svasdssvasds

สธ.เริ่มฉีด Pfizer ล็อตบริจาค 1.5ล้านโดส ต้นเดือน ส.ค.นี้

สธ.เริ่มฉีด Pfizer ล็อตบริจาค 1.5ล้านโดส ต้นเดือน ส.ค.นี้

กรมควบคุมโรค เผย วันนี้มีการลงนามสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNAจำนวน 20 ล้านโดส ขณะที่ที่รัฐบาลอเมริกาจะบริจาควัคซีนไฟเซอร์ให้ไทย 1.5 ล้านโดสปลายเดือนนี้ เริ่มฉีดกลุ่มเป้าหมายได้ต้น ส.ค.นี้

ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า วันนี้มีการลงนามสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNAจำนวน 20 ล้านโดส ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กับบริษัท Pfizer ประเทศไทยโดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นสักขีพยานการลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA

โดยในสัญญาเป็นการทำงานร่วมกันมาร่วมถึงคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้กรมควบคุมโรคอนุมัติดำเนินการลงนามในสัญญาร่วมกับบริษัทไฟเซอร์ประเทศไทยจำกัด ในสัญญาจะเป็นการจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 20 ล้านโดสกำหนดการส่งภายในไตรมาส4

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ทางประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการส่งมอบวัคซีนไฟเซอร์ให้กับประเทศไทย 1.5 ล้านโดส เป็นการบริจาคจากรัฐบาลอเมริกามายังประเทศไทย ซึ่งจะมาปลายเดือนนี้  จะทำให้การฉีดวัคซีนครอบคลุมประชาชนมากขึ้น ทำให้การควบคุมสถานการณ์โรคดีขึ้น

นพ.โอภาส ย้ำว่า วัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส จะเริ่มต้นฉีดได้ช่วงเดือน ส.ค. ในกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้  1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด หรือผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกันที่ฉีดไปแล้ว 2 เข็ม จะมีการกระตุ้นเข็ม 3 หรือ บูสเตอร์โดส 2.กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ระบาด 3. ชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ระบาด เป็นต้น

หลังจากที่มีการเซ็นสัญญาแล้วสำหรับปี 2565 จะมีการเจรจาหาวัคซีนมาเพิ่มเติมต่อไป เพราะฉะนั้น เรามีการลงนามสัญญาซื้อวัคซีนแอสตร้า 61 ล้านโดส/ จัดหาวัคซีนซิโนแวค 19 ล้านโดส และไฟเซอร์ 20 ล้านโดส โดยมียอดร่วมการจองซื้อประมาณ 100 ล้านโดสภายในปี 2564

ส่วนของวัคซีนจากแอสตราเซนิกาเบื้องต้นในขณะนี้ทางบริษัท แอสตราเซนิกา ประเทศไทย ได้ส่งสัญญาณแจ้งมาว่าจะสามารถจัดหาวัคซีนให้กับประเทศไทยได้เฉลี่ยเดือนละ 5-6 ล้านโดส

นายแพทย์โอภาสได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าสำหรับการทำสัญญาลงนามระหว่างกรมควบคุมโรคกับบริษัทเอสตร้าเซนนิก้าประเทศไทยกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติในการจองซื้อวัคซีน ที่มีการลงนามในสัญญาเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งในสัญญามีการระบุว่าผู้ที่เซ็นสัญญาจะต้องไม่เปิดเผยความลับในสัญญาหรือถ้าหากจะมีการเปิดเผยข้อมูลในสัญญาต้องได้รับการลงนามร่วมกันทั้งสามฝ่ายไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการทำผิดสัญญาที่จะเป็นปัญหาได้อาจนำไปสู่การยกเลิกสัญญาและไม่มีการส่งวัคซีนให้กับประเทศไทย เพราะฉะนั้นการรักษาความลับในสัญญาจึงเป็นเรื่องสำคัญ ย้ำว่าในสัญญาจริงๆไม่ได้มีประเด็นสำคัญอะไรซับซ้อนมากหนัก แต่ภาคเอกชน ต้องคำนึงถึงคือเรื่องความลับทางการค้าที่มีต่อบริษัทอื่นๆที่มีการทำสัญญาในหลายประเทศเป็นต้น

ประเด็นต่อมาคือผลการใช้วัคซีน ซึ่งเป็นผลการศึกษาจากการใช้จริงของวัคซีนหลายหลายพื้นที่ ประสิทธิภาพของวัคซีนสามารถลดการติดเชื้อหลังรับวัคซีนครบสองเข็มได้ร้อยละ 90 ประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเริ่มลดน้อยล งเนื่องจากไวรัสมีการกลายพันธุ์ จึงเป็นที่มาของการปรับสูตรฉีดวัคซีน โดยมีหลายหน่วยงานที่ทำการศึกษา ซึ่งพบว่าหากใช้วัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มแรกหลังจากนั้นสามถึงสี่สัปดาห์มารับวัคซีนแอสตราเซนิกาเป็นเข็มที่สอง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ และจะทำให้การ ฉีดวัคซีนให้กับประชาชนสามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

related