เปิดข้อมูล ศบค. ไทยมีแผนจัดซื้อวัคซีน “ซิโนแวค” รวม 47.5 ล้านโดส
ศบค.เผย มีแผนจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค รวมแล้วสูงถึง 47.5 ล้านโดส ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมรัฐบาลยังเลือกที่จะสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคในจำนวนที่สูงอยู่ ซึ่งถ้าเป็นแผนระยะยาว สามารถสั่งซื้อวัคซีนยี่ห้ออื่นที่ราคาใกล้เคียง หรือถูกกว่าได้เป็นอย่างมาก ?
ศบค. ได้เผยแพร่แผนการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 ของไทย ภายในปี 2564 - 2565 จำนวน 150 ล้านโดส โดยในจำนวนนี้ เป็นวัคซีนซิโนแวค 47.5 ล้านโดส โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เสนอเพิ่มกรอบการจัดหาวัคซีนจาก 100 ล้านโดส ภายในปี 2564 เป็น 150 ล้านโดล ภายในปี 2565
2. ขณะนี้ ไทยมีการดำเนินการเจรจาจองวัคซีนแล้ว 105.5 ล้านโดส ได้แก่
- แอสตร้าเซนเนก้า 61 ล้านโดส
- ซิโนแวค 19.5 ล้านโดส
- ไฟเซอร์ 20 ล้านโดส
- จอห์นสัน แอนด์จอห์นสัน 5 ล้านโดส
3. โดยไทยเตรียมงบประมาณจัดหา จัดซื้อวัคซีนเพิ่มเติมให้ครบ 150 ล้านโดส ดังนี้
- ซิโนแวค 28 ล้านโดส
- วัคซีนอื่นๆ 22 ล้านโดส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
-
"หมอยง" เผยผลศึกษาภูมิต้านทาน หลังฉีดวัคซีน "แอสตร้าเซนเนก้า-ซิโนแวค"
-
วิโรจน์ ชี้ 120 วัน เปิดประเทศได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวนการฉีดวัคซีนโควิด
-
นายกฯ ประกาศ เปิดประเทศภายใน 120 วัน พร้อมลงภูเก็ต เปิดรับนักท่องเที่ยว
จากข้อมูลดังกล่าวเท่ากับว่า ไทยได้จัดซื้อและมีแผนจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค ถึง 47.5 ล้านโดส
และจากข้อมูลข้างต้น หากการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคที่ผ่านมา เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือระยะสั้น เนื่องจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งมีการทำสัญญาสั่งซื้อเมื่อปลายปีที่แล้ว จะสามารถจัดส่งให้ไทยได้ช่วงกลางปี 2564
และต่อมาเมื่อไทยเปลี่ยนนโยบาย จากวัคซีนยี่ห้อเดียว เป็นหลายยี่ห้อ เมื่อช่วงเมษายน 2564 หลังจากการระบาดระลอก 3 แต่ก็ติดปัญหาตรงที่ว่า หากสั่งวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ ก็จะได้รับวัคซีนช่วงปลายปี 2564 จึงมีความจำเป็นต้องสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่มก่อน
แต่เมื่อเป็นแผนระยะยาวในการจัดซื้อวัคซีนรวม 150 ล้านโดส ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไมไทยยังเลือกที่จะสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคในจำนวนที่สูงอยู่ ทั้งๆ ที่สามารถสั่งซื้อวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ที่ราคาใกล้เคียงกัน หรือถูกกว่าเป็นอย่างมากได้ ?
ที่มา ศูนย์ข้อมูล COVID-19
ภาพโดย Klaus Hausmann จาก Pixabay