svasdssvasds

"เครื่องจับเท็จ" หรือ "เครื่องโพลีกราฟ" จับโกหกได้จริงหรือไม่

"เครื่องจับเท็จ" หรือ "เครื่องโพลีกราฟ" จับโกหกได้จริงหรือไม่

"เครื่องจับเท็จ" หรือ "เครื่องโพลีกราฟ" จับโกหกได้จริงหรือไม่?

วันนี้ (8 ม.ค.64) ได้มีการนำ เครื่องจับเท็จ มาใช้อีกครั้ง กับคดีดังข้ามปี การตายปริศนาของ ด.ญ.อรวรรณ วงศ์ศรีชา หรือ น้องชมพู่ วัย 3 ขวบ ที่หายตัวไปจาก หมู่บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร วันที่ 11 พฤษภาคม 2563 ก่อนพบกลายเป็นศพบนภูเหล็กไฟ ห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร

ซึ่งปัจจุบันยังหาตัวผู้ก่อเหตุไม่ได้ และผู้เกี่ยวข้องทุกคนต่างยืนยันว่าตัวเองเป็นผู้บริสุทธิ์ และ หนึ่งในนั้น คือ นายไชย์พล วิภา หรือ ลุงพล ที่ตอนนี้ได้กลายเป็นคนดังไปแล้วเช่นกัน

ยังไม่จบ! "ลุงพล-ป้าแต๋น" เตรียมเข้าเครื่องจับเท็จ พิสูจน์ความจริงคดีน้องชมพู่

ทั้งนี้เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินว่ามีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่สามารถจับโกหกสิ่งที่บุคคลนั้นพูดได้ โดยเครื่องนั้นมีชื่อว่า เครื่องจับเท็จ หรือ เครื่องโพลีกราฟ ทั้งนี้จะมีคำถามที่ตามมาคือ เครื่องจับเท็จ นั้นสามารถจับโกหกได้จริงหรือไม่

เครื่องจับเท็จ หรือ เครื่องโพลีกราฟ เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการตรวจและบันทึกการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางสรีระที่ไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้ ซึ่งบันทึกออกมาในรูปกราฟที่สามารถนำมาประเมินผลวิเคราะห์ว่า พูดจริงหรือพูดเท็จ

เครื่องจับเท็จ นี้จะคล้ายๆ กับเครื่องมือทางการแพทย์ ด้วยการตรวจความดันโลหิต ระดับชีพจร อัตราการหายใจ และปริมาณเหงื่อที่เกิดขึ้นขณะพูด ซึ่งค่าเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันระหว่างคนที่โกหกกับคนที่พูดความจริง เพราะค่าดังกล่าวสามารถวัดถึงระดับความวิตกกังวล และความเครียดได้

อุปกรณ์เครื่องจับเท็จประกอบด้วย

1.  Pneumograph tupe  ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ

2.  Blood pressure cuff  ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต

3.  Galvanic skin reflex (GSR)  ใช้วัดความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง

4.  อุปกรณ์บันทึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเป็นถุงลมยางติดตั้งไว้ที่พนักพิงเก้าอี้

เครื่องจับเท็จ จะแสดงผลเป็นเส้นกราฟที่มีการแกว่งขึ้นๆ ลงๆ เนื่องจากการที่คนเราจะโกหกเรื่องอะไรและเมื่อถูกกดดันจากการซักถามมากๆ จะเกิดความเคร่งเครียดและรู้สึกกดดันเพราะพยายามปิดสิ่งที่ตัวเองซ่อนไว้ทำให้กระบวนการทำงานของร่างกายผิดปกติ เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว เครื่องนี้ก็จะแสดงผลออกมาให้เราทราบ

ในปัจจุบัน เครื่องจับเท็จ ยังมีการใช้งานอยู่บ้าง แต่ใช้เป็นเพียงอุปกรณ์ประกอบการสอบสวน ไม่สามารถใช้ยืนยันในชั้นศาลได้ว่าบุคคลดังกล่าวโกหกจริงหรือไม่

related