svasdssvasds

นายกฯ พอใจไทยอันดับ 1 อาเซียน 3 ปีซ้อน ประเทศที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายกฯ พอใจไทยอันดับ 1 อาเซียน 3 ปีซ้อน ประเทศที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

"อนุชา บูรพชัยศรี" โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ พอใจไทยอันดับ 1 อาเซียน ต่อเนื่อง 3 ปี และเป็นลำดับ 3 ของทวีปเอเชีย ในรายงานประเทศที่มีการพัฒนายั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs)

วันที่ 29 มิ.ย. 64 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัย Cambridge ได้เผยแพร่รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2564 (Sustainable Development Report 2021) พบว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 43 ของโลก จากทั้งหมด 165 ประเทศทั่วโลก เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว และเป็นลำดับ 3 ในทวีปเอเชีย ในรายงานการจัดอันดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ไม่เลื่อน ! คนละครึ่งเฟส3 ยิ่งใช้ยิ่งได้ ช่วยค่าจ้าง ล็อกดาวน์ 6 จังหวัด 50 %
นายกฯ ชาวเน็ตแห่ติด #นะจ๊ะ พุ่งติดเทรนด์อันดับหนึ่ง
ประชาชนสิ้นหวัง ชูวิทย์ โพสต์ สถานการณ์โควิด-19 ย่ำแย่ เพราะนายกฯ ไม่ชัดเจน

ซึ่งรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน “SDG Index” เป็นการประเมินความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีคะแนนเฉลี่ยรวม 74.19 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ที่ 65.7 คะแนน และในรายงานได้ระบุว่า ไทยบรรลุเป้าหมายแล้วในหัวข้อ SDG 1 ขจัดความยากจน (No Poverty) ทั้งยังมีเป้าหมาย SDGs ที่มีสัดส่วนของตัวชี้วัดที่บรรลุเป้าหมายแล้ว (Achieved) และมีแนวโน้มจะบรรลุตามเป้าประสงค์ระยะยาว ประกอบด้วย SDG 4 คุณภาพการศึกษา (Quality Education) SDG 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation) และ SDG 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure) โดยยังมีเป้าหมายที่ยังคงเป็นความท้าทายสูง (สถานะสีแดง) ได้แก่ SDG 2 ขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) SDG 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Wellbeing) SDG 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequality) SDG 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (Life under Water) และ SDG 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก (Life on Land)

อย่างไรก็ดี รายงานยังระบุว่า ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 193 ประเทศได้รับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเมื่อปี 2015 ที่รายงานประจำปีแสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่ ‘ถดถอย’ ในการขับเคลื่อน SDGs เนื่องจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ไม่เพียงก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพระดับโลกเท่านั้น แต่ยังสร้างวิกฤติการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งในรายงานฉบับนี้ ออสเตรเลียได้รับการจัดอันดับที่ 35 มาเลเซียอันดับที่ 65 สิงคโปร์อันดับที่ 76 และอินโดนีเซียลำดับที่ 97

related