svasdssvasds

เลือกตั้ง 62 : ส.ส. ในสภามายังไง? เปิดสูตรคำนวณที่พี่น้องชาวไทยต้องรู้ก่อนเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 62 : ส.ส. ในสภามายังไง? เปิดสูตรคำนวณที่พี่น้องชาวไทยต้องรู้ก่อนเลือกตั้ง

"ระบบจัดสรรปันส่วนผสม" คือระบบที่ถูกนำมาใช้ในการเลือกตั้ง 2562 เพื่อให้เกิดความกระจ่างและรู้ถึงสิทธิอย่างแท้จริง เรายกตัวอย่างสูตรการคำนวณที่ถูกต้องมาให้ดู

ระบบการเลือกตั้งของไทยเป็นแบบไหน?

การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นระบบใหม่ที่เพิ่งนำมาใช้กับประเทศไทย เรียกว่า "ระบบจัดสรรปันส่วนผสม" (Mixed Member Apportionment System : MMA) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับ "บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว" กาเลือก "ส.ส.แบบแบ่งเขต" เท่านั้น แต่คะแนนที่ได้จะนำมาคำนวณหา ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ด้วย

Did you Know : ส.ส. ในสภามีทั้งหมด 500 คน แบ่งเป็น "แบบบัญชีรายชื่อ" หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ปาร์ตี้ลิสต์ จำนวน 150 คน กับ "แบบแบ่งเขต" จำนวน 350 คน โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต จะได้เบอร์ที่ต่างกันไป แม้อยู่พรรคเดียวกัน "เขตใครเขตมัน เบอร์ใครเบอร์มัน"

เลือกตั้ง 62 : ส.ส. ในสภามายังไง? เปิดสูตรคำนวณที่พี่น้องชาวไทยต้องรู้ก่อนเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 2562 คำนวณหา ส.ส. อย่างไร?

ตัวเลขที่จะนำมาคำนวณเริ่มจาก "ตัวเลขที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิทั่วประเทศ" หักบัตรเสีย และ หัก Vote No แล้ว จะเหลือเพียง "คะแนนบัตรดี" จากนั้นนำคะแนนบัตรดีมาหารด้วยจำนวน ส.ส.ทั้งสภา จะเท่ากับคะแนนเลือกตั้ง ต่อ ส.ส. 1 คน โดยตัวเลขที่ประมาณการไว้ต่ำสุดคือ 70,000 : ส.ส. 1 เก้าอี้ (เปรียบเทียบตัวเลขจากการเลือกตั้งปี 2554)

ต่อมานำคะแนนที่ประชาชนลงให้กับ ส.ส.แบบแบ่งเขต ทุกคนทุกเขตของแต่ละพรรค "ทั้งชนะทั้งแพ้รวมกัน" แล้วมาหารด้วยคะแนนเลือกตั้ง ต่อ ส.ส. 1 คน จะได้จำนวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคพึงมี

จากนั้นมาดูว่าพรรคนั้นๆ ชนะการเลือกตั้งไปกี่เขต ก็ให้นำคะแนนที่ชนะเลือกตั้งเขตมาลบจำนวน ส.ส.พึงมี ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ "จำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์" ที่พรรคนั้นๆ จะได้ แต่หากได้ ส.ส.แบบแบ่งเขต ครบแล้ว หรือมากกว่าที่พึงจะได้รับ พรรคนั้นๆ ก็จะไม่ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไปนั่งในสภา

เลือกตั้ง 62 : ส.ส. ในสภามายังไง? เปิดสูตรคำนวณที่พี่น้องชาวไทยต้องรู้ก่อนเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 62 : ส.ส. ในสภามายังไง? เปิดสูตรคำนวณที่พี่น้องชาวไทยต้องรู้ก่อนเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 62 : ส.ส. ในสภามายังไง? เปิดสูตรคำนวณที่พี่น้องชาวไทยต้องรู้ก่อนเลือกตั้ง

ทรรศนะนักวิชาการ : ประเทศประชาธิปไตยไม่เปลี่ยนการเลือกตั้งบ่อย

ด้าน รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย กล่าวในงานเสวนาเลือกตั้งกุมภาฯ 62 ฟรีและแฟร์สำหรับใคร ระบุว่า การเปลี่ยนรูปแบบการเลือกตั้งมีได้ แต่ประเทศประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะไม่เปลี่ยนบ่อย ญี่ปุ่นเปลี่ยนล่าสุดปี 1994 ฝรั่งเศสก็เพิ่งเปลี่ยนเมื่อ 20-30 ปีก่อน แล้วก็นิ่ง แต่ของไทยเราเปลี่ยนมา 4 ครั้ง ในรอบ 20 ปีแล้ว ถือว่าเป็นประเทศที่เปลี่ยนบ่อยประเทศหนึ่งเลยก็ว่าได้

เปรียบเทียบว่าการเลือกตั้งเป็นกีฬาประเภทหนึ่งโดยที่ประชาชนเป็นผู้เล่น ถ้าหากประชาชนยังไม่รู้ว่ากติกาคืออะไรแล้วจะลงไปเล่นได้อย่างไร ต้องยอมรับว่ากติกาเลือกตั้งใหม่สร้างความสับสน ทุกครั้งที่เปลี่ยนไม่ได้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น เลยเกิดคำถามว่าเราเปลี่ยนทำไม การเปลี่ยนควรจะมีเป้าหมายชัดเจน แต่ของเรายังไม่เห็น แต่ยังเชื่อว่าประชาชนคนไทยต้องการเห็นการเลือกตั้ง อยากเลือกตั้ง อยากให้คะแนนเสียงของตนเองมีผลต่อทิศทางประเทศ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลือกตั้ง 62 : รู้ก่อนกา 5ขั้นตอน “เลือกตั้ง” ให้ผ่านฉลุย

เปิดสูตรคำนวณ หาจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ!

เลือกตั้ง 62 : ใครบ้างมีสิทธิ-ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง? เช็กให้พร้อมก่อนไปคูหา

related