol จึงช่วยเพิ่มลักษณะบางประการของเพศหญิงได้ โดยลักษณะที่เด่นที่สุด ก็คือการขยายตัวของหน้าอกประมาณ 1 นิ้ว แต่ในส่วนนี้ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า การทานกวาวเครืออย่างต่อเนื่อง จะช่วยเพิ่มขนาดหน้าอกได้จริง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่หน้าอกมีขนาดที่ใหญ่ที่สุดแล้ว กระบวนการในการขยายหน้าอกก็จะหยุดลง ถึงแม่ว่าเราจะยังไม่หยุดทานกวาวเครือก็ตาม และเมื่อใดก็ตามที่หยุดทานกวาวเครือ หน้าอกก็จะกลับมามีขนาดเท่าเดิมภายใน 2-3 สัปดาห์

2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีความสดใสมากยิ่งขึ้น

ด้วยเหตุผลเดียวกันกับในส่วนของการขยายหน้าอก ก็คือในกวาวเครือมีสารออกฤทธิ์สำคัญที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง จึงช่วยในการบำรุงผิวพรรณให้ดูสดใส เปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลเหมือนคนมีสุขภาพดี กระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาจนกว่าจะมีการหยุดทานกวาวเครือด้วยตัวเอง

3. ใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง

เพราะการเข้าสู่วัยทอง ก็คือการที่ฮอร์โมนต่างๆ  ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศมีการหลั่งที่น้อยลงกว่าเดิม จึงทำให้คนในวัยนี้ต้องพบกับความผิดปกติหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาวะหมดประจำเดือน  นอนไม่หลับ  มีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ช่องคลอดแห้ง  เป็นต้น การทานกวาวเครือที่มีสาร Miroestrol และ Deoxymiroestrol จึงสามารถทดแทนฮอร์โมนเพศหญิงได้ในแบบที่ไม่ต้องไปพบแพทย์ (สามารถใช้กับผู้ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติได้อีกด้วย)

4. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

ในกวาวเครือ 100 กรัม สามารถให้แคลเซียมได้มากถึง 7-8 กรัม จึงช่วยป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เป็นอย่างดี หากมีการทานกวาวเครือเป็นประจำ ในอนาคตจึงไม่ต้องกังวลเรื่องของกระดูกที่อาจจะเปราะบางง่ายเป็นพิเศษ

อย่าให้เสียท่าอีก!! บทเรียนจาก “เปล้าน้อยและกวาวเครือ” ไทยเคยเสียสิทธิทางปัญญาให้ต่างชาติมาแล้ว

related