svasdssvasds

ครึ่งปีแรก โควิดทำพิษ ธุรกิจลดการจ้างงาน แรงงาน สูงสุดถึง 75 เปอร์เซ็นต์

ครึ่งปีแรก โควิดทำพิษ ธุรกิจลดการจ้างงาน แรงงาน สูงสุดถึง 75 เปอร์เซ็นต์

ความต้องการแรงงานครึ่งปีแรก โควิด-19 ทำธุรกิจลดการจ้างงานสูงสุด 75 เปอร์เซ็นต์ สายงานแพทย์/สาธารณสุข เนื้อหอมสุดในช่วงโควิด-19

จ๊อบไทย (JobThai) แพลตฟอร์มหางานออนไลน์รายใหญ่ของไทย เผยแพร่รายงานเรื่องความต้องการ แรงงาน ในประเทศไทย พบว่า องค์กรมีความต้องการแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกรวมกันอยู่ที่ 303,776 อัตรา โดยเป็นการนับจำนวนอัตราแบบไม่ซ้ำกัน ซึ่งมีการเปิดรับสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 124,629 อัตรา แต่ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน การจ้างงานลดลง 16.5 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นและกระจายวงกว้างมากขึ้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผู้ใช้งานเพื่อหางานและสมัครงานผ่านจ๊อบไทย มากกว่า 11 ล้านคน เติบโตขึ้น 7.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีการสมัครงาน 8,876,727 ครั้ง เติบโตขึ้น 31 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

5 ประเภทธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากที่สุดในครึ่งปีแรก

  1. อุตสาหกกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 58,724 อัตรา แม้การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2563 จะปรับตัวลดลง อิงจากข้อมูล สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม แต่ผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายในหมวดสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ประเภทธุรกิจนี้ยังคงมีความต้องการแรงงานมาเป็นอันดับแรก ซึ่งลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 22.9 เปอร์เซ็นต์
  2. อุตสาหกรรมบริการ 44,750 อัตรา ความต้องการแรงงานในธุรกิจประเภทนี้จะเป็นธุรกิจบริการที่นอกเหนือจากธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาคท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจบริการทำความสะอาด ธุรกิจบริการด้านระบบ ธุรกิจบริการฝึกอบรม
  3. อุตสาหกรรมก่อสร้าง 41,353 อัตรา SCB EIC ประเมินว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการยังคงสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แม้ภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างจะมีแนวโน้มหดตัวตามเศรษฐกิจโลก ที่ชะลอตัวลงมาก ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์บางส่วนเลื่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ออกไป แต่การก่อสร้างโครงการภาครัฐยังคงมีแรงขับเคลื่อนจากโครงการเมกะโปรเจกต์คมนาคม เช่น โครงการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการสนามบิน โครงการท่าเรือ โครงการมอเตอร์เวย์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  4. อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ 39,883 อัตรา ผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อยอดการจำหน่ายและการผลิตรถยนต์ในประเทศและการส่งออกให้ชะลอตัวลง และยังกระทบต่อเนื่องไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ตกแต่งภายในรถยนต์ รวมถึงตัวแทนจำหน่าย อ้างอิงข้อมูลจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แม้ธุรกิจนี้จะอยู่ในห้าอันดับแรกที่ต้องการแรงงานมากแต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่า ความต้องการแรงงานลดลงถึง 31.8 เปอร์เซ็นต์
  5. อุตสาหกรรมค้าปลีก 37,482 อัตรา ธุรกิจค้าปลีกโดยรวมมีผลกระทบค่อนข้างมาก ยกเว้นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต เช่น อาหารและของใช้ส่วนตัว ทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ ยังคงมีความต้องการแรงงาน

5 ประเภทธุรกิจที่มีความต้องการแรงงานน้อยที่สุด

  1. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 1,690 อัตรา การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่หดตัวรุนแรงหลายทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีประกาศใช้มาตรการจํากัดการเดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าความต้องการ แรงงาน ในธุรกิจนี้ลดลงถึง 65.8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
  2. อุตสาหกรรมบันเทิง 2,075 อัตรา เป็นอีกอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดสถานที่สาธารณะต่างๆ ประกอบกับมาตรการควบคุมโรค โดยห้ามการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก รวมถึง การถ่ายทำภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ โฆษณา
  3. อุตสาหกรรมกระดาษ เครื่องเขียน 2,200 อัตรา ธุรกิจกระดาษที่เกี่ยวเนื่องกับสื่อสิ่งพิมพ์มีความต้องการลดลง ส่วนธุรกิจกระดาษที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แม้มีความต้องการใช้เติบโตขึ้น แต่โดยภาพรวมจะเห็นว่าธุรกิจนี้อยู่ในกลุ่มที่มีความความต้องการแรงงานน้อย เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ
  4. อุตสาหกรรมโรงแรม รีสอร์ต สปา และสนามกอล์ฟ 2,820 อัตรา มาตรการควบคุมการระบาดทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในไทยลดลง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจที่กลุ่มนี้ ทำให้มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้ลดมากที่สุด โดยลดลงถึง 75.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
  5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 3,092 อัตรา การผลิตและจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับปรับตัวลดลง เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลง ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบสองธุรกิจที่สภาอุตสาหกรรมประเมินว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมาก

5 สายงานที่องค์กรเปิดรับมากที่สุด

  1. สายงานขาย คิดเป็น 19.9 เปอร์เซ็นต์
  2. สายช่างเทคนิค คิดเป็น 10.3 เปอร์เซ็นต์
  3. สายงานผลิต ควบคุมคุณภาพ คิดเป็น 7.9 เปอร์เซ็นต์
  4. สายงานวิศวกร คิดเป็น 5.8 เปอร์เซ็นต์
  5. สายงานงานธุรการ จัดซื้อ คิดเป็น 5.7 เปอร์เซ็นต์

5 สายงานที่คนสมัครมากที่สุด

  1. สายงานธุรการ จัดซื้อ คิดเป็น 12.7 เปอร์เซ็นต์
  2. สายงานขาย คิดเป็น 9.5 เปอร์เซ็นต์
  3. สายงานผลิต ควบคุมคุณภาพ คิดเป็น 9.1 เปอร์เซ็นต์
  4. สายงานบุคคล ฝึกอบรม คิดเป็น 6.2 เปอร์เซ็นต์
  5. สายงานขนส่ง-คลังสินค้า คิดเป็น 6.1 เปอร์เซ็นต์

5 สายงานยอดนิยมที่มีอัตราการแข่งขันสูง

  1. อัตราการแข่งขันสูงที่สุด คือ สายงานนำเข้า-ส่งออก มีการแข่งขันอยู่ที่ 10.2 คน ต่อ 1 อัตรา
  2. สายงานบุคคล ฝึกอบรม มีการแข่งขันอยู่ที่ 9.9 คน ต่อ 1 อัตรา
  3. สายงานเลขานุการ การแข่งขันอยู่ที่ 9.4 คน ต่อ 1 อัตรา
  4. สายงานวิทยาศาสตร์ วิจัย การแข่งขันอยู่ที่ 8.2 คน ต่อ 1 อัตรา
  5. สายงานวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์ การแข่งขันอยู่ที่ 7.2 คน ต่อ 1 อัตรา

5 นิคมอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานมากที่สุด

  1. นิคมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง 3,374 อัตรา
  2. นิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี 3,140 อัตรา
  3. นิคมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี 2,789 อัตรา
  4. สวนอุตสาหกรรมโรจนะอยุธยา 2,339 อัตรา
  5. เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร ปทุมธานี 2,264 อัตรา

5 องค์กรที่มีอัตราการเปิดรับมากที่สุด

  1. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท เซ็นทรัลเรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด
  4. บริษัท เงินติดล้อ จำกัด
  5. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

5 องค์กรที่มีคนสมัครมากที่สุด

  1. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
  4. กลุ่มบริษัทเครือเบทาโกร จำกัด
  5. บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

นักศึกษาจบใหม่ในปีนี้ต้องเผชิญกับภาวะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และพร้อมรับมือกับอนาคต สำหรับสายงานที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่ มีดังนี้

5 สายงานที่องค์กรเปิดรับบัณฑิตจบใหม่มากที่สุด

  1. สายงานขาย คิดเป็น 23.3 เปอร์เซ็นต์
  2. สายงานบริการ คิดเป็น 11.8 เปอร์เซ็นต์
  3. สายงานธุรการ จัดซื้อ คิดเป็น 9.0 เปอร์เซ็นต์
  4. สายวิศวกร คิดเป็น 7.2 เปอร์เซ็นต์
  5. สายช่างเทคนิค คิดเป็น 7.1 เปอร์เซ็นต์

5 สายงานที่บัณฑิตจบใหม่สมัครมากที่สุด

  1. สายงานธุรการ จัดซื้อ คิดเป็น 15.8 เปอร์เซ็นต์
  2. สายงานวิศวกร คิดเป็น 10.3 เปอร์เซ็นต์
  3. สายงานขาย คิดเป็น 9.5 เปอร์เซ็นต์
  4. สายงานผลิต ควบคุมคุณภาพ คิดเป็น 8.0 เปอร์เซ็นต์
  5. สายงานบริการ คิดเป็น 7.1 เปอร์เซ็นต์

เมื่อดูข้อมูลเชิงลึก พบว่าช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ มีแนวโน้มการจ้างงาน แรงงาน ที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

  • เดือนมกราคม มีอัตราการเปิดรับ 119,122 เพิ่มขึ้น 8.7 เปอร์เซ็นต์ จากธันวาคม 2562
  • เดือนกุมภาพันธ์มีอัตราการเปิดรับ 124,629 เพิ่มขึ้น 4.6 เปอร์เซ็นต์ จากมกราคม 2563
  • โควิด-19 เริ่มมีการระบาดมากในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน รวมทั้งมีการออกมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ทำให้หลายสถานประกอบการจำเป็นต้องปิดกิจการชั่วคราว ตลอดทั้งการประกาศเคอร์ฟิว ส่งผลให้ความต้องการแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนมีนาคม มีอัตราการเปิดรับ 112,220 ลดลง 10.0 เปอร์เซ็นต์ จากกุมภาพันธ์ 2563 และลดลงหนักสุดในช่วงเดือนเมษายน มีอัตราการเปิดรับ 91,382 ซึ่งลดลง 18.6 เปอร์เซ็นต์ จากมีนาคม 2563
  • เดือนพฤษภาคม อัตราที่เปิดรับ 86,966 ลดลง 4.8 เปอร์เซ็นต์ จากเมษายน 2563
  • เดือนมิถุนายน อัตราที่เปิดรับ 90,347 เพิ่มขึ้น 3.9 เปอร์เซ็นต์ จากพฤษภาคม 2563

5 ประเภทธุรกิจที่มีความต้องการแรงงานลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2562

  1. ธุรกิจโรงแรม ลดลง 75.7 เปอร์เซ็นต์
  2. ธุรกิจท่องเที่ยวลดลง 65.8 เปอร์เซ็นต์
  3. ธุรกิจที่ปรึกษา ลดลง 38.9 เปอร์เซ็นต์
  4. ธุรกิจสิ่งทอ ลดลง 37.9 เปอร์เซ็นต์
  5. ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ลดลง 36.6 เปอร์เซ็นต์

5 ประเภทธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางลบน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2562

  1. ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม รับเพิ่ม 38.7 เปอร์เซ็นต์
  2. ธุรกิจพลังงาน รับเพิ่ม 0.3 เปอร์เซ็นต์
  3. ธุรกิจคอมพิวเตอร์ ไอที ลดลง 5.2 เปอร์เซ็นต์
  4. ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในบ้าน ลดลง 9.0 เปอร์เซ็นต์
  5. ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ลดลง 9.4 เปอร์เซ็นต์

หากแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนระบาดหนัก คือ มกราคม-กุมภาพันธ์ ช่วงระบาดหนักและล็อกดาวน์ คือ มีนาคม-เมษายน และ ช่วงคลายล็อกดาวน์ คือ พฤษภาคม-มิถุนายน พบว่า ช่วงระบาดหนักและล็อกดาวน์ มีสายงานเดียวที่เปิดรับคนเพิ่มขึ้น คือ แพทย์ เภสัชกร สาธารณสุข เพิ่มขึ้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนช่วงคลายล็อกดาวน์ มีการเปิดรับ Freelance เพิ่มขึ้น 36.4 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ สถิติช่วงต้นเดือนกรกฎาคม พบว่า สายอาชีพที่มีแน้วโน้มเปิดรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ Freelance อาจารย์ ครู แพทย์ เภสัชกร สาธารณสุข สามารถหาข้อมูลรายละเอียดหรือใช้งานได้ที่ www.jobthai.com

แรงงาน แรงงาน แรงงาน

 

related