svasdssvasds

เปิดทางรอดธุรกิจ ชีวิตลูกจ้าง ล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ปรับตัวยังไง ?

เปิดทางรอดธุรกิจ ชีวิตลูกจ้าง ล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ปรับตัวยังไง  ?

การล็อกดาวน์ประเทศในแต่ละครั้ง แม้ว่าจะล็อกเป็นบางจังหวัด แต่...ก็ก่อเกิดความเสียให้กับภาคธุรกิจ คนค้าขาย ปากท้องประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาปี 2563 ก็มีบทเรียนมาแล้ว วันนี้จะพาไปดูว่าคนปรับตัวกันอย่างไร เพื่อทางรอด เผื่อนำไปใช้กับครั้งนี้ได้

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ได้เคาะมาตรการยกระดับคุมเข้มการระบาดโควิด-19 พื้นที่เสี่ยง 6 จังหวัด 14 วัน พร้อมกับนายกรัฐมนตรีประกาศว่าจะไม่รับเงินเดือน 3 เดือน เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการแก้สถานการณ์ โควิด-19 แม้ว่ารัฐจะไม่อยากให้ใช้คำว่าล็อกดาวน์ แต่ในความรู้สึกของประชาชนมันล็อกดาวน์

ในแง่ของการควบคุมโควิด-19 การล็อกดาวน์ คือหนทางสุดท้ายจริงๆ ที่ศบค. มีความจำเป็นต้องทำ แน่นอนย่อมส่งกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน การค้า การขาย  การทำมา หากิน ธุรกิจห้างร้าน ทำให้เศรษฐกิจหยุดเดินเลยไปเลยทันที ซึ่งเมื่อปี 2563 ก็ได้มีการล็อกดาวน์มาแล้ว ผลที่ตามมาคือภาคธุรกิจได้รับผลกระทบหนักมาก วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาย้อนรอยดูว่าล็อกดาวน์ที่ผ่านมาธุรกิจปรับตัวกันอย่างไรให้รอด เผื่อผู้ประกอบการจะนำมาใช้กับการล็อกดาวน์ครั้งนี้ได้

พ่อค้าแม่กุมขมับที่ต้องเจอล็อกดาวน์ พ่อค้าแม่กุมขมับที่ต้องเจอล็อกดาวน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• อนุทิน เปลี่ยนเส้นทางออก หนีสื่อตอบคำถาม “ล็อกดาวน์ “ หลังร่วมประชุม ศบค.

• หญิง รฐา-แทค ภรัณยู แท็กทีมซัดรัฐบาล ปมล็อกดาวน์-นายกฯไม่รับเงินเดือน

• Breaking News : ศบค.เคาะ ล็อกดาวน์ 14 วัน งดออกนอกบ้าน4ทุ่ม-ตี4 เริ่มพรุ่งนี้

เปิดทางรอดธุรกิจ ชีวิตลูกจ้าง ล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ปรับตัวยังไง  ?

 -ธุรกิจโรงแรม ปรับตัว ขายอาหาร

มาเริ่มกันที่ ธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว ซึ่งปี2563 ที่ผ่านมา ล็อกดาวน์ประเทศทำให้ธุรกิจเหล่านี้สาหัสเลยจริง ๆ มีหลายโรงแรมที่พักต้องปิดกิจการชั่วคราว หรือมีบางแห่งถึงขั้นขายต่อกิจการให้กับนักลงทุนต่างชาติไปเลย เพราะไม่ไหวแล้วจริงๆ ส่วนที่เหลือก็ปรับตัวกันสุด ๆ แต่แนวทางการปรับตัวที่เห็นชัด ๆ คือ การตั้งโต๊ะจำหน่ายอาหารที่หน้าโรงแรม รวมการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ให้ผู้คนที่ทำงานอยู่ที่บ้าน

.

-ร้านค้า ร้านอาหารขนาดเล็ก ปรับตัว ส่งเดลิเวอรี่

มาดูฟากของร้านค้า ร้านอาหารขนาดเล็ก ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักไม่แพ้ธุรกิจอื่น ๆ ส่วนใหญ่ก็จะปรับตัว และเอาตัวรอดด้วยการส่งเดลิเวอรี่ ส่วนคนที่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็นก็ปรับตัวให้ลูกให้หลานมาช่วยในการหาลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์

-ธุรกิจบริการ ปรับตัว ปิดกิจการชั่วคราว ลดค่าใช้จ่าย

ส่วนธุรกิจภาคบริการ แน่นอนว่าได้รับผลกระทบที่ต้องให้ปิดบริการเพื่อคุมสถานการณ์โรคระบาด ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับบริการต้องปิดกิจการชั่วคราว เลิกจ้างพนักงานไปเพื่อทางรอด บางแห่งปรับตัวด้วยการลดขนาดธุรกิจให้เล็กลง

-พนักงานภาคบริการ  ปรับตัว กลับต่างจังหวัดไปรับจ้าง

ทั้งนี้ในส่วนของพนักงานภาคบริการ ต้องปรับตัว กลับบ้านเกิดต่างจังหวัดก่อนเพื่อไปรับจ้างตามสวน ตามนา หรือตามสถานประกอบการในจังหวัดบ้านเกิดเพื่อหารายได้มาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง

-บริษัท ปรับตัว ลดค่าจ้าง จ้างออก

ส่วนบริษัทต่าง ๆ ที่ทุนน้อย สายป่านสั้นก็ปิดตัว หรือลดค่าจ้างพนักงาน บางแห่งมีการจ้างออก โดยชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

-มนุษย์เงินเดือน ปรับตัว ประหยัดมากขึ้น ไม่ก่อหนี้เพิ่ม

มาดูที่มนุษย์เงินเดือน มีการปรับตัว ด้วยวิธีการประหยัดให้มากขึ้น และไม่ก่อหนี้เพิ่ม ส่วนลูกจ้างรายวัน หรือคนหาเช้ากินค่ำ ฟรีแลนซ์ ส่วนใหญ่ก็งานไม่มี หรือมีน้อยมาก ๆ หนทางรอด คืองัดบุญเก่ามาใช้ บางคนต้องอดมื้อกินมื้อ

- เงินช่วยเหลือจากรัฐ ผ่านโครงการต่าง ๆ อีกหนึ่งทางรอดของผู้คนในการล็อกดาวน์ในอดีต คือ การใช้เงินเหยียวยาจากภาครัฐ

ทั้งหมด คือ เรื่องราวการปรับตัว ทางรอด ของธุรกิจ ผู้คน กับการล็อกดาวน์ ที่ผ่านมาเมื่อปี 2563 ส่วนการล็อกดาวน์ ครั้งนี้ก็ต้องสู้ และปรับตัวกันอีกสักตั้งเพื่อสู้กับโควิด-19

related