svasdssvasds

เคลียร์ข้อสงสัย ให้หายคาใจ ! MOU คืออะไร ? และแตกต่างกับ MOA อย่างไร ?

เคลียร์ข้อสงสัย ให้หายคาใจ ! MOU คืออะไร ? และแตกต่างกับ MOA อย่างไร ?

หายสงสัยเสียที MOU บันทึกความเข้าใจ กับ MOA บันทึกข้อตกลง แตกต่างกันอย่างไร ?

เคลียร์ข้อสงสัย ให้หายคาใจ ! MOU คืออะไร ? และแตกต่างกับ MOA อย่างไร ?

ที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินคำว่า MOU บ่อยๆ ทั้งในการทำ MOU ระหว่างประเทศ หรือระหว่างองค์กรเเละหน่วยงานต่างๆ จึงทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า MOU มีความหมายอย่างไร ? และบางคนอาจสงสัยไปอีกเลเวลว่า มีความแตกต่างจาก MOA อย่างไร ? สปริงนิวส์จึงขออาสาเคลียร์ทุกข้อสงสัยให้หายคาใจ ดังนี้

MOU ย่อมาจาก Memorandum Of Understanding หมายถึง บันทึกความเข้าใจ เป็นเอกสารที่บันทึกข้อตกลงโดยความร่วมมือ หรือความเข้าใจระหว่างองค์กร หน่วยงาน รัฐ เมื่อทั้งสองฝ่ายรับทราบและเข้าใจรายละเอียดในบันทึกความเข้าใจนั้นแล้ว ตัวแทนผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่าย ก็จะลงนามในบันทึกความเข้าใจ

แต่ MOU ไม่ถือว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีผลตามกฎหมายโดยตรง แต่จะถูกนำมาอ้างอิง เมื่อเรื่องที่สองฝ่ายที่ลงนามเกิดปัญหา จนต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมาย จึงจะนำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมากล่าวอ้าง (ยกเว้นบันทึกสัญญาที่เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญา)

โดยบันทึกความเข้าใจ จะเป็นสนธิสัญญาก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบของสนธิสัญญา ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ.1969  ส่วนลด Lazada 10.10 | สูงสุด 90% | ตุลาคม 2020 | คลิกเลย!

เคลียร์ข้อสงสัย ให้หายคาใจ ! MOU คืออะไร ? และแตกต่างกับ MOA อย่างไร ?

ส่วน  MOU แตกต่างจาก MOA อย่างไรนั้น คุณนฤมล บุญแต่ง นักวรรณศิลป์ 7 ว จากกองธรรมศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้รายละเอียดและยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ และเห็นถึงความแตกต่างว่า

บันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่หนังสือนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่า จะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้

“เช่น สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทำบันทึกความเข้าใจกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา”

ขณะที่ MOA มาจาก Memorandum Of Agreement หมายถึง บันทึกข้อตกลง อันเป็นหนังสือหรือสัญญา ซึ่งมีข้อความที่ระบุเป็นหลักเกณฑ์ หรือวิธีการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติ หรือดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นข้อกติกา ข้อที่นัดหมายกันไว้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้

ที่ผ่านมา ในการทำบันทึกต่างๆ ระหว่างองค์กร หน่วยงาน รัฐ รวมถึงระหว่างประเทศ มีการจัดทำทั้ง 2 แบบ แต่บันทึกในลักษณะ MOU จะได้รับความนิยมมากกว่า  MOA เพราะสามารถอ้างอิงได้ แต่ไม่ถือว่าเป็นสนธิสัญญาที่ผูกมัดแต่อย่างใด

 

ที่มา https://th.wikipedia.org/ , http://www.krachab.go.th/assets-admin/files/journal/50961958988654.pdf

ภาพโดย TeroVesalainen จาก Pixabay

ภาพโดย rawpixel จาก Pixabay

related