svasdssvasds

นครปฐม ติดโควิด เพิ่ม 418 ราย ดับ 3 ราย เร่งค้นเชิงรุก ตลาด แหล่งชุมชน

นครปฐม ติดโควิด เพิ่ม 418 ราย ดับ 3 ราย เร่งค้นเชิงรุก ตลาด แหล่งชุมชน

"นครปฐม" ยอดยังพุ่ง! พบผู้ป่วยโควิด เพิ่ม 418 ราย จำแนกในจังหวัด 315 ราย เรือนจำ 103 ราย ระลอกใหม่สะสมรวม 7,048 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมผู้เสียชีวิต 75 ราย ระบุ แนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงขึ้น

วันนี้ (11 ก.ค.64) ที่จังหวัดนครปฐม ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมที่ระบาดระลอกใหม่ ว่าสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สสจ.นฐ. ทีม SAT & SRRT พบผู้ป่วยระลอกใหม่ รวมจำนวน 7,084 ราย สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ 418 ราย จำแนกในจังหวัด 315 ราย ในเรือนจำ 103 ราย เป็นสัญชาติ ไทย 391 ราย อื่นๆ 27 รายในการเฝ้าระวังเชิงรุก 345 รายและการเฝ้าระวังเชิงรับ 73 ราย คิดเป็นค่าเฉลี่ยการพบผู้ป่วยในช่วง 7 วันที่ผ่านมาเท่ากับ 206 ราย ซึ่งมีแนวโน้มการระบาดสูงขึ้น ในสัดส่วนเพศชาย หญิง เท่ากับ 1:09

รวมสะสมผู้เสียชีวิต 75 ราย วันนี้ + 3 ราย ในอัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 1.05 (ระลอกธันวาคม 2 ราย)(ระลอกเมษายน 73 ราย) อำเภอที่พบสูงสุดประจำวันนี้ 3 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอเมือง  (173 ราย) อำเภอสามพราน (153 ราย) อำเภอนครชัยศรี (37 ราย) กลุ่มอายุที่พบมากได้แก่ ในช่วงอายุ 21-30 ปี รองลงมาคือ 31-40 และ 41-50 ปี ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การดำเนินกิจกรรมรวมกลุ่ม  Cluster HR ในโรงงานตลาด สถานประกอบการ การติดจากบุคคลในครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

กฟภ. ออกมาตรการ "ผ่อนค่าไฟ" บรรเทาความเดือดร้อน จากสถานการณ์โควิด-19

"เซ็นทรัล" ประกาศปิดให้บริการ 16 สาขา เริ่ม 12-25 ก.ค.64 เพื่อลดโควิดแพร่

"อนุทิน" ตากฝนช่วยผู้ป่วย 108 ปี ติดโควิด ถึงหน้าบ้าน เพื่อสร้างความอุ่นใจ!

พร้อมเพิ่มมาตรการ วิเคราะห์แนวโน้มในทุกอำเภอจัดทำมาตรการ เร่งค้นหาผู้เสี่ยงสูง เน้นการกักกัน การค้นหาเชิงรุกในกลุ่มต่างๆ เช่นตลาดค้าส่ง สถานประกอบการ โรงงาน ในการระบาดลักษณะคลัสเตอร์/โรงชำแหละสุกรพิจารณาดำเนินการ Bubble and Seal รวมทั้งกำกับติดตามมาตการ DMHTTA อย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง ในการกำหนดมาตรการครั้งนี้ จำกัดการเคลื่อนย้ายและการรวมกลุ่มของบุคคลขั้นสูงสุด รวมทั้งกำหนดเวลาการออกนอกเคหะสถาน ควบคู่ไปกับการเร่งรัดมาตรการด้านการป้องกันโรค การฉีดวัคซีน การควบคุมโรค การรักษาพยาบาล รวมทั้งการเยียวยา

อีกทั้งปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เสนอ ดังนี้ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด10 จังหวัด (คงเดิม)พื้นที่ควบคุมสูงสุด 24 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 19 จังหวัด) พื้นที่ควบคุม 25 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 16 จังหวัด)พื้นที่เฝ้าระวังสูง18 จังหวัด (ลดลง 39 จังหวัด)ระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (9 ก.ค.64)

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาสการปฏิบัติในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

1. จำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมของบุคคลให้มากที่สุด

- กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนใช้การปฏิบัติงานในลักษณะ Work From Home ให้มากที่สุด โดยไม่กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ และการบริการประชาชน

- ระบบขนส่งสาธารณะ เปิดให้บริการได้ในห้วงเวลา 21.00 น. ถึง 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น

- ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง ปิดเวลา 20.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้นห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่มธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน ทั้งนี้เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.

- ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ห้ามบริโภคอาหารหรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้าน โดยเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.

- ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค ได้แก่ นวดเพื่อสุขภาพ สปา สถานเสริมความงาม

ในการปฏิบัติในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

- สวนสาธารณะ สามารถเปิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกายได้ถึงเวลา 20.00 น.

- ห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคม ที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพ หรือกิจกรรมตามประเพณี ร่วมกันเกิน 5 คน

2. ให้บุคคลงดการเดินทางที่ไม่จำเป็น และห้ามออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเว้นแต่มีความจำเป็นยิ่ง หรือได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี

3. การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่สร้างยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ ศบค.ที่ได้มีประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้กำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (DMHTTA) อย่างสูงสุด

4.กำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (DMHTTA) อย่างสูงสุด

5. ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวดทั้งนี้ผู้ใดฝ่าฝืนให้มีบทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .ศ.2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558

6. ให้เริ่มดำเนินการตามข้อ1-4 ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.64 เป็นต้นไป

418 ราย

related