svasdssvasds

รู้หรือไม่? ดาวตกมีกี่สี ชวนห่มหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” อาทิตย์นี้

รู้หรือไม่? ดาวตกมีกี่สี ชวนห่มหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” อาทิตย์นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ชวนโต้รุ่งชม ฝนดาวตกเจมินิดส์ ช่วงคืน 13 ถึง รุ่งเช้า 14 ธันวาคม ณ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน จ.เชียงใหม่ หอดูดาวภูมิภาคโคราช และฉะเชิงเทรา คาดปีนี้มีอัตราการตกเฉลี่ยมากถึง 150 ดวงต่อชั่วโมง โอกาสดี ไร้แสงจันทร์รบกวน สังเกตด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคทั่วไทย

ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 4-17 ธันวาคมของทุก ๆ ปี ปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง หรือเฉลี่ย 2.5 ดวงต่อนาที ในคืนวันที่ 13 ธันวาคม 2563 สังเกตได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ เวลาประมาณ 20:30 น. จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดูได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ คืนดังกล่าวไม่มีแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตการณ์เป็นอย่างยิ่ง 

ฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากอะไร
ฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับสายธารของเศษหิน และเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่เรียกว่า (Fireball) ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือเป็นดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ เช่น ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต เป็นต้น

รู้หรือไม่? ดาวตกมีกี่สี ชวนห่มหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” อาทิตย์นี้
 

แนะนำวิธีชมปรากฏการณ์ฝนดาวตก 
ควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ แนะนำให้นอนชม เนื่องจากฝนดาวตกกระจายทั่วท้องฟ้า ฝนดาวตกเจมินิดส์มีจุดเด่นคือมีความเร็วของดาวตกไม่มากนัก ประกอบกับมีอัตราตกค่อนข้างมากจึงสังเกตได้ง่าย สามารถมองเห็นได้รอบทิศ ถือเป็นโอกาสดีในการสังเกตการณ์ฝนดาวตก 

รู้หรือไม่? ดาวตกมีกี่สี ชวนห่มหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” อาทิตย์นี้
 

รู้หรือไม่? ดาวตกมีหลายสี ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย
ดาวตก เกิดจากเศษหินและฝุ่นของดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อย ถูกแรงดึงดูดของโลกดึงเข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นต่าง ๆ เราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี และโมเลกุลของอากาศโดยรอบ

รู้หรือไม่? ดาวตกมีกี่สี ชวนห่มหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” อาทิตย์นี้ แสงที่เปล่งออกมาจากอะตอมโลหะของดาวตก จะแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบทางเคมี เช่น อะตอมแคลเซียม ( Ca+ ) ให้แสงสีออกโทนม่วง อะตอมแมกนีเซียม ( Mg ) ให้แสงสีฟ้าเขียว อะตอมโซเดียม ( Na ) ให้แสงสีส้มเหลือง อะตอมเหล็ก ( Fe ) ให้แสงสีเหลือง ในขณะที่โมเลกุลในชั้นบรรยากาศโลก จะมีอะตอมของออกซิเจน ( O ) และไนโตรเจน ( N ) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะให้แสงสีแดง ดังนั้น สีของดาวตกจึงขึ้นอยู่กับการเปล่งแสงของอะตอมแต่ละชนิด

รู้หรือไม่? ดาวตกมีกี่สี ชวนห่มหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” อาทิตย์นี้ ย้ำส่งท้ายกันอีกทีสำหรับ ฝนดาวตกเจมินิดส์ ในคืน 13 ธันวาคมที่จะถึงนี้ คาดว่ามีอัตราการตกมากถึง 150 ดวง/ชั่วโมง แถมไม่มีแสงของดวงจันทร์รบกวน เป็นโอกาสดีมากๆที่จะได้นอนดูและสังเกตสีของฝนดาวตก แถมอากาศช่วงสุดสัปดาห์นี้ก็ยังหนาวจัด จะนอนดูที่บ้านหรือมาดูกับ NARIT ที่อ่างเก็บน้ำห้วยลาน จ.เชียงใหม่ ก็ได้ หรือใครไม่สะดวกมาเชียงใหม่ทาง NARIT ยังจัดให้อีกสองที่คือ ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา แพ็กกระเป๋าไปเที่ยวกันเถอะ และอย่าลืม “ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก” รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

ที่มา : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) 

related